Waiyapot EP. 67 Cambrian Period ยุค แคมเบรียน
Fig. 67.1 Plate Tectonic of Cambrian Period
EP. 67 Cambrian Period ยุค แคมเบรียน
Cambrian Period เป็นยุคแรกของ Paleozoic Era, และ Phanerozoic Eon ตั้งชื่อโดย Adam Sedgwick (อังกฤษ) ในปี 1835 จากภาษา Wales โบราณ เขียนด้วย ภาษาลาติน Cymru ในยุคนั้นตั้งชื่อโดยอาศัยลักษณะหินที่พบในแคว้น Wales (lithologic type section) ของอังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 สมัย (epoch) ตอนนั้นหินที่มีอายุมากกว่าหินยุคนี้ทั้งหมดจะเรียกว่า หิน Pre-Cambrian
เมื่อ 633 Ma. มาแล้วมหาทวีป Rodinia ได้เริ่มแยกออกจากกัน จนถึงยุค Cambrian (541Ma.) แผ่นดินส่วนใหญ่ยังคงครอบครองพื้นที่ซีกโลกใต้ โดยมี ทวีป South America อยู่ทางทิศตะวันตก และทวีป Gondwana อยู่ทางทิศตะวันออก มีทวีป Laurentia และ Siberia อยู่ตรงกลางบริเวณ เส้นศูนย์สูตร
บริเวณขั้วโลกทั้งเหนือและใต้ไม่มีแผ่นดินอยู่ ขั้วโลกมีน้ำแข็งอยู่น้อย เนื่องจากไม่มีแผ่นดินรองรับ เป็นสาเหตุให้โลกอยู่ในภาวะโลกร้อน และกระแสน้ำอุ่นจากเส้นศูนย์สูตร ไม่ไหลไปยังขั้วโลก ทำให้มีน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกอยู่บ้าง ลมจากขั้วโลกทำให้โลกไม่ร้อนมากนัก เหมาะสมกับการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต เมื่อโลกมีน้ำแข็งน้อยลง ทำให้เกิดภาวะระดับน้ำทะเลสูง ขอบทวีปทั้งหมดถูกน้ำทะเลท่วม เกิดเป็นเขตทะเลตื้นที่กว้างขวาง เป็นผลให้เกิด Biodiversity Boom หรือการวิวัฒนาการของชีวิตอย่างมโหฬาร เรียกว่า Cambrian Explosion
แผ่นดินทั้งหมดเป็นแผ่นดินว่างเปล่า มีแต่เขาหิน และทะเลทราย ตามขอบริมแหล่งน้ำมีพืชเกิดน้อยบ้าง เป็นพืชชั้นต่ำที่เป็นสารประกอบแบคทีเรีย และสาหร่ายขั้นต้น เรียกว่า พรมจุลชีพ (Microbial Mats)
ในน้ำและน้ำทะเลมีสาหร่ายสีน้ำเงิน (cyano bacteria) สาหร่ายแดง (red algae) สาหร่ายเขียว (green algae) พืชเซลเดี่ยว (Acritarchs) และ แพลงตอน Phytoplankton เป็นต้น
แผ่นดินยังไม่มีสัตว์บกเกิดขึ้นเลย
ในทะเลมีสัตว์เกิดขึ้นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม สัตว์ที่มีเปลือกหุ้มภายนอก (shells and exoskeletons) เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrates)
หินที่เกิดในยุคนี้ เป็นหินที่เกิดในทะเลตื้นเป็นส่วนใหญ่ (molasse type sedimentary rocks), ซึ่งเป็นหินที่สะสมตัวในทะเลตื้น ได้แก่ หิน sandstones และ shales หินปูน (carbonate rocks) หินตะกอนที่สะสมตัวตามทางน้ำบนบกสีน้ำตาลแดง (red bed) มีการประทุขึ้นมาของหินภูเขาไฟ และหิน intrusive igneous rocks จำนวนมาก
แหล่งแร่ที่พบในหินยุค แคมเบรียน ได้แก่ แหล่งแร่ ตะกั่ว สังกะสี ที่เกิดแบบ SEDEX และ VMS จากแนวภูเขาไฟ ที่เกิดจากการแยกตัวและรวมตัวกันของทวีปต่าง ๆ แหล่งแร่ phosphorite ที่เกิดใน continental shelf ที่คลุมพื้นที่กว้างขวาง ตามขอบทะเลตื้น แหล่งแร่ evaporite ที่เกิดบนพื้นทวีปที่แห้งแล้งได้แก่ แร่ยิปซัม โพแตช และเกลือหิน แหล่งแร่เหล็ก (iron) ที่เกิดแบบ sedimentary host deposits, และแร่ barite ที่เกิดร่วมกับหิน intrusive igneous rocks
Fig. 67.2 Views of Cambrian Period
.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------