Waiyapot ep090 Carboniferous Period ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
Fig. 90.1 Plate Tectonic of Carboniferous Period.
EP 90. Carboniferous Period ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
เป็นห้วงเวลาระหว่าง 358.86- 298.9 Ma. ยุคนี้จัดตั้งขึ้นในค.ศ. 1822 โดย William Conybeare และ William Phillips ชาวอังกฤษ จากการลำดับขั้นหินในประเทศอังกฤษ ได้ชื่อมาจากภาษา Latin หมายถึงชั้นถ่าน (coal-bearing", from the Latin carbō ("coal") and ferō ("bear, carry") นักบรรพชีวินให้ฉายายุคนี้ว่า ยุคของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Age of Amphibians) เนื่องจากเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ที่เป็น Amphibians จำนวนมาก
เป็นยุคเริ่มต้นของการรวมแผ่นดินเป็นแผ่นดินเดียว (super continent) Pangaea เมื่อ มหาทวีป Laurasia ที่เคลื่อนตัวลงทางทิศใต้มาชนกัน มหาทวีป Gondwana ที่เคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศเหนือ ผลจากการชนกันของมหาทวีปทำให้เกิดการก่อภูเขา (orogeny) ได้แก่ Variscan Mountains (today’s France, Spain, Germany) ในยุโรป Hercynian (Western Europe & North Africa), Alleghenian หรือ Appalachian Mountains (North America), และ Uralian หรือ Ural (Russia/Asia) ทำให้เกิดการปิดตัวของมหาสมุทร Rheic Ocean และการขยายตัวของ Panthalassa Ocean เกิดแนวการมุดตัว (subduction) แนวแยกตัว (riftig) และแนวภูเขาไฟจำนวนมากตามแนวการเคลื่อนตัวชนกันของมหาทวีป ยุคนี้ของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็น 2 ยุคย่อยคือ Early Carboniferous (Mississippian) และ Late Carboniferous (Pennsylvanian)
สภาพอากาศของยุค Early Carboniferous (Mississippian) ร้อนชื้น เหมือนเขต tropical เนื่องจากแผ่นดินส่วนใหญ่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ก่อให้เกิดสภาพอากาศแบบ monsoonal climate patterns อุณหภูมิ ~20–25°C มีปริมาณ CO₂ สูง (~1,000–1,500 ppm, ปัจจุบัน~420 ppm ) มีออกซิเจนสูงถึง 35%O2(ปัจจุบัน~21%O2) ในยุคLate Carboniferous (Pennsylvanian) มหาทวีป Gondwana คลุมพื้นที่ ขั้วโลกใต้ทั้งหมด ก่อให้เกิด continental glacier ขนาดใหญ่เกิดยุคน้ำแข็งอากาศเย็น อุณหภูมิ ~12–14°C มีปริมาณ CO₂ ปานกลาง (~200–400 ppm) มีการขึ้นลงของน้ำทะเลตลอดเวลา (marine fluctuation) เป็นเหตุให้เกิดที่ลุ่มต่ำ (swamp) ที่เหมาะแก่การเกิดป่าชื้นแฉะจำนวนมาก เป็นต้นกำเนิดของถ่านหินของยุคนี้
Fig. 90.2 Geologic Time Scale of Carboniferous Period.
Fig. 90.3 Summary Features of the Carboniferous Period.
.
-------------------------
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย
-------------------------