เที่ยวกรุงเทพ สัมพันธวงศ์ วัดอุภัยราชบำรุง หรือ วัดญวนตลาดน้อย (Wat Uthai Rajabamrung)
วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวนตลาดน้อย) ที่อยู่ เลขที่ 864 ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานได้ว่าคงจะสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2330 ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอุภัยราชบำรุง (อุภัย แปลว่า สอง) วัดอุภัยราชบำรุง หมายถึง วัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ (อุภัยราชะ) ถึงสองรัชกาล คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
- เนื่องจากสมเด็จพระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ ได้รู้จักพระเถระของฝ่ายญวนคนสำคัญรูปหนึ่งนามว่า องฮึง สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่นั้น ความที่พระองค์ท่านทรงขวนขวายใคร่ศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนามหายานให้เชี่ยวชาญ จึงเป็นโอกาสที่ องฮึง ได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด พร้อมถวายวิสัชนาเรื่องศาสนาพุทธฝ่ายมหายานและภิกษุสามเณรในคณะญวน ต่อมาพระองค์ขึ้นครอง ราชย์ องฮึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อย ความทราบถึงเบื้องยุคลบาทว่าทางวัดกำลังปฏิสังขรณ์อยู่ จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินช่วย
- ครั้นถึงแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 วัดญวนตลาดน้อยบูรณปฏิสังขรณ์อีก ดั่งปรากฏว่าความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 5 นำเบอร์ 1 วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล ยังเป็นนพศก 1239 การฉลองวัดอุภัยราชบำรุง ณ วันอาทิตย์ เดือนสี่ ขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีฉลู นพศก 1239 นับในปัจจุบัน คือ พ.ศ.2420 พระยาโชฏึกราชเสษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์) จัดการในวัดอุภัยราชบำรุง เมื่อได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระราชทานนามว่า วัดอุภัยราชบำรุง พระญวนจึงได้รับการยกย่องในทางราชการ ให้เข้ามาร่วมพระราชพิธีถวาย พระชัยมงคล แต่นั้นจนบัดนี้
วัดอุภัยราชบำรุง (คั้นเยิงตื่อ) หรือวัดญวนตลาดน้อย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐ สมัยนั้นคนญวนที่นับถือพุทธศาสนาได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นสองวัดคือ วัดคั้นเยิงตื่อ หรือวัดญวนตลาดน้อย และวัดกว๋างเพื้อกตื่อ หรือวัดญวนบางโพ ในขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชอยู่ ได้รู้จักพระเถระของฝ่ายญวนรูปหนึ่งคือ องฮึง ซึ่งได้เข้าเฝ้าถวายวิสัชนาเรื่องพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ต่อมาเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงอุปถัมภ์และให้การปฏิสังขรณ์วัดญวนเรื่อยมา ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถในการอุปถัมภ์และการปฏิสังขรณ์วัดญวน โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อย และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอุภัยราชบำรุง คำว่า “อุภัย” แปลว่า สอง แสดงให้เห็นถึงความหมายว่าเป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ องฮึง เจ้าอาวาส เป็น “พระครูคณานัมสมณาจารย์” ตำแหน่งทางการปกครองเป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอนัมนิกายรูปแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ รัฐบาลอินเดียได้ถวายหน่อพระศรีมหาโพธิ์จำนวนหลายต้นแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงพระราชทานให้แก่วัดในกรุงเทพมหานคร และวัดอุภัยราชบำรุงก็เป็นวัดหนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับพระราชทานหน่อพระศรีมหาโพธิ์นี้มาปลูกที่วัด ๑ ต้น และเสด็จฯ มาทรงพระสุหร่ายประพรมต้นพระศรีมหาโพธิ์ในคราวฉลองวัดอุภัยราชบำรุง ณ วันอาทิตย์ เดือนสี่ ขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐
-----------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
รวบรวมรูปภาพ
-----------------------------------------
เที่ยวกรุงเทพ (Travel Bangkok)
-----------------------------------------
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่ |
. |