Pol น้ำท่วมแม่สาย ดินโคลนมาจากไหน
กรณีน้ำท่วมแม่สาย กันยา 2567 จากรูปตามสื่อต่างๆ น้ำท่วมมาพร้อมตะกอนดินโคลนและต้นไผ่ ไม่เห็นเศษก้อนหินใหญ่และท่อนซุง ในมุมธรณีวิทยา ผมเลยแปลให้เป็นตะกอนจากหน้าดินของเขาหัวโล้นบริเวณต้นน้ำสาย/น้ำรวกที่อยู่ในพม่า และคงอยู่ไม่ไกลจากแม่สาย ตะกอนพวกนี้เรียกเป็น mudflow ก็ได้ แต่ไม่น่าใช่ debris flow ซึ่งจะเกิดคนละแบบและให้ตะกอนต่างกัน เคสของ mudflow การเกิดจะไม่ขึ้นกับความชันของภูมิประเทศ แต่ขึ้นกับปริมาณน้ำต้องมากๆ ทำให้อุ้มดินโคลนไหลไปกับน้ำได้ และ mudflow ก็ไม่ใช่ตะกอนน้ำพารูปพัด หรือ alluvial fan ครับ
ถ้าต้นน้ำสาย/น้ำรวกยังมีเขาหัวโล้น มีหน้าดินหนา เมื่อพายุมา ฝนตกหนัก แม่สายก็ยังคงเสี่ยงถูกน้ำท่วมดินโคลนถล่มซ้ำอีกได้
การป้องกัน/ การบรรเทาผลกระทบ มีหลายวิธี เช่น 1)ให้น้ำท่วมไหลลงแม่น้ำโขงเร็วที่สุด โดยการขุดลอกแม่น้ำ คูคลองที่ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลสะดวก เป็นที่กักน้ำใช้ในหน้าแล้ง 2)ทำพื้นที่แก้มลิง จากลำคลอง oxbow lake ที่มีอยู่มากมายตลอดทางน้ำ เพื่อพร่องน้ำไว้รับฝน และเก็บน้ำใช้ยามแล้ง 3) ติดตั้งระบบปั้มน้ำเพื่อสูบน้ำลงน้ำโขง และช่วยให้น้ำท่วมไหลลงโขงได้เร็วขึ้น 4) ติดตั้งระบบควบคุมจัดการน้ำอัตโนมัติ
เห็นด้วยครับ ควรหารายละเอียดธรณีวิทยาเพิ่มเติม
จากข้อมูลใหม่ที่พบชั้นทรายหนาที่ถนนสายลมจอย ริมน้ำรวก จาก Fb สิริมงคล ปิงปิง แม่สาย และข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณบุญฤทธิ์ ครูซ แสดงถึงกระแสน้ำที่มีพลังมหาศาล มีปริมาณน้ำจำนวนมาก จนสามารถอุ้มมวลทรายจำนวนมากลอยพ้นตลิ่งได้ เมื่อมีข้อมูลใหม่ การแปลผลทางธรณีวิทยาก็เปลี่ยนตามครับ ที่เคยแปลว่าตะกอนมาจากเขาหัวโล้นก็ตกไปครับ เพราะหน้าดินเขาหัวโล้นตะกอนส่วนใหญ่เป็นดินโคลน ส่วนตะกอนทรายมาจากไหน สันนิษฐานเบื้องต้นอาจมาจากกองดินทรายของการทำเหมืองแร่ในพม่า
#SaveMaesai #geology
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/chaodumrong
ทั้งหมดและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ พล เชาว์ดำรง (Pol chaodumrong)
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------------------------------