iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Waiyapot ep049 Subduction Zone แนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก

 

 
 
 
Fig. 49.1 Plate Tectonic Model.
EP. 49 Subduction Zone แนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
เกิดจากขบวนการคลายความร้อนจากชั้น mantle ขึ้นสู่ผิวโลก โดย convection current ในบริเวณที่ convection current เคลื่อนที่ลง จะลาก lithosphere ให้จมลงไปในส่วนที่เป็น asthenosphere จัดเป็น suture zones ที่เกิดจากการชนกันของแผ่นทวีป ( convergent plate boundaries) ทำให้แผ่นเปลือกโลกที่มีน้ำหนักมากกว่ามุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า แนวการมุดตัวมักจะทำมุมประมาณ 30-45 องศา เรียกว่า subduction zone หรือ Wadati–Benioff zone การมุดตัวทำให้เกิดความร้อนขึ้นจนถึง 650 oC น้ำและ Volatile จาก hydrate minerals ที่ประกอบอยู่ในหินที่จมลงไปจะถูกปลดปล่อยออกมาจากเนื้อหิน น้ำที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ melting point ของหินลดลงจนเกิดการหลอมละลายของหิน เป็น magma จากนั้นจะเกิด ขบวนการ magmatic differentiation ขึ้น felsic magma ที่มีถ.พ. น้อยกว่า asthenosphere จะลอยเป็น diapir ขึ้นสู่ผิวโลก ถ้าพ้นผิวโลกขึ้นมาก็จะกลายเป็น lava แข็งตัวให้หินภูเขาไฟ แต่ถ้าแข็งตัวใต้ผิวโลกก็จะกลายเป็นหินอัคนีแทรกซอนประเภท หินแกรนิตชนิดต่าง ๆ (granitiods)
ผิวพื้นสมุทรในแนวมุดตัวจะเกิดร่องลึกเรียกว่า trench หรือ abyssal pelagic zone ถัดจากแนวมุดตัวจะเป็นพื้นที่ที่เกิดการบีบอัดชั้นหินให้เกิดการเลื่อนไถลของหิน เป็น overthust faults เกิด metamorphism ชนิด blueschists facies ที่มีอุณหภูมิต่ำความกดดันสูง พื้นที่นี้เรียกว่า accretionary prism หรือ melange zones ถัดไปเป็น forarc zones เป็น sedimentary basin ที่มีการสะสมตัวของตะกอนทะเล lithic sediments ถัดไปเป็นแนวภูเขาไฟ volcanic arc ที่ส่วนฐานประกอบด้วยหินแปรต่าง ๆ ตามลำดับอุณหภูมิ ความดัน จาก greenschist, amphibolite, granulite facies, รวมเรียกว่า barrovian metamorphism และลูกโป่ง ( diapirs) จากการแข็งตัวของหินอัคนีแทรกซอนต่าง ๆ (granitoids) ถัดไปอีกเป็น backarc basin ที่สะสมตะกอน sediments ต่าง ๆ รวมทั้งแนวหินปูน carbonate reef
 
Fig. 49.2 Subduction Zone model.
 
Fig. 49.3 Subduction Features.
 
Fig. 49.4 Subduction Rocks.
 
Fig. 49.5 Slab temperatures control melting in subduction zones and Metamorphism.
 

 

ที่มา

https://www.facebook.com/weerasak.phomthong

รวบรวมข้อมูลและภาพ

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

Waiyapot บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward