iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

พืดหิน มิได้หมายถึงหินเป็นพืดเฉยๆ นะจ๊ะ (4)

 

รูปที่ 1 ภาพเปรียบเทียบแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมชนิดโครงสร้าง กับชนิดเนื้อหินแปรเปลี่ยน

 

 

สำหรับนักล่าน้ำมันนั้น สิ่งแรกที่พวกเขาจะต้องค้นหาคือ มีหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม(source rocks) ในพื้นที่ที่ตนกำลังลุ้นอยู่หรือปล่าว เมื่อค่อนข้างจะมั่นใจว่ามีแน่นอนแล้ว สิ่งต่อไปคือหาว่าในพื้นที่ของตนจะมีแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม (petroleum trap) หรือไม่ และแหล่งกักเก็บชนิดแรกที่เขาจะค้นหาคือ แหล่งกักเก็บแบบโครงสร้าง (structural trap) (อันดับในกลุ่มนี้คือโครงสร้างกักเก็บรูปประทุน; anticlinal trap) หากไม่มี หรือมีแต่เจาะทดสอบหมดแล้ว สิ่งที่ต้องค้นหาต่อไปคือ แหล่งกักเก็บประเภทเนื้อหินแปรเปลี่ยนด้านข้าง (Stratigraphic Tap) เช่น แหล่งกักเก็บพืดหิน เป็นต้น เป็นกิ่ง เป็นก้าน และเป็นใบ (รูปที่ 1)

ปล. ขอแถมคำว่า ระบบปิโตรเลียม ให้น้องๆ หลานๆ นะครับ ซึ่งก็จะอธิบายตามนิยามของข้าพเจ้าเอง ดังนี้

ระบบปิโตรเลียม (Petroleum System) ประกอบด้วย พระรัตนตรัย กับเบญจธรรม (รูปที่ 2) องค์ประกอบที่สำคัญทั้งสามได้แก่ หินต้นกำเนิด หินกักเก็บ และหินปิดกั้น การมีพระรัตนตรัยครบนั้น มิใช่จะพบปิโตรเลียมได้ จำเป็นต้องมีความชอบ ความเหมาะสมทั้งห้ากระบวนการด้วย ได้แก่ 1) กำเนิดชอบ (Generation) หินต้นกำเนิดจะต้องมีปริมาณมากพอ และได้รับความร้อนความกดดันสูงพอ จนทำให้อินทรีย์สารแตกตัวกลายเป็นปิโตรเลียม 2) เคลื่อนไหลชอบ (Migration) หินต้นกำเนิดปิโตรเลียมเป็นหินเนื้อละเอียด เมื่อปิโตรเลียมเกิดขึ้นแล้ว จะถูกขับดันให้เคลื่อนย้ายขึ้นสู่ที่สูง และมีช่องว่างที่กักเก็บได้มากกว่า 3) สะสมตัวชอบ (Accumulation) ปิโตรเลียมที่เคลื่อนตัวไปนั้น จะเข้าไปอยู่ในแหล่งกักเก็บ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งกักเก็บ บบโครงสร้าง หรือแบบเนื้อหินแปรเปลี่ยน 4) จังหวะเวลาชอบ (Timing) การมีอยู่ของสามกระบวนการที่ผ่านมานั้น จะต้องมีจังหวะที่สอดคล้องรับกัน และท้ายที่สุด 5) เก็บรักษาชอบ (Preservation) เมื่อปิโตรเลียมเข้าไปสู่แหล่งกักเก็บแล้ว จะต้องรักษาคุณสมบัติให้คงอยู่ได้ ต้องไม่มีความร้อนจากภายในโลก หรือรอยเลื่อนเข้ามาทำให้ปิโตรเลียมเปลี่ยนแปลงคุณภาพ หรือสูญหายไป

กลับมาเรื่องแหล่งกักเก็บประเภทพืดหิน จุดเด่นของพวกนี้ก็คือ มีรูพรุน หรือช่องว่างในเนื้อหินสูง ซึ่งอาจมากกว่า 30 % แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ติดอันดับโลกหลายแหล่ง เป็นการกักเก็บประเภทนี้ อาทิ แหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา เมียนมาร์ (รูปที่ 3) ของบริษัทปตท สผ. ที่พบในพืดหินที่เกิดบนภูเขาไฟทะเลลึก และมีปริมาณสำรอง 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต แหล่งก๊าซธรรมชาตินาตูนาตะวันออก อินโดเนเซีย (รูปที่ 4) ที่มีปริมาณสำรองถึง 222 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (เสียแต่ว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ปนอยู่ถึง 70 %) แหล่งก๊าซธรรมชาติอรุณในแอ่งสะสมตะกอนสุมาตราเหนือ (North Sumatra Basin) (รูปที่ 5) ที่พบก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ (16 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) จนสามารถส่งก๊าซในรูป CNG ไปขายที่เกาหลีใต้ได้ ในขณะที่ตอนบนของแอ่งที่ต่อเข้ามาในทะเลอันดามันของไทยเรา กับพบแต่น้ำเค็มในพืดหินดังกล่าว (รูปที่ 6) อีกแหล่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติลัง เลบาห์ นอกชายฝั่งรัฐซาราวัค มาเลเซีย (รูปที่ 7) ซึ่งค้นพบโดยปตท สผ. ของไทย ชั้นอุ้มก๊าซมีความหนาร่วม 800 เมตร คาดว่าจะมีปริมาณสำรองพอๆ หรือมากกว่าแหล่งอรุณของอินโดเนเซีย

พูดถึงตัวเลขมากๆ ของก๊าซธรรมชาติในพืดหินของประเทศเพื่อนบ้านเราแล้ว ก็รู้สึกเขิน เพราะพืดหินสาหร่ายดงมูลที่กาฬสินธุ์ ในอีสานบ้านเฮานั้น คาดว่าจะมีปริมาณสำรองสูงสุดไม่เกินครึ่งล้านล้านลูกบาศก์ฟุตเอง มิหนำซ้ำว่า ไม่รู้เมื่อไหร่ถึงจะผลิตได้

มีคนแซวว่า ต้องรอน้ำท่วมหลังเป็ดก่อน คนไทยจึงจะได้ใช้ก๊าซดงมูลครับ ท่านสารวัตร

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

รูปที่ 2 องค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่าง กับ 5 ความเหมาะสมของกระบวนการในระบบปิโตรเลียม

รูปที่ 3 ภาพตัดขวางของแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา เมียนมาร์

รูปที่ 4 ภาพตัดขวางของแหล่งก๊าซธรรมชาตินาตูนาตะวันออก อินโดเนเซีย

รูปที่ 5 ภาพตัดขวางของแหล่งก๊าซธรรมชาติอรุณ อินโดเนเซีย

รูปที่ 6 ภาพข้อมูลจากการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหินของหลุมเจาะ “กันตัง” ในทะเลอันดามัน ของไทย

รูปที่ 7 ภาพตัดขวางของแหล่งก๊าซธรรมชาติลัง เลบาห์ รัฐซาราวัค มาเลเซีย

รูปที่ 8 ภาพตัดขวางของแหล่งก๊าซธรรมชาติลัง เลบาห์ รัฐซาราวัค มาเลเลเซีย

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward