Waranon จีน กานซู่ จางเย่ ด่านเจียยู่กวน (Jia Yu Guan Fort)
ด่านเจียยู่กวน (Jia Yu Guan Fort) the starting point of the Great wall from the Western side.
ด่านเจียยู่กวน ด่านหน้าสุดด้านตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของกำแพงเมืองจีน หากได้เคยอ่านประวัติศาสตร์ประเทศจีน และเคยดูหนังกำลังภายในจีนอยู่ ก็อาจจะเคยได้ยิน หรือ อ่านผ่านตามาบ้าง เกี่ยวกับด่าน เจียยู่กวน ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของประเทศจีนในสมัยโบราณ ซึ่งในเวลานั้น อาณาเขตด้านตะวันตกของประเทศจีนจะหยุดที่บริเวณนี้ และหากพ้นจากด่านเจียยู่กวนออกไป จะมีประเทศต่างๆอีกอย่างน้อย 36 ประเทศที่มีอยู่ในบันทึกของราชวงค์จีน
การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ได้เริ่มสร้างในบริเวณนี้ ในสมัยราชวงค์หมิง (Ming dynasty) โดยเลือกสร้างป้อมปราการตรงกลางระหว่างเทือกเขา Qilian ที่อยู่ด้านใต้ และ เชิงเขา Hei mountain ที่อยู่ด้านเหนือ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุด คือประมาณ 30 ลี้ หรือประมาณ 15 กิโลเมตร และ มีชื่อว่า Hexi first pass แล้วสร้างกำแพงที่ทำด้วยดินสูง 5 เมตร ในแนวเกือบเหนือใต้ เชื่อมตีนเทือกเขา และป้อมเจี่ยยู่กวน และแนวเขาด้านเหนือ เพื่อป้องกัน และปิดกั้นการเดินทางของผู้รุกรานจากฝั่งตะวันตก เข้าไปในประเทศจีน
ด้วยความที่เป็นนักธรณีวิทยาขึ้สงสัย ก็อยากรู้จังว่า ทำไมนักยุทธศาสตร์จีนในสมัย สองพันปีที่แล้ว นึกยังงัย ถึงเลือกเอาตำแหน่งนี้ เป็นด่านสุดท้าย ของประเทศ แทนที่จะ เลยไปอีกหลายสิยหลายร้อยกิโลเมตรล่ะ
ระหว่างที่เดินชมป้อมประตูด่าน Jia Yu Guan และเดินชมบนกำแพงป้อมปราการ ก็สังเกตุเห็นว่า ตัวป้อมนั้น สร้างกำแพงหนาแน่น สูงสิบเมตรเศษ ด้านบนกว้างสักสามเมตร ฐานด้านล่างกว้างราวๆ ห้าถึงแปดเมตรเห็นจะได้ ด้านในมีพื้นที่ว่างเป็นเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส รวมพื้นที่ราวๆ 4 สนามฟุตบอล เห็นจะได้ คงเอาไว้เป็นที่รวมพล รวมทั้งฝึกซ้อมทางทหาร
ด้านนอก มีกำแพงสร้างด้วยดิน สูงสี่ห้าเมตร เห็นจะได้ ทอดยาวออกไปทางใต้ ไปทางเทือกเขา Qilian ส่วนกำแพงดินอีกด้าน สร้างทอดยาวออกไปทางเหนือ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เมื่อสร้างทอดยาวออกไปถึงตีนเนินทรายของทะเลทรายโกบี ก็จะเลี้ยว และ สร้างไปทางตะวันออก เพื่อป้องกันผู้รุกรานจากทางทิศเหนือ ก็คือพวกมองโกล นั่นเอง
จุดที่สร้างป้อม Jia Yu Guan นี้ เป็นปลายสุดของ Alluvial fan ที่มีการไหลลงมาจากเทือกเขา Qilian ซึ่ง สภาพดินหินบน Alluvial fan นั้นเป็นกรวดหิน ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แต่นอกเขตของ Alluvial fan เป็นดินที่พอจะทำการเพาะปลูกได้ (ดูรูปประกอบน่ะจ๊ะ) และ ชั้นน้ำบาดาล ก็ไหลลอดใต้ชั้นกรวดหนาๆ นี้ออกมาหาพื้นราบ จึงเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ จึงนับว่า พื้นที่ภายในกำแพง จึงมีความสำคัญกว่าพื้นที่ที่แห้งแล้ง กันดารนอกกำแพงนั่นเอง
ป้อม Jia Yu Guan นี้ จึงเป็นสถานที่ที่สำคัญต่อการค้าขายในเส้นทางสายไหม ที่พ่อค้าแม่ขาย นักการทูต การทหาร รวมทุกการรุกรานจากนอกกำแพง จึงต้องผ่านป้อม เจี่ยยู่กวนทั้งสิ้น จึงนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่สำคัญน่ะขอรับ
ปัจจุบัน ป้อม Jia Yu Guan ได้รับการยกระดับให้เป็น World Heritage Site แล้วขอรับ คนไทย สมัยนี้มาเที่ยวเมืองจีนได้สบายๆ ถนนหนทางดี ทางหลวงระหว่างเมือง จะเป็นสี่เลนตลอด มีห้องน้ำปั้มน้ำมันและที่จอดรถเป็นระยะ สะดวกน่ะขอรับ เหลือแต่ห้องน้ำ ที่คงต้องปรับปรุงอีกสักหน่อย แต่ดูทิศทางการพัฒนา แล้วก็น่าจอีกไม่น่า คงจะดีขึ้นน่ะ ขอรับ
ป.ล. มีนักปราชญ์ในสมัยป้จจุบันท่านหนึ่ง ได้เอ่ยอ้างอ้างว่าหากประเทศจีนพัฒนาห้องน้ำให้สะอาด และประชาชนรู้จักการใช้ห้องน้ำ ป่านฉะนี้จีนคงแซงทุกประเทศ ขึ้นไปเป็นมหาอำนาจของโลก ไปตั้งนานแล้ว อิอิ
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/waranon555
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ วรานนท์ หล้าพระบาง (Waranon Laprabang) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------