iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

 Pol เพชรบูรณ์ ท้องทะเลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด อ. วิเชียรบุรี

 

เมื่อ 16 มีค 66 มีโอกาสมาเที่ยว “ท้องทะเลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด” เป็นครั้งแรก แต่เคยมาสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงหลายหนร่วมกับทีมกรมทรัพยากรธรณี (พี่น้อง 4ป ปุ๋ย เปิล ป๋อง เป้า) เมื่อหลายปีก่อน เปิด Google map ดูหาตำแหน่งที่ตั้ง ไปเจอข้อมูลระบุว่าสถานที่นี้ปิดถาวร 555 แต่มาเกือบถึงแล้ว เลี้ยวเลยเข้าไปอีก 11 กม เปิดอยู่จ้า ไม่เก็บค่าเข้า ฟรีจ้า ก็เลยแจ้ง Google map ให้ช่วยแก้ข้อมูลเป็นเปิดอยู่จ้า เจอ จนท เฝ้าอยู่ 1 คน วันนั้นน่าจะมีแค่เราที่เป็น นทท 555
 
 
หินกรวดมนเนื้อปูน {Limestone conglomerate (ls-cgl) แต่เพื่อนออสซี่บอกที่ถูกหลักภาษาควรเรียก Limestone-clast conglomerate ซึ่งก็ใช้เรียกหินชนิดนี้ในหมวดหินผาแดง กลุ่มหินลำปาง ตอนทำปอเอกเมื่อ 35 ปีก่อน} ที่ลำปางพบ ls-cgl อยู่ 2 ช่วง แต่ละช่วงหนาไม่มากและเปลี่ยนขึ้นไปเป็น red beds ที่นี่คงเทียบได้กับหมู่หินกรวดมนซำแคน ของหมวดหินห้วยหินลาด
 
 
นักธรณีวิทยาหลายท่าน (รวมทั้งผมเองในสมัยก่อน) มักทึกทักว่า Limestone conglomerate เป็น Basal conglomerate ซึ่งผิดครับ ทำให้การแปลธรณีประวัติของประเทศไทยผิดพลาดไปด้วย หินทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างกันมากทั้งการเกิด รูปร่าง และการกระจายตัว ปีที่แล้วผมได้พูดออนไลน์เรื่องนี้ให้กับกรมทรัพย์ (สทข 1) และที่ประชุม IGCP700 ผู้สนใจก็หา PPT ดูได้ครับ
 
ภูมิประเทศบริเวณนี้เป็นเนินเขาสลับที่ราบ บางที่เหลือเป็นเขาสูง ลำดับชั้นหินที่นี่มีส่วนคล้ายกับที่ลำปาง คือในส่วนล่างเป็นหินกรวดมนเนื้อปูน (เช่น ที่ท้องทะเลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด(จุดสีฟ้า) เขาถมอรัตน์(จุดสีม่วง) และเขาขี้ค้างคาว) โดยเฉพาะที่เขาถมอรัตน์ (0713700E 1713250N) พบหินกรวดมนเนื้อปูนวางสัมผัสอยู่ข้างหินปูนเพอร์เมียน เป็น thrust-fault contact หรือไม่ต้องไปดูอีกที ในส่วนบนเปลี่ยนเป็น Red beds มากขึ้น เช่น ที่ด้านตะวันออกของเขาขี้ค้างคาว (จุดสีดำ) พบหินกรวดมนเนื้อปูน (matrix เป็นหินทรายแดง) วางตัวต่อเนื่องบนหินทรายแดง นี่แสดงว่ามีหินกรวดมนเนื้อปูนเกิดหลายช่วง รวมทั้งที่บ้านยางจ่า (จุดสีส้ม) ก็เป็นหินทรายแดงเป็นส่วนบนของลำดับชั้นหิน
 
