iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Waiyapot ep081 Geology of Silurian Period ลักษณะธรณีวิทยา ของยุคไซลูเรียน

 

 

Fig 80.1 carbonate rocks of Niagara fall north America. (Silurian Period).

 

EP. 81 Mineral deposits of Silurian Period แหล่งแร่ในยุค Silurian

แหล่งปิโตรเลียม ในยุค ไซลูเลียน เกิดทะเลตื้นอย่างกว้างขวางทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายสายพันธ์จำนวนมาก โดยเฉพาะเกิด carbonate platform ขนาดใหญ่ เมื่อหินชุดนี้ถูกทับถม สาร hydrocarbon จากซากพืชและสัตว์ต่าง ๆ ถูกบีบออกจากหินไปสะสมตัวในกับดัก ปิโตรเลียมในหินที่อายุอ่อนกว่าเกิดเป็นแหล่ง ปิโตรเลียมที่สำคัญของโลกเช่นแหล่งน้ำมันในหินชุด Michigan และแหล่งน้ำมันที่ซาอุดิอารเบีย

แหล่งแร่ตะกั่ว-สังกะสี ทองแดง-ทองคำ หินปูนของยุคนี้ยังเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดแหล่งตะกั่วสังกะสี แบบ Mississippi Valley Type (MVT) ที่เกิดจากน้ำเกลือโลหะ (metallic brine) แทรกซึมเข้ามาตกตะกอนในชั้นหินปูน น้ำเกลือโลหะบางส่วนประทุขึ้นมาตกตะกอนในท้องสมุทร เป็นแหล่งแร่ แบบ sedimentary exhalative (SEDEX) ที่มีการสะสมตัวของแร่ ทองแดง ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ในพื้นที่ที่มีการระเบิดของภูเขาไฟโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการชนกันของ plate tectonic ที่ต่อมาจะเป็นแนวก่อภูเขา Caledonian orogeny จะเกิดการสะสมตัวของแหล่งแร่แบบ Volcanogenic Massive sulfides (VMS) แหล่งเกลือหิน จากปรากฏการที่น้ำทะเลขึ้นสูง มีการขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นช่วงเวลาสั้นๆ (sea water fluctuation) ประกอบกับอากาศร้อนแห้งแล้ง ทำให้เกิดแอ่ง evaporite จำนวนมากตามขอบทะเลตื้น เป็นผลให้เกิดแหล่งเกลือหิน แอนไฮไดรต์ และแหล่งยิปซัมขนาดใหญ่ในหินชุดนี้ แหล่งแร่สำคัญได้แก่ แหล่งเกลือหินที่ Michigan, Ohio, and New York ที่มีความหนาชั้นเกลือ ถึง 600 เมตร ที่ Michigan แหล่งเกลือหินหนา 2 เมตรที่ North Dakota แหล่งยิปซัมที่ Siberia แหล่ง เกลือหิน และ anhydrite ที่ Carnarvon Basin Canning และ Bonaparte Gulf basins ใน Western Australia แหล่งเกลือหินใน Eastern Europe (Poland, Ukraine).

นอกจากนี้ยังเกิดการ upwelling ของกระแสน้ำทะเลเนื่องจากความร้อนของผิวสมุทรทำให้กระแสน้ำเย็นจากก้นสมุทรไหลขึ้นมาแทนที่ผิวสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงกว่า เกิดการสะสมตัวของแร่ phosphate ตามชายฝั่งทะเล แหล่ง phosphorite ของยุคนี้ปรากฏที่ North Africa (Tassili-n-Ajjer, Algeria), Middle East (Saudi Arabia)

ในขณะเดียวกันบนพื้นทวีปเกิดการผุกร่อน (weathering) และการถูกกัดเซาะ (erosion) อย่างรุนแรง ทำให้ธาตุเหล็ก แมงกานีส ในหินถูกละลาย แล้วไปตกตะกอนในทะเลตื้นเป็นแหล่งแร่เหล็ก แบบ sedimentary host iron stone deposits ที่ Severn River valley ใน Shropshire, แหล่งแร่เหล็กที่ Birmingham area อังกฤษ แหล่งแร่เหล็กที่ Wabana Newfoundland

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward