iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

เที่ยวเชียงใหม่ ดอยสะเก็ด วัดพระธาตุดอยสะเก็ด (Wat Phra That Doi Saket)

  

วัดพระธาตุดอยสะเก็ด (Wat Phra That Doi Saket) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสะเก็ด (Wat Phra That Doi Saket) มีพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งมีตำนานเล่าว่า ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ออกเดินทางเผยแพร่ธรรมะในแถบดินแดนชมพูทวีป ได้แสดงปาฏิหาริย์มาปรากฏกายทิพย์ ณ บนยอดดอยแห่งนี้ แล้วทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีสว่างเจิดจ้าไปทั่วบริเวณ เมื่อพญานาคคู่หนึ่งที่อาศัยอยู่ในหนองบัว ได้เห็นฉัพพรรณรังสีจึงเลื้อยขึ้นสู่ยอดดอยแลเห็นพระพุทธองค์ จึงเกิดความเลื่อมใสแปลงกายเป็นชายหนุ่มหญิงสาวมาเข้าเฝ้า พร้อมกับได้นำดอกบัวมาถวาย พระพุทธองค์ทรงรับเอาดอกบัวนั้นไว้แล้วจึงแสดงธรรมโปรดและประทานเกศาธาตุแก่พญานาคแปลงคู่นั้น พญานาคจึงได้อธิษฐานสร้างเจดีย์หิน แล้วนำเอาพระเกศาธาตุบรรจุไว้บนดอยแห่งนี้ ต่อมาได้มีนายพรานาได้มาพบเห็นเจดีย์มีลักษณะสวย ได้ได้นำเอาก้อนหินมาก่อเป็นรูปเจดีย์ขึ้น กลางคืนได้นิมิตทราบว่าเจดีย์นี้บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า จึงบอกกล่าวประชาชนในแถบนั้นให้มาสักการบูชา เรียกภูเขานั้นว่า ดอยเส้นเกศ ต่อมาเพี้ยนมาเป็น ดอยสะเก็ด 

สำหรับประวัติการสร้างวัด มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า "ครูบาเก๋" จากเมืองน่านมาสร้างวิหารและบูรณะเจดีย์พร้อมทั้งสถาปนาขึ้นเป็นวัดใช้ชื่อว่า "วัดดอยสะเก็ด" ต่อมา จ.ศ. 1197 (พ.ศ. 2398) พ่อน้อยอินทจักร ได้มาบูรณะวิหารหลังเก่า จ.ศ. 1247 (พ.ศ. 2448) ครูบาชัยวัดลวงเหนือ (วัดศรีมุงเมืองในปัจจุบัน) ได้มาซ่อมแซมวิหารและบูรณะให้เจดีย์ใหญ่ขึ้น จ.ศ. 1257 (พ.ศ. 2458) พระอภิวงศ์หรือครูบากาวิชัย พร้อมด้วยพ่อหนานอินทวงศ์ (พ่อขุนผดุงดอยแดน) ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านเชิงดอยเป็นครอบครัวแรกได้ร่วมกันอุปถัมภ์วัดดอยสะเก็ดเรื่อยมา กรมการศาสนาระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2155 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2461

ภายในวิหารมีองค์พระประธาน 5 องค์ บนสุดองค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตัดกว้าง 49 นิ้ว เจดีย์พระเกศาธาตุองค์เดิม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485 เป็นศิลปะล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนเจดีย์พระเกศาองค์ใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 ครอบองค์เดิมเพื่อให้สูงเด่นเป็นสง่า สูง 30 เมตร วัดมีกุฏิวิปัสสนา 16 หลัง ส่วนศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ 2532 ใช้เป็นหอสวดมนต์ หอฉัน เป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงไทย

 

-----------------------------------------

ที่มาข้อมูล

รวบรวมรูปภาพ

www.iok2u.com

-----------------------------------------

เที่ยวเชียงใหม่ (Travel Chiang Mai)

เที่ยวไทย (Travel Thailand)

-----------------------------------------  

 

 ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่

 

20240114 วัดพระธาตุดอยสะเก็ด เชียงใหม่

https://photos.app.goo.gl/czzmtqMMzL1oCzBi7

.

-----------------------------------------  


20211218 วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ดอยสะเก็ด เชียงใหม่

https://photos.app.goo.gl/6nVsGgj3wgSUAmA16

.

-----------------------------------------  

 

 

 

 

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward