iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

แมรี่ แอนนิ่ง เจ้าหญิงแห่งวงการบรรพชีวินวิทยา

 

 

 

แมรี่ แอนนิ่ง เจ้าหญิงแห่งวงการบรรพชีวินวิทยา ว่ากันว่า ชีวิตของแมรี่ แอนนิ่ง คือที่มาของประโยคภาษาอังกฤษที่พูดแล้วลิ้นติดพัน (tongue twisters) ที่ว่า “She sells seashells by the seashore” (เทียบกับ “ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก” ของเราไม่ได้เลย) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า แอนนิ่ง หญิงสาวชนชั้นกรรมาชน ผู้มีฐานะยากจน และไม่ได้ร่ำเรียนมหาวิทยาลัย ผู้ที่อาศัยอยู่ริมชายหาดไลม์ ริจิส ตอนใต้ของอังกฤษ เธอมีอาชีพขุดค้นหาฟอสซิลสัตว์ทะเลยุคจูแรสสิกตามชายหาดข้างบ้าน เพื่อนำเงินมายังชีพและดูแลรักษาพยาบาลแม่ขี้โรคของเธอ
เธอมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับการยอมรับในภายหลังว่าเป็นผู้ค้นพบฟอสซิลพิเศษหลายชิ้น เช่น อิคธิโอซอร์ เพลสิโอซอร์ เธอโรซอร์ แอมโมไนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย แม้ว่าในตอนแรกนั้น วงการบรรพชีวินวิทยา จะไม่เอ่ยถึงเธอในประวัติของฟอสซิลนั้นๆ เลยก็ตาม

 

วงดนตรีสมัครเล่นชาวออสเตรเลียที่ชื่อ Professor Flint จึงได้แต่งเพลงชื่อ แมรี่ แอนนิ่ง เพื่อประชดประชันโลก เพลงนี้พูดถึงผู้หญิงในตำนานผู้เดินท่องตามชายฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษ ที่เมืองไลม์ ริจิส ซึ่งหน้าผาเป็นหินตะกอนที่สะสมตัวในทะเลยุคจูแรสสิก เธอได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์มากมาย เช่น เจ้ากิ้งก่าปลา (ichthyosaur) เจ้าเกือบเป็นปลาคอยาว (plesiosaur) เจ้ากิ้งก่ามีปีก (pterosaur) หอยงวงช้างโบราณ (ammonite) อึสัตว์ทะเล (coprolites) และ ปลา เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องความทุ่มเทและการค้นพบของเธอ ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการบรรพชีวินวิทยาเป็นอย่างมาก ตบท้ายด้วยการประจานความชั่วร้ายของบุคคลบางกลุ่ม ที่ปฏิเสธความสามารถของเธอ แถมยังฉกฉวยผลงานของเธอไปเป็นของตนเอง

ที่ข้าพเจ้าชอบมากในวิดิโอคลิปนี้ก็คือ ตัวละครที่แสดงเป็นแอนนิ่งนั้น ถือค้อนของนักบรรพชีวินวิทยา (ปลายแบน ผิดกับค้อนของนักธรณีฯ ที่มีปลายกลมมน) ประทับใจจ๊อดมว๊าก ว่างั้นเหอะ

แถมท้ายด้วยสารคดีชื่อ “ทำไมคุณจึงควรต้องรู้จักเจ้าหญิงแห่งวงการบรรพชีวินวิทยาผู้มากด้วยผลงาน” (Why You Should Know the Prolific Princess of Paleontology) ที่บรรยายโดยสุดยอดนักบรรยายภาพยนตร์สารคดี Sir David Attenborough ที่กล่าวถึงผลงานของแมรี่ แอนนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เธอค้นพบในปี 1828 ซึ่งก็ได้แก่ เจ้ากิ้งก่ามีปีก Pterosaur นั่นเอง

ฟังเพลิน ดูเพลิน นะครับ ท่านสารวัตรชาย ท่านสารวัตรหญิง

สนใจชมที่นี่ https://youtu.be/UYXS5goHL9c

.
.

สนใจชมที่นี่ https://youtu.be/itN4sv25UvE 

.

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward