Waiyapot EP. 66 Phanerozoic Eon บรมยุคฟาเนอโรโซอิก
Fig. 66.1 Geologic Time Scale of Phanerozoic Eon.
ตั้งในปี 1930 โดย George Halcott Chadwick (1876–1953),นักธรณีวิทยาอเมริกัน โดยใช้ภาษากรีก phanerós= "visible"; และ zōḗ="life" จากการค้นพบสัตว์ metazoan fossils ชนิดแรก ๆ จำนวนมากในโลก ถึงแม้ว่าจะมีการค้นพบ metazoan ชนิด Ediacaran ที่เกิดปลายบรมยุค Proterozoic แล้วในปี 1950 แต่พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประกอบกับเริ่มมีพืชสาหร่าย เชื้อรา มอส ไลเคน ปกคลุมพื้นดินจำนวนมาก บรรยากาศมีออกซิเจนมากพอแก่การดำรงชีพ ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง -10 ถึง 40 oC อยู่ในช่วงที่ชีวิตสามารถดำรงค์อยู่ได้ การเคลื่อนตัวของทวีปและแผ่นเปลือกโลกต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ไม่รุนแรง ไม่เกิดธรณีพิบัติภัยรุนแรงจนชีวิตอยู่ไม่ได้ พระอาทิตย์ พระจันทร์ วันเวลา หมุนเวียนทุกวันเสกเช่นปัจจุบัน แต่ชีวิตบนโลกผันแปรไปตลอดช่วงกาลเวลา มีการเกิดพันธ์สัตว์ใหม่ และการสูญพันธ์ของสัตว์จำนวนมากหลายครั้ง เกิดวิวัฒนาการของชีวิต จากสัตว์ทะเล ถึงยุคปลาครองโลก เป็นยุคกิ้งก่ายักษ์ จนถึงยุคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลก
Phanerozoic Eon มีการเปลี่ยนแปลงใน biosphere, ทั้งทาง ธรณีวิทยา (geology), สภาพอากาศ (climate), และเกิดชีวิตที่มีอวัยวะที่ซับซ้อนขึ้น มีการเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศตลอด จากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่เคยรวมตัวเป็นแผ่นดินเดียวครั้งหนึ่ง มีห้วงเวลา 538.8 Ma. จนถึงปัจจุบัน ได้มีการแบ่งห้วงอายุเป็น 3 มหายุค (Era) และ 11 ยุค (Period) ดังนี้
Paleozoic Era มหายุค โบราณ (538.8 - 252 million years ago) แบ่งออกเป็น 6 ยุคได้แก่
• Cambrian Period ยุค แคมเบรียน (538.8 - 485.4 million years ago): มีการเกิดสิ่งมีชีวิตในทะเลจำนวนมากและอย่างรวดเร็วเรียกว่า "Cambrian Explosion," เกิดสัตว์ทะเลขึ้นอย่างมากมาย.
• Ordovician Period ยุคออร์โดวิเชียน (485.4 - 443.8 million years ago): เกิดสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลังครั้งแรกในโลก
• Silurian Period ยุค ไซลูเรียน (443.8 - 419.2 million years ago เกิดพืชที่มีท่อส่งน้ำ อาหารในตัวเอง (vascular plants) และแมลงบนบก (terrestrial arthropods) ครั้งแรกในโลก
• Devonian Period ยุคดีโวเนียน (419.2 - 358.9 million years ago) เป็นยุคของปลา "Age of Fishes," และเกิดสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (amphibians) ครั้งแรกในโลก
• Carboniferous Period ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (358.9 - 298.9 million years ago) เป็นยุคที่ต้นไม้ครองโลก ทำให้เกิดแหล่งถ่านหินทั่วไปในโลก เกิดสัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) ครั้งแรกในโลก
• Permian Period ยุค เพอร์เมียน (298.9 - 252 million years ago) เกิดมหาทวีปที่มีการรวมตัวเป็นแผ่นดินเดียว (supercontinent) เรียกว่ามหาทวีป Pangaea จบด้วยการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก (largest mass extinction )
Mesozoic Era มหายุค กลาง (252 - 66 million years ago) แบ่งเป็น 3 ยุค
• Triassic Period ยุคไทรแอสซิก (252 - 201.3 million years ago) เกิดกิ้งก่ายักษ์ (dinosaurs) และสัตว์เรียกลูกด้วยนม (mammals) ครั้งแรกในโลก
• Jurassic Period ยุค จูแรสซิก (201.3 - 145 million years ago) ไดโนเสาร์ครองโลก เกิดนก (birds) ครั้งแรกในโลก
• Cretaceous Period ยุคครีเตเชียส (145 - 66 million years ago) เกิดพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีดอกไม้ (angiosperms) ครั้งแรกในโลก จบด้วยการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ของ non-avian dinosaurs
Cenozoic Era มหายุคใหม่ (66 million years ago - Present) แบ่งเป็น 3 ยุค
• Paleogene Period ยุคโบราณ (66 - 23 million years ago) เป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(mammals)ครองโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรุนแรง
• Neogene Period ยุคใหม่ (23 - 2.58 million years ago) เกิดมนุษย์ครั้งแรกในโลก
• Quaternary Period ยุคที่สี่ ยุคปัจจุบัน (2.58 million years ago - Present) เกิดยุคน้ำแข็งใหญ่ มนุษย์ครองโลก
Fig. 66.2 Geologic Time Scale of the world.
.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------