Waranon จีน ลาซา ชิกัสเส่ะ (Shigatse)
ชิกัสเส่ะ (Shigatse) เป็นเมืองใหม่ที่ปรับปรุงใหม่ ขนาดใหญ่พอสมควร ตั้งอยู่ห่างจาก เมืองหลวงลาซา มาทางตะวันตกราวๆ สามร้อยห้าสิบกิโลเมตร แต่ใช้เวลานั่งรถทั้งแบบสี่เลน และ สองเลน สภาพดีเยี่ยม จากลาซา ขึ้นเขาลงเขา จอดชมวิว แวะชมวัด ชมธารน้ำแข็ง หาอาหารกลางวันกินกัน ก็หมดไปแปดเก้าชั่วโมงเลยล่ะครับ
ถนนหนทางในประเทศจีนนี้ก็ไหลมาเทมาพร้อมกับการสร้างงาน สร้างทางรถไฟ อุโมงค์รถยนตร์รถไฟ ตึกสิ่งก่อสร้างและการอพยพเข้ามาของชาวฮั่นที่ใช้ภาษาจีนกลาง ทุกอย่างนั้นดู ทันสมัยหมด ยกเว้นเรื่องห้องส้วม จนมีคนพูดกันเล่นๆว่า ถ้าประเทศจีนนี้ พัฒนาเรื่องห้องส้วมให้อยู่ในระดับที่นานาชาติรับได้ ป่านนี้ประเทศจีนจะเป็นมหาอำนาจแซงชาติต่างๆในโลกตะวันตกไปไกลแล้ว
วันนี้เป็นวันที่ 27 พฤษภาคม 2024 เป็นวันที่สามของการปรับสภาพร่างกาย ในพื้นที่สูง ก็เริ่มชินมากขึ้นกับแรงกดอากาศที่เบาบาง และ วันนี้ก็ดีไปอย่าง ที่นั่งรถมาจากลาซา ไต่ความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงจุดชมวิวธารน้ำแข็ง Korala glacier ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 5,000 เมตร และ นั่งรถลงมาอยู่ที่ระดับ 3,700 เมตร ที่เมือง ชิกัสเส่ะ ที่เราจะพักผ่อนคืนนี้
ตัว Koraka glacier นี้ ไหลลงมาจาก ยอดเขา Nyenshen Kansang ที่เขาว่ากันว่าสูง 7,000 กว่าเมตร เหนือระดับน้ำทะเล บริเวณยอดจึงมีหิมะปกคลุมทั้งปี บริเวณที่เป็นจุดชมวิวนี้ แม้สูงตั้ง 5,000 เมตร แต่แดดแรงมาก อุณหภูมิก็แค่ 15-18°C เอง ขอรับ จะว่าหนาว ถอดเสื้อแขนยาว ก็ร้อนแสบๆ ใส่เสื้อแขนยาว หรืแ แจ็คเก็ตกันแดดกันลมบางๆ สักตัว จะสบายกว่าครับ
ข้าพเจ้าเดินลงรถแบบสบายๆ ไม่ทันระวังตัว เดินเร็วไปนิด มีเซเหมือนกัน เหมือนที่เค้าเรียกว่า จะเป็นลม หรือเปล่า?? ไม่เคยเป็น อ่ะครับ ข้าพเจ้าลืมตัวไปอ่ะครับ ต้องหยุดเดิน แล้วสูดหายใจเข้าปอด ให้ลึกๆ หลายๆครั้ง ให้ร่างกายปรับตัวสักสามสี่นาที แล้วค่อยเดินต่อ พอไหวครับ
ข้าพเจ้าเห็นเสาที่ตั้งไว้แล้วเอาผ้าหลากสีมาพันไว้ ก็เลยถามคนนำทาง เขาเลยบอกว่า เป็นเสาอนุสาวรีย์ monument เอาไว้เฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ทิเบต บนยอดหรือตามเสา อาจจะประดับด้วยขนหางจามรี หรือ Yak และที่ขาดไม่ได้คือ การใช้ผ้าห้าสีมาพันประดับ เพราะ ผ้าห้าสีเป็นสัญญาลักษณ์ แทน 5 Natural Elements ตามความเชื่อของชาวทิเบต อันประกอบไปด้วย Earth, Water, Fire, Air และ Space และผ้า 5 สีก็จะส่งสัญญานโบกพัด เมื่อเทพเจ้าแห่งลม Goddess of Wind มาถึง
ระหว่างทางจาก ลาซา ไป ชิกัตเส่ะ นี้ เราก็แว่ะชม Yamtrok Tso Lake เห็นเขาว่าเป็นทะเลสาปที่อยู่ที่สูงทะสุดในโลก และเป็น 1 ใน 6 ทะเลสาปศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นสีฟ้าสวยงาม แต่ข้าพเจ้าแอบเปิด Google map ดู ก็เห็นว่า อาจจะเป็นทะเลสาบที่มีการเสริมด้วยเขื่อน จนมีขนาดใหญ่หลังเขื่อนกักเก็บน้ำ อ้อ ข้าพเจ้าก็แอบชิมดูนิด ปรากฏว่าจืดสนิท ขอรับ
จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้ไปเยือนคือ วัดไบจู Baijo อยู่ที่ Gyantse county, Shigatse, Tibet, China วัดนี้มีเจดีย์ หรือ Stupa ขนาดใหญ่ที่สุด ในทิเบต ด้วย เสียดายมากที่เขาไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพข้างในวิหาร เลยอดนำเอารูปสวยๆ มาฝากกัน คงเหลือแต่ความทรงจำดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง
ทางเข้าวิหารไม้ขนาดใหญ่ ก็มีรูปปั้น Gods of Directions ตามธรรมเนียม อยู่ก่อนประตูทางเข้า พอก้าวข้ามธรณีประตู ทีนี้ก็ห้ามถ่ายรูปเลย ข้างในมีพระพุทธรูปมากมาย แต่ที่เด่นๆคือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ในท่านั่งและท่ายืนจำนวนมากมาย ที่สร้างด้วยดินและ ปูนขาว แล้วลงขึ้ผึ้งและแลคเกอร์ทับตามด้วยสีสรรสวยงาม สำหรับท่ายืนก็น่าจะสูง 8-9 เมตร ส่วนท่านั่งขัดก็ 5-8 เมตรหลายองค์
แต่ที่สำคัญ มีการปั้นรูปพระศรีอาริยเมตตรัย ด้วยขนาดใกล้เคียง หรือ ให้ใหญ่กว่าองค์พระสากยมุนี และเขาให้สังเกตุว่า ถ้าเป็นองค์ อนาคตองค์ปัจจุบัน Recent Bhudda จะนั่งขัดสมาธิ ส่วน Future Bhudda จะนั่งหย่อนขาทั้งสองข้าง เหมือนนั่งเก้าอี้ และ ที่หัวจะใส่หมวก หรือผ้าคลุมเยอะกว่าหน่อยหนึ่ง
และที่สังเกตุเห็นอีกอย่างคือ พระพุทธรูปที่ทำจากทองเหลือง หลายสิบองค์ในตู้กระจก ขนาด 6-12 นั้น ตรงผมบนหัว พระศกที่ขมวดกันเป็นก้นหอย นั้น มีการใช้สีน้ำเงินเหลือบๆแบบกำมะหยี่ ทาไว้ทุกองค์ แปลกมาก สอบถามได้ความว่าเป็นสีของพระพุทธเจ้าปางปัจจุบัน และใช้มานานแต่โบราณแล้ว
เอาล่ะสิ ในฐานะที่เป็นนักธรณีวิทยา ที่เป็นแล้วไม่หาย จึงเกิดความสงสัยว่า คนโบราณ จะไปเอาวัสดุธรรมชาติที่ให้สีน้ำเงินในขนาดอุตสาหรรม นั้น มาจากไหน ในวงการแร่นั้น เรารู้กันดีว่า แร่ที่ให้สีน้ำเงิน มี 2 ตัว คือ Malacite กับ Lupis Lazuli แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทางศิลปวัฒนธรรมแล้ว สีน้ำเงินกำมะหยี่สวยๆนี้ ควรจะเป็น Cobalt blue ที่ใช้กันในวงการเซรามิคของจีนนั้นแหล่ะขอรับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้เผาให้ความร้อนสูงจะเป็นเนื้อแก้ว นั่นเอง
ที่วัดนี้ยังเป็นที่เก็บเอกสารคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ถ่ายทอดกันมาเป็นเป็นภาษาอังกฤษ และแปลบันทึกเป็นภาษาทิเบต เมื่อราว 400 ปีที่แล้ว ก็คงจะคล้ายการชำระพระไตรปิฎกในแบบเถรวาทแบบบ้านเรากระมังครับ
ที่วัด Baiju นี้ทีสิ่งที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ มีกำแพงวัดสูง 4-6 เมตรอยู่โดยรอบ พื้นที่กว้างขวาง ขนาดเมืองย่อมๆ ดูจะคล้ายกำแพงเมือง มีป้อมบนกำแพงด้วย มากกว่าเป็นกำแพงวัด เพราะวัดนี้สร้างหันหลังชนเขา แต่ก็ยังสร้างกำแพงบนเขาอีกด้วย ก็เลยซอกแซก ไปถามมา ได้ใจความว่า บริเวณที่ราบกลางหุบเขารอบๆเมืองนี้เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นที่ราบระหว่างเขา ทำการเพาะปลูกได้ดี และก็เป็นเมืองด่านหน้า ที่จะไปผ่านช่องเขา ที่อยู่ด้านตะวันตก ของยอดเขา Everest peak ไปออก กรุงนิวเดลลีได้ จึงมีเรื่องเล่ากันว่า สมัยอังกฤษ มายึดอินเดียได้ใหม่ๆ จะขยายการปกครองขึ้นมาทางทิเบตด้วย แต่ทางทิเบตได้ป้องกันจนสุดความสามารถ และทางอังกฤษก็ล้มเลิกแผนการนั้น ตลอดไป
วันนี้นั่งรถนาน เมื่อยขบ ขอกินอาหารอร่อยๆ ขอพักดีๆ อีกสักคืน ก็แล้วกันขอรับ
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/waranon555
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ วรานนท์ หล้าพระบาง (Waranon Laprabang) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------