iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Waiyapot ep051 The Rising of Granitoids การผลุดขึ้นมาของหินแกรนิต

 

 
 
Fig 51.1 Subduction zone and magma melting.
EP. 51 The Rising of Granitoids การผลุดขึ้นมาของหินแกรนิต
ในบริเวณที่เกิด subduction ชั้น lithosphere ของ oceanic plate มุดตัวลงสู่ชั้น asthenosphere ทำให้เกิดความร้อนถึง 650 oC น้ำ และสาร volatiles ต่าง ๆ จะแยกตัวออกจากชั้นหิน ไปสะสมตัวในบริเวณส่วนบนของรอยเลื่อนและทำให้จุดหลอมเหลวของหินบริเวณนั้นลดลง เมื่ออุณหภูมิถึง 800 oC หินจะเริ่มหลอมเหลว (partial melting) จนอุณหภูมิสูงกว่า 1,200 oC หินทั้งหมดจะหลอมเหลวเป็น magma จากนั้น magma ดังกล่าวจะมีการตกผลึกแยกส่วน (magmatic differentiation) แร่ดำที่เป็นส่วนประกอบของ mafic magma จะตกผลึกแยกส่วน ส่วนที่เหลือจะกลายเป็น felsic magma (ถ.พ. 2.65) ที่มีถ.พ. ต่ำกว่า asthenosphere (ถ.พ. >3) ลอยขึ้นสู่ผิวโลกเป็นลูกโป่งขนาดใหญ่ (diapir)ที่มีความหนืดสูงดังนั้นจำเป็นต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบ>20% เมื่อ diapir ลอยสูงขึ้น อุณหภูมิและความดันเริ่มลดลง หินแกรนิตตอยด์ ก็จะเริ่มตกผลึก ที่ 800 oC ผลึกแร่ดำ และ calc plagioclase เริ่มตกผลึกแขวนลอยใน magma ก่อนจากนั้นแร่อื่น ๆ เริ่มตกผลึกตามเมื่ออุณหภูมิและความดันลดลงเรื่อย ๆ จนทั้งหมดกลายเป็นหิน ถ้าการแข็งตัวเกิดขึ้นที่ความลึก 35 กม. ความดัน 9 kb อุณหภูมิ 950 oC จะได้หิน diorite ที่ต้องการน้ำในการแข็งตัวเป็นหิน 2.7 % ถ้าการแข็งตัวเกิดขึ้นที่ความลึก 30 กม. ความดัน 7.5 kb อุณหภูมิ 750 oC จะได้หิน grano-diorite ที่ต้องการน้ำในการแข็งตัวเป็นหิน 3.3 % ถ้าการแข็งตัวเกิดขึ้นที่ความลึก 22 กม. ความดัน 5.5 kb อุณหภูมิ 700 oC จะได้หิน granite ที่ต้องการน้ำในการแข็งตัวเป็นหิน 8.4 % ดังนั้นน้ำที่เหลือในระบบ 16-20 % จะถูกขับออกนอกระบบกลายเป็น hydrothermal fluid ที่นำพาอนุมูลโลหะที่ละลายอยู่ในตัวไปตกตะกอนสะสมตัวในโครงสร้างกับดัก ที่เหมาะสมกลายเป็นแหล่งแร่ต่อไป
การหลอมเหลวของหินเป็น felsic magma อาจจะเกิดจาก น้ำหนักกดทับของหินด้านบนที่มี continental crust หนามาก มีน้ำหนักมากจนส่วนล่างจมลงใน asthenosphere แล้วหลอมละลายเป็น magma ลอยขึ้นสู่ผิวโลกได้เช่นกัน
การผลุดขึ้นมาของ diapir ถ้าเคลื่อนที่ผ่านหินบริเวณที่มีการอ่อนตัว (ductile) ก็จะมีรูปร่างเป็นลูกโป่ง ถ้ากึ่งอ่อนตัว (semiductile) ก็จะเป็นรูปดอกเห็ด (laccolith or lopolith) แต่ถ้าเป็น incompetent bedding ก็จะแตกหักเป็น block ตกลงไปใน magma ที่กำลังจะแข็งตัวเรียกว่า cauldron subsidence ส่วนของ blockที่ตกลงใน magma บางส่วนจะหลอมรวมกับ magma โดยส่วนที่ยังเหลืออยู่ถ้ามีขนาดเล็กเรียกว่า xenolith แต่ถ้ามีขนาดใหญ่เรียกว่า roof pendant ถ้าเคลื่อนที่เข้าไปแข็งตัวในรอยแตก รอยเลื่อน แนวการวางตัวของหินเรียกว่า dike (วางตัวแนวตั้ง) หรือ sill (วางตัวแนวราบ) ขนาดของ diapir แกรนิตถ้าคลุมพื้นที่ผิวโลกน้อยกว่า 100 ตร.กม. เรียกว่า stock ถ้ามากกว่า100 ตร.กม. เรียกว่า batholith ถ้ามากกว่า แสนตร.กม.เรียกว่า large igneous province (LIP)
ส่วนบนสุดของ diapir จะแข็งตัวก่อนแล้วแตกยับอย่างรวดเร็วเนื่องจากความดันของ magma ที่ยังไม่แข็งตัวดันขึ้นมาแล้ว magma ใหม่ก็จะแข็งตัวแล้วแตกอีก ทำให้ส่วนบนของ diapir มีน้ำ hydrothermal พาอนุมูลโลหะมาสะสมตัวมากเกิดเป็นแหล่งแร่สำคัญ ส่วนยอดของ diapir นี้ เรียกว่า cupola ในส่วนที่มีรอยแตกมากเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ให้ last phase of magma และ hydrothermal fluid เข้าไปตกตะกอนได้เรียกว่า breccia pipe หรืออาจจะมีการสะสมตัวของ late stage of magma เป็น pegmatite ส่วนขอบสุดท้ายของการแตกยับเปลี่ยนเป็นหินแกรนิตเนื้อละเอียดเรียกว่า inter facet zone หรือ carapace zone หรือ endo skarn
 
 
Fig 51.Temperature and time cooling curve of granitic crystalization.
 
Fig 51.3 Strong’s Model of granitoid consolidation.
 
Fig 51.4 Rising of Granitoids .
 
Fig 51.5 Rising of Granitoids showing process of Cauldron Subsidence.
 
Fig 51.6 Origin of granite from Thick Continental crust.
 
Fig 51.7 Shape of granitoid’s bodies.
 
Fig 51.8 Cupola part of granitoid’s bodies.
 
 
 

 

ที่มา

https://www.facebook.com/weerasak.phomthong

รวบรวมข้อมูลและภาพ

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

Waiyapot บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward