iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares อินโดนีเซีย ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณี (12) ดื่มเบียร์ดูหินในวัดที่บาหลี

 

ภาพที่ 1 แผนที่ธรณีวิทยาของเกาะบาหลี แสดงให้เห็นว่า หินเกือบทั้งหมดที่พบบนเกาะนี้ คือ หินภูเขาไฟ

 
 
 
ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย (12) ดื่มเบียร์ดูหินในวัดที่บาหลี
 
เกาะบาหลี เป็นเกาะเดียวในอินโดนีเซีย ที่มีประชากรเป็นฮินดูเกือบทั้งหมด ว่ากันว่า เกาะบาหลีมีรูปร่างคล้ายไก่กำลังวางไข่ (ภาพที่ 1) สิ่งที่คล้ายคลึงกับเกาะอื่นๆ ก็คือ หินในตัวเกาะส่วนใหญ่เป็นหินภูเขาไฟ จากภาพที่ 1 พื้นที่ระบายสีฟ้าเข้มที่เป็นเสมือนเท้ากับไข่นั้น เป็นหินปูนที่สะสมตัวในทะเลเมื่อประมาณ 10 ล้านปีมาแล้ว ส่วนสีฟ้าอ่อน ตรงบริเวณที่คล้ายกับหงอนไก่นั้น เป็นหินปูนที่เกิดในทะเลเช่นกัน แต่อายุไม่ถึง 10 ล้านปี ส่วนพวกสีส้มอ่อนและแก่นั้น เป็นหินภูเขาไฟ ลำดับชั้นหินในบริเวณเกาะประกอบด้วยหินตะกอนที่สะสมตัวในทะเลสลับกับหินภูเขาไฟ (ภาพที่ 2)
 
ภูเขาไฟที่ยังไม่ดับในเกาะบาหลีที่สำคัญมี 2 ลูก (ภาพที่ 3) คือภูเขาไฟอากุง และบาตูร์ (Gunung Agung and Gunung Batur) ซึ่งบาตูร์และพื้นที่รอบๆ นั้น ได้รับการยอมรับให้เป็นอุทยานธรณีระดับโลก ในปีค.ศ. 2015 จากจุดเด่นที่มีแอ่งยุบปากปล่อง 2 ชั้น ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก (ภาพที่4) ประกอบกับธรณีวิทยาด้านภูเขาไฟ รวมถึงมวลชน ประเพณี วิถีชีวิตของชาวฮินดู
 
หนึ่งในวัดที่มีชื่อเสียงมากในเกาะบาหลี คือวัด Tanah Lot ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของเดนพาซาร์ เมืองหลวงของเกาะ วัดแห่งนี้ยามที่น้ำทะเลลด จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งที่เปรียบเสมือนท้องของไก่ แต่เมื่อน้ำขึ้น วัดจะกลายเป็นเกาะ ไม่สามารถเดินข้ามไปมาจากแผ่นดินใหญ่ได้ จึงได้ชื่อของวัดที่แปลว่า แดนดินในทะเล
 
รายงานทางธรณีวิทยาระบุว่า หินที่บริเวณวัดนี้ ประกอบด้วย หินทัฟฟ์ หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ และหินลาฮาร์ (Lahar : โคลน เศษหิน ตะกอนภูเขาไฟ น้ำ ที่ไหลลงมาจากภูเขาไฟลงสู่พื้นราบ) (ภาพที่ 5) ตามหาดและหน้าผาของวัดสามารถสังเกตเห็นลักษณะทางด้านธรณีวิทยาที่น่าสนใจมากมายหลายด้าน (ภาพที่ 6) ชั้นหินทรายแสดงการไม่ต่อเนื่องด้านข้าง (ภาพที่ 6 A) ชั้นหินรูปเลนส์ของหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ ที่มีเศษหินลักษณะเหลี่ยมมีการตัดขนาดไม่ดี ฝังอยู่ในเม็ดทราย (ภาพที่ 6 😎 ชั้นเฉียงระดับในหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ (ภาพที่ 6 C) ชั้นหินกรวดเหลี่ยมที่ตัดลงไปให้ชั้นหินทราย แสดงถึงการกัดเซาะผุพังทำลายที่รุนแรง (ภาพที่ 6 D) เศษแตกหักของปะการัง (14 ซม.) สามารถเห็นได้ในชั้นหินกรวดเหลี่ยม (ภาพที่ 6 E)
 
กล่าวโดยสรุปแล้ว วัดแดนดินในทะเลแห่งนี้ เหมาะแก่การแวะเวียนไปชมเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีลักษณะทางธรณีวิทยาให้ได้เห็นมากมายเช่น ชั้นหินตะกอนภูเขาไฟ ถ้ำทะเล (sea cave) ถ้ำลอด (sea arch) เกาะหินโด่ง (sea stack) ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งบริเวณรอบนอกและภายในวัดยังมีเบียร์บินตังไว้จำหน่าย ให้นักธรณีวิทยาดวดไปดูหินไปได้อย่างสบายอารมณ์
 
ถ้าสารวัตรไม่เชื่อ ก็ไปดูเองสิครับ
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 
 
 
 
ภาพที่ 2 ภาพแสดงลำดับชั้นหินจากแก่ขึ้นไปหาอ่อนในเกาะบาหลี 
 
 
 
 
ภาพที่ 3 แผนที่แสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ ตำแหน่งของภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิทในเกาะบาหลี รวมทั้งพื้นที่การกระจายตัวของตะกอนภูเขาไฟทั้งสองลูก 
 
 
ภาพที่ 4 ภาพแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ และปากปล่องยุบตัว 2 ชั้นของภูเขาไฟบาตูร์ ที่ว่าสมบูรณ์ที่สุดในโลก
 
ภาพที่ 5 ภาพจินตนาการแสดงการเกิดและตำแหน่งของหินภูเขาไฟแต่ละประเภท เปรียบเทียบกับที่ตั้งของภูเขาไฟ
 
 
 
ภาพที่ 6 ภาพถ่ายแสดงลักษณะทางธรณีวิทยาที่พบเห็นได้ที่วัด Tanah Lot ลูกศรชี้ในรูป E คือเศษซากปะการัง
 
 
ภาพที่ 7 ภาพถ่ายแสดงรอยเลื่อน และการไม่ต่อเนื่องด้านข้างของชั้นหินตะกอนในบริเวณวัดTanah Lot
 
 
 
 
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward