iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Nares อินโดนีเซีย ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณี (11) ว่าด้วยภูเขาโบรโม-เท็งเจอร์

 

ภาพที่ 1 แผนที่ความสูงของภูมิประเทศ แสดงตำแหน่งของภูเขาไฟ Tengger และโบรโม ในเกาะชวา

 
ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย (11) ว่าด้วยภูเขาโบรโม-เท็งเจอร์
 
กลุ่มภูเขาไฟในเกาะชวา อินโดนีเซีย เกิดจากการมุดตัวของเปลือกมหาสมุทรอินเดีย-ออสเตรเลีย ลงใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย เหตุการณ์เช่นนี้แม้ว่าจะเกิดขึ้นมาแล้ว และเกิดซ้ำซ้อนกันมาโดยตลอด แต่ภูเขาไฟที่มีอายุมากที่สุดที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้คือ ภูเขาไฟเท็งเจอร์ (ภาพที่ 1, 2) เกิดขึ้นมาเมื่อ 1.4 ล้านปีก่อน การระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น แสดงในภาพตัดขวางแนวเหนือ-ใต้ (ภาพที่ 3 รูปล่าง) หินในบริเวณที่ระบายสีขาวและมีเครื่องหมายคำถามนั้น เกิดจากการระเบิดครั้งแรก ต่อมาคือหินที่ระบายสีม่วงอ่อน จากนั้นก็เป็นพวกที่ระบายด้วยสีฟ้า สีเหลือง และสีม่วงตามลำดับ ในบรรดาตะกอนภูเขาไฟเหล่านี้ ตะกอนขนาดใหญ่ และลาวาก็จะสะสมตัวใกล้ปากปล่อง และมีรูปร่างเป็นภูเขารูปกรวย บริเวณที่อยู่ใกลออกไปก็จะมีแต่เถ้าและฝุ่นภูเขาไฟ (บริเวณที่ระบายสีม่วงดำรอบๆ เมือง Pasuruan) ส่วนพื้นที่โดยรอบของภูเขาไฟนั้น ก็เกิดลาวาไหลลงไปตามทิศต่างๆ หลายครั้ง รวมทั้งการไหลท่วมลงในร่องเขาที่เกิดจากการกัดเซาะเช่น Madakaripura Valley (ที่มีน้ำตกขุนช้างจำศีลอยู่ภายใน)(ภาพที่ 3 รูปบน)
ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาล่าสุดของเท็งเจอร์คือการที่บริเวณปากปล่องก็ยุบตัวลง (พื้นที่สีม่วงของรูปที่ 2) เกิดที่ราบลุ่มปากปล่องภูเขาไฟ (มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่า 16 กิโลเมตร) นักภูเขาไฟวิทยา จึงเรียกว่าภูเขาไฟรูปหม้อน้ำเท็งเจอร์ (Tengger caldera) สามารถมองเห็นรอยเลื่อนของการยุบตัวได้ชัดเจน (เส้นสีดำในภาพตัดขวาง และเส้นสีดำมีเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีดำในแผนที่ของภาพที่ 3 รูปล่างและรูปบนตามลำดับ)
ต่อจากนั้น ในเวลาไม่เกินแสนปีนับจากปัจจุบัน ก็มีภูเขาที่มีขนาดเล็กกว่าเกิดขึ้นทั้งในและนอกของ Tengger caldera หากนับเฉพาะพวกที่เกิดภายในที่ราบยุบตัวแล้ว มีภูเขาไฟที่มีอายุอ่อนกว่า เกิดขึ้นตามลำดับดังนี้ Widodaren, keusi, Watankan, Batok และอายุน้อยที่สุด Bromo (ภาพที่ 2 รูปล่าง)
จึงรายงานมาเพื่อทราบครับ ท่านสารวัตร
 
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 
 
 
ภาพที่ 2 แผนที่ (รูปบน) และภาพตัดขวาง (รูปล่าง) แสดงบริเวณ การกระจายตัว และลำดับชั้นของหินภูเขาไฟเท็งเจอร์ (ss บน Tengger caldera = sea of sand) 
 
 
 
 
ภาพที่ 3 แผนที่ (รูปบน) และภาพตัดขวาง (รูปล่าง) แสดงการกระจายตัว และลำดับการเกิดของภูเขาไฟในปากปล่องยุบตัวของภูเขาไฟเท็งเจอร์
 
 
 
 
ภาพที่ 4 ภาพถ่ายจากทิศเหนือไปทิศใต้ บนขอบปล่องด้านเหนือของเท็งเจอร์มองเห็นภูเขาไฟซูเมรุ(ยอดสูงสุดทางใต้ กำลังระเบิด) บาต๊อก (ใกล้สุด, ดับแล้ว) และโบรโม่ (ลูกกลาง มีควันขึ้นมา)
 
 
 
 
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward