Pol India ถ้ำอะแจนต้า (Ajanta Caves) India
ถ้ำอะแจนต้า (Ajanta Caves) India อยู่ห่างจากเมืองออรังกาบาด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 102 กม เป็นกลุ่มถ้ำพุทธศาสนา มีอายุมากถึง 2000 กว่าปี สร้างก่อน Ellora caves กล่าวว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก มีด้วยกัน 30 ถ้ำ เจาะลึกเข้าไปในภูเขาหินบะซอลต์ของเนินเขาอะแจนต้า ตามแนวโค้งรูปเกือกม้าบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแวโกรา (Waghora) ที่เป็นแม่น้ำคดโค้งตามซอกเขา แกะสลักเป็นสถานปฏิบัติธรรม มีวิหารขนาดใหญ่ที่สวยงาม องค์เจดีย์ พระพุทธรูป นอกจากนั้น ยังมีชื่อเสียงด้านจิตรกรรมบนฝาผนังและภาพวาดเล่าเรื่องราวทางพุทธประวัติและชาดก ภาพวาดสียังหาดูได้ในถ้ำหมายเลข 1, 2, 9, 10, 15, 16 และ 17 ในปี ค.ศ. 1983 ได้รับเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโกร่วมกับ Ellora caves
Ajanta Caves (ปิดวันจันทร์) การสร้างถ้ำแบ่งออกเป็น 2 ยุค โดยในยุคแรก โดยสาวกเถรวาท Hinayana ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศักราช (BCE) ถึงศตวรรษที่ 1 AD สมัยราชวงค์ Satavahana dynasty จำนวน 6 ถ้ำ ได้แก่ถ้ำหมายเลข 8, 9, 10, 12, 13 and 15A ได้ถูกสร้างออกมาในรูปลักษณะของ” วิหาร” เพื่อปฏิบัติสมาธิของเหล่าพระภิกษุ และ“เจดีย์“เพื่ออุทิศแด่องค์พระพุทธเจ้า ยุคนี้ไม่มีการแกะพระพุทธเจ้า มีหลักฐานเป็นภาพเขียนสีน้ำบนผนังที่ถ่ายทอดถึงเรื่องราวชาดกเข้าใจถึงพุทธประวัติ และมีการใช้ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของชาวเถรวาท ยุคที่สองโดยสาวกชาวมหายาน Mahayana ประมาณคริสศตวรรษที่ 5-6 AD จำนวน 24 ถ้ำ โดยได้รับวัฒนธรรมจากจีน ได้มีการเพิ่มเติมโดยแกะสลักพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายพระองค์บนเจดีย์และบนผนังวิหาร พุทธศาสนาในอินเดียล่มสลายกลายเป็นมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หรือใน พ.ศ. 1742 เมื่อทหารมุสลิมสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาและเผามหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา
- ถ้ำที่ควรเข้าชม คือ หมายเลข 1, 2, 4, 9, 10, 16, 19 และ 26
- ถ้ำหมายเลข 1 และ 2 เป็นถ้ำของฝ่ายมหายานมีภาพวาดสีที่สวยงาม เล่าเรื่องราวพุทธประวัติ
- ถ้ำหมายเลข 4 เป็นถ้ำกว้างใหญ่ที่สุด ด้านหน้ามีรูปแกะสลักพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร มีพระพุทธรูปปางประทับยืน
- ถ้ำหมายเลข 6 มีพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาที่มีพระสรีระแตกต่างจากถ้ำอื่น รอบๆ องค์พระพุทธรูปมีภาพวาดที่ผนังและเพดาน ทางด้านซ้าย ของถ้ำมีตัวหนังสือเขียนไว้ว่า MUSICAL PILLARS (ใช้สันมือกระแทกหรือเคาะที่กลางเสาจะมีเสียงดังกังวาลออกมา)
- ถ้ำหมายเลข 7 ด้านในของถ้ำ มีพระพุทธรูปแกะสลักที่ผนังถ้ำ ลักษณะคล้ายกับครั้งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ แตกต่างจากถ้ำเบอร์ 2 ตรงที่เป็นภาพวาด แต่ที่ถ้ำเบอร์ 7 นี้แกะสลักหินแทน อีกทั้งตรงกลาง ประดิษฐานพระประธานรายล้อมไปด้วยพระพุทธรูป ปางประทับยืน และ เหล่าเทพเทวดา
- ถ้ำหมายเลข 9 และ 10 เป็นถ้ำของเถรวาท ภายในเป็นวิหารโถงสูงยาว มีช่องรับแสงอยู่ด้านบน
- ถ้ำหมายเลข 16 เป็นของฝ่าย มหายาน มีภาพ พระนางชนบทกัลยานี ที่เพิ่งแต่งงานกับ พระนันทะ กาลังเฝ้ารอพระสวามีกลับมาด้วยความโศกเศร้า ภายหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงพาพระนันทะไปบวช
- ถ้ำหมายเลข 19 ด้านในเป็นโถงวิหาร ด้านบนเจดีย์ซ้อนด้วยฉัตร 3 ชั้น หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ถ้ำหมายเลข 24 เป็นถ้ำโถงขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอะแจนต้า แต่ทำไม่เสร็จ เหมาะเป็นที่เรียนรู้การสร้างถ้ำ
- ถ้ำหมายเลข 26 เป็นวิหารโถงสูงยาวงามตระการตา เจดีย์และพระพุทธรูป มีทางเดินเลียบผนังห้องที่แกะสลักแสดงพุทธประวัติ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แผงไว้ด้วยคติธรรม
คนไทยได้รับสิทธิพิเศษจ่ายค่าบัตรผ่านประตูราคาเดียวกับชาวอินเดีย 40 รูปี ชาติอื่น 600 รูปี มีเสลี่ยงหามสี่คนบริการขึ้นลงถ้ำด้วยราคา 1500 รูปี
เปรียบเทียบกับศาสนโบราณสถานแหล่งอื่นๆ เช่น
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี เป็นแหล่งมรดกโลก (เมื่อ 19 กย 2566) ก่อสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-11 จากก้อนอิฐบนฐานก้อนศิลาแลง เป็นศาสนสถานทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์-ฮินดู
- วัดโบโรพุทโธ (Borobudur temple) เป็นวัดพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย เป็นแหล่งมรดกโลก สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แกะสลักจากก้อนหินบะซอลต์-หินแอนดีไซต์
- ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 10-11 แกะสลักจากก้อนหินทราย เริ่มแรกเป็นศาสนาฮินดู ต่อมาเป็นพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (คริสต์ศตวรรษที่ 12)
- นครวัด (Angkor Wat) ในกัมพูชา เป็นแหล่งมรดกโลก สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 12 (ค.ศ. 1110-1150) แกะสลักจากก้อนหินทราย เริ่มแรกเป็นศาสนสถานของฮินดู ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดในพุทธสาสนาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12
- Duomo di Milano มหาวิหารศาสนาคริสต์ในอิตาลีเริ่มสร้าง ค.ศ. 1386 สร้างเสร็จ 1965 แกะสลักจากก้อนหินอ่อน
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/chaodumrong
ทั้งหมดและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ พล เชาว์ดำรง (Pol chaodumrong) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------------------------------