Waiyapot ep052 Granite Classification การจำแนกชนิดหินอัคนี
หินอัคนีแทรกซอน มีการจำแนกหลายแบบดังต่อไปนี้
1. ใช้สีจางสีมืดในการจำแนก เช่น leucocratic melanocratic granite
2. ใช้แร่ประกอบหินในการจำแนก แร่ประกอบหินได้แก่ quartz, feldspar, biotite, amphibole, pyroxene, และ olivine อาจจะแบ่งโดยใช้แร่สีจาง (felsic) จนถึงแร่สีเข้ม (mafic) แต่ที่นิยมใช้มากคือใช้แร่หลักได้แก่ quartz (Q), alkaline feldspar (A), plagioclase (P) และ feldspathoid (F) โดยใช้ QAPF diagramในการกำหนดชื่อ
3. ใช้ส่วนประกอบทางเคมี เริ่มจากความเป็นกรด (acid) จนถึงความเป็นด่าง (basic) แต่ที่นิยมใช้มากคือ การใช้ ความสัมพันธ์ของ alkaline earth (Na2O+K2O) และ SiO2 โดยใช้ TAS (Total Alkali Silica) Diagram นอกจากนี้ยังมีการจำแนก เป็น alkaline, sub alkaline, ใช้การเปรียบเทียบระหว่าง aluminous กับ alkaline earth (Na2O+K2O) และ calc alkaline (CaO)
4. ใช้แหล่งกำเนิดของ magma ที่เป็นต้นกำเนิดของหินgranite เป็นตัวแบ่ง เรียกว่า S-I-A-M classification ใช้มากในวงการสำรวจแร่ ได้แก่
a. S type (sedimentary rocks originated) เป็นหินแกรนิตที่มีต้นกำเนิดจาก หินชั้น หรือเรียกว่า ilmenite series (Ishihara,1971) มีแร่ mica biotite muscovite ประกอบในหิน ให้แร่ ดีบุก ทังสะเตน
b. I type (igneous rocks originated) เป็นหินแกรนิตที่มีต้นกำเนิดจาก หินอัคนี หรือเรียกว่า magnetite series (Ishihara,1971) มีแร่ hornblende ประกอบในหิน
c. A type (anorogenic alkaline partial melting continental crust originated) มี potassium และ silica สูง เป็น anorogenic origin ใน rift zone ที่ให้แร่ REE (rare earth elements)
d. M type (mantle rocks originated) เกิดจากหินหลอมเหลวจากชั้น mantle
e. H type (hybrid rocks originated) เกิดจากหินต่าง ๆ รวมกัน
5. ใช้ บริเวณตำแหน่งที่เกิดหิน granite ทาง plate tectonic ในการกำหนดชื่อหิน
Fig. 52.2 Nomenclature of Granitoids and Volcanic rocks by color.
Fig. 52.3 Granitoid classification using QAPF Diagram by IUGS, 1974
Fig. 52.4 Granitoid classification using alkaline-aluminous ratio.
Fig. 52.5 Granitoid classification using alkaline-aluminous ratio.
Fig. 52.6 Granitoid classification using alkaline-silicate ratio.
Fig. 52.7 Granitoid classification using TAS Plot ratio between alkaline earth and silica dioxide.
Fig. 52.8 Granitoid classification using alphabet S-I-A-M.
Fig. 52.9 Granitoid classification based on tectonic setting.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
Waiyapot บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล-------------------------------------------------