Nares ไทย ขอนแก่น มาดื่มฉลองกับข้า Come Drink with Me ควันหลง
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/nares.sattayarak
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------------------------------
ในภาพที่ 1 ด้านบน ท่านจะเห็นหน้าผาและลานหินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพาน ลานหินที่กว้างใหญ่นี้วางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ลูกศรสีน้ำเงิน) ส่วนบริเวณหน้าผา ท่านน่าจะสังเกตเห็น เส้นแสดงความหนาของชั้นหินทราย (เส้นสีแดงหนา) และเส้นเฉียงระดับ (เส้นสีแดงบาง) ที่ระบุว่า แม่น้ำที่พัดพาตะกอนมาสะสมตัวที่นี่ เมื่อประมาณ 130 ล้านปีมาแล้วนั้น ไหลมาจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก แม่น้ำเหล่านี้เป็นแม่น้ำประสานสาย ที่ไหลลงมาสู่ที่ราบด้วยความเร็วและความลาดชันสูง.
ภาพที่ 2 ด้านซ้าย ที่จะเห็นแนวชั้นเฉียงระดับที่มีความหนาของชุดเฉียงระดับที่หนามาก (มากกว่า 2 เมตร) ซึ่งหาพบยากมากในหมวดหินภูพานในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่า แม่น้ำสายนี้ที่ภูผาผึ้ง มีพลังมากกว่าแม่น้ำโขงในปัจจุบันที่บริเวณนครพนม
ภาพที่ 2 ด้านขวา แสดงชนิดและขนาดของกรวดในชั้นหินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพานที่ภูผาผึ้ง โปรดสังเกตุ มีกรวดปนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก จนอาจเรียกว่าเป็นชั้นหินกรวดมนได้ เม็ดกรวดมีขนาดใหญ่ได้ถึง 4 เซนติเมตร และประกอบด้วยกรวดหลายชนิด ทั้งควอทซต์ เชิร์ท หินอัคนี หินตะกอน เม็ดโคลน ผิดกับหมวดหินภูพานที่พบทางตะวันตก เช่น ที่โคราช ขอนแก่น หรือชัยภูมิ ที่จะพบแต่ควอทซต์ และเชิร์ท อีกทั้งขนาดก็เล็กลงไม่เกิน 2 เซนติเมตร เพราะว่าเป็นบริเวณปลายน้ำของแอ่งสะสมตะกอนโคราช