iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

สะพานรัษฎาภิเศก (Ratsadaphisek Bridge)

สะพานรัษฎาภิเศก หรือที่ชาวลำปางเรียกว่า "สะพานขาว" เป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดลำปาง ตั้งอยู่บนถนนรัษฎา ข้ามแม่น้ำวัง ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง สะพานนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างชุมชนสองฝั่งแม่น้ำ

google map https://maps.app.goo.gl/kHJNA5SKSdxWwr298

สะพานตั้งอยู่บนถนนรัษฎา ในเขตเทศบาลนครลำปาง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือใช้บริการรถสาธารณะภายในเมืองลำปาง

สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ที่ทางเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน

ประวัติความเป็นมา สะพานรัษฎาภิเศกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 25 ปี เดิมทีเป็นสะพานไม้ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อแขวงหัวเวียงกับแขวงเวียงเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) ได้มีการสร้างสะพานใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสีขาว มีลักษณะโค้งคันธนู 4 โค้ง สะพานนี้รอดพ้นจากการถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เนื่องจากการทาสีพรางตาและการอ้างว่าไม่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์

ลักษณะเด่น

สถาปัตยกรรม: สะพานมีโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสีขาว ประกอบด้วยโค้งคันธนู 4 โค้ง ยาวประมาณ 120 เมตร ที่หัวสะพานทั้งสองฝั่งมีเสาสูงประดับด้วยครุฑหลวงสีแดงและพวงมาลา สะท้อนถึงความงดงามและความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สัญลักษณ์: สะพานนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปาง มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ขัวสี่โก๊ง" (สะพานสี่โค้ง) และ "ขัวขาว" (สะพานขาว)

สะพานรัษฎาภิเศกตั้งอยู่ใกล้กับถนนคนเดินกาดกองต้า ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งและท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมบรรยากาศเมืองเก่าและสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างใกล้ชิด

สะพานรัษฎาภิเศกภิเษก เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปางในฐานะของ “ขัวสี่โก๊ง (สะพานสี่โค้ง)” “ขัวหลวง (สะพานใหญ