หินกรวดมนคัดขนาดไม่ดี ปกติก็แปลว่าสะสมตัวรวดเร็วจากตะกอนแบบ Debris flow ส่วนจะเป็นแฟน (Fan) แบบไหนก็ดูอีกที แต่ที่ “ท้องทะเลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด” เป็นหินกรวดมนแบบพิเศษ เป็นหินกรวดมนเนื้อปูน ที่มีกรวดขนาดใหญ่ (clast) ส่วนใหญ่เป็นหินปูน บางก้อนโตมากกว่า 30 ซม มีความมนดีถึงปานกลาง (round to subangular) การคัดขนาดไม่ดี (very poorly sorted) หลายก้อนเป็นหินโดโลไมต์ (แสดงว่าหินกรวดมนเกิดหลัง dolomitization) และพบเล็กน้อยเป็นกรวดของหินทรายแดง หินเชิร์ต หินภูเขาไฟ ส่วน Matrix ก็มีส่วนประกอบคล้ายกับใน clast (แสดงว่าพัดพามาจากแหล่งต้นกำเนิดเดียวกัน และคงมีภูเขาหินปูนโผล่อยู่ใกล้ๆ) และมี calcareous cement (CaCO3) หลายบริเวณพบเนื้อหินทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (clast, matrix, cement) เป็นหินปูน แสดงว่ามีตะกอนจากฝั่ง (terrigenous sediments) น้อยมาก แปลต่อได้อีกว่าไม่ใช่ตะกอนจาก debris flow (พวกนี้ตะกอนจะขุ่นข้นคักคัก มีเศษดินหินปนอยู่มากมาย...) การเกิดไม่ธรรมดา งานวิจัยทางด้านก็หาไม่ค่อยเจอ ฝรั่งอาจไม่สนใจ เพราะไม่มีนัยยะทางแร่ น้ำมันรึป่าว? เปเปอร์เก่าๆของฝรั่ง(รวมทั้งในปอเอกของผม) ก็บอกว่าเป็นแฟน เพราะไปเทียบกับการเกิดหินกรวดมนปกติทั่วไป โดยลืมคำนึงถึงการตกตะกอนของ calcareous cement ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ แล้วเกิดในสภาพแวดล้อมแบบไหนละ? ที่ใกล้เคียงนึกออกนึกถึง Fan delta กับการเกิดกรวดชายหาดแบบหาดหินงามที่สตูลครับ สำหรับส่วนบนของลำดับชั้นหินก็เป็นไปตามสูตรปกติ ครับ
 
#Limestone conglomerate ไม่ใช่ Basal conglomerate##
#Limestone conglomerate ไม่ใช่ตะกอน debris flow##alluvial fan##

.

 
มีคลาดเคลื่อนเล็กน้อย แก้ไขได้ก็ควรทำเพื่อให้ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องกับสังคม มี 3 จุด 1) Ocean floor หมายถึงก้นทะเลลึก (Abyssal plain) หินกรวดมนเนื้อปูนและหินปูนไม่ใช่ Paleo Ocean Floor หินปูนส่วนใหญ่เกิดในไหล่ทวีปทะเลตื้น (Shelf sea) ยิ่งหินกรวดมนเนื้อปูนบางส่วนอาจเกิดบนบกด้วยซ้ำ 2) อายุของหินปูนน่าจะเป็นเพอร์เมี่ยน ปลายเพอร์เมียนน่าจะน้อยไป 3) เป็นหินกรวดมน (conglomerate) ไม่ใช่หินกรวดเหลี่ยม (Breccia) ส่วนการยกตัวของแผ่นเปลือกโลก 240 ล้านปีก่อน (Early Triassic) แม้จะงงๆ ให้ผ่านนน..
 
 
 
 
Very poorly sorted, limestone conglomerate
 
 
 
กระแสน้ำโบราณไหลไปทาง...
 
 
 
clasts ส่วนใหญ่เป็นหินปูน หินกรวดมนก็อายุน้อยกว่าอายุของ clasts ไง
 
 
ลำต้นไม้กลายเป็นหินวางขวางทางไหลของกระแสน้ำโบราณ ลำต้นเป็นท่อนยาววว รึป่าวน้อ
 
 
Red beds หินทรายแดง พบทั้งทางด้านตะวันตกที่บ้านยางจ่า และทางด้านตะวันออกของเขาขี้ค้างคาว รึเป็นโครงสร้างรูปประทุน (Anticline)
 
 
 
  

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward