Waiyapot ep082 Siccar Point The holy place of modern Geology ซิกการ์ พอยนต์ สถานศักดิ์สิทธิ์ ทางธรณีวิทยาสมัยใหม่
Fig. 82.1 James Hutton and The Siccar Point..
EP. 82 Siccar Point The holy place of modern Geology ซิกการ์ พอยนต์ สถานศักดิ์สิทธิ์ ทางธรณีวิทยาสมัยใหม่
ถ้าหาก เม็กกะ หรือ เยรูซาเลม เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นจุดกำเนิดของศาสนา ซิกการ์ พอยนต์ น่าจะเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ของธรณีวิทยาสมัยใหม่ เมื่อ James Hutton บิดาแห่งวิชาธรณีวิทยาสมัยใหม่ได้ค้นพบและเข้าใจถึงขบวนการ การเกิดหินชั้น การยกตัวของหินโดยการโค้งงอของชั้นหิน การสึกกร่อนของหินบนภูเขา และการสะสมตัวใหม่ของหินชั้นบนพื้นทวีป จัดเป็นสถานที่แรกของ International Union of Geological Sciences (IUGS) 100 'geological heritage sites' around the world ที่จัดพิมพ์เมื่อ October 2022
James Hutton (1726–1797) ชาว สกอตแลนด์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเกษตรศาสตร์ นักเคมี นักธรรมชาติวิทยา และนักฟิสิกส์ เขาสังเกตเห็นชั้นทรายชายหาดมีลักษณะเป็นแถบชั้นเล็ก ๆ เหมือนหินทรายที่ปรากฏในบริเวณใกล้เคียง และสรุปได้ว่าหินทรายเหล่านี้เกิดจากการสะสมตัวของชั้นทรายแล้วแข็งตัวกลายเป็นหิน เขาได้ศึกษาหินต่าง ๆ ที่ปรากฏตามชายฝั่ง ตะวันออกของ สกอตแลนด์ ต่อมาในปี 1788 เขาได้ศึกษาหินทรายที่ Siccar Point, Berwickshire, Scotland และได้พบ รอยไม่ต่อเนื่องของชั้นหิน (unconformity) ที่ต่อมาเรียกว่า Hutton’s Unconformity ที่เป็น angular unconformity
ชั้นหินใน Siccar Point ประกอบด้วยหินทราย (greywacke) วางตัวอยู่บนและแทรกสลับอยู่ในหินโคลน (mudstones) วางตัวเกือบตั้งฉาก หินชุดนี้มีอายุ early Silurian (Llandovery) age, (c.440 Ma) ถูกวางทับด้วยหินทรายและหินทรายแป้งสีแดง ที่เป็นหินที่สะสมตัวบนพื้นทวีป (terrestrial sandstones, of late Devonian age (c.375 Ma) เอียงเทน้อย ๆ ไปทางทิศตะวันออก โดยมีรอยการสึกกร่อนเนื่องจากการกัดเซาะของผิวดินที่ต่อมาจะเรียกว่ารอยชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformity)
James Hutton ได้บรรยายเหตุการณ์การเกิดหินชุดนี้ว่า เริ่มแรกเกิดการสะสมตัวของหินในแอ่งทะเลตื้น เป็นชั้นหินโคลน แล้วทะเลเริ่มตื้นขึ้นจนเกิดการสะสมตัวของหินทราย (greywacke) ที่เม็ดหยาบกว่า จากนั้นแอ่งสะสมตะกอนถูกปิด และเกิดการโค้งงอของชั้นหินจนแนวการวางตัวชั้นหิน (bedding plane) วางตัวในแนวตั้ง เนื่องจากการยกตัวของแอ่งขึ้นเป็นภูเขา จากนั้นเกิดการ ผุกร่อน (weathering) ของภูเขา มีการกัดเซาะของทางน้ำต่าง ๆ (erosion) เกิดรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformity) เป็นชั้นหินกรวดมน (basal conglomerate) หลังจากนั้น เกิดการสะสมตัวของหินทรายปนพื้นทวีป (fluvial type sedimentary rocks) ทับอยู่ข้างบนแบบต่อเนื่อง
Fig. 82.2 Siccar Point the first geological heritage sites of IUGS
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
ทั้งหมดและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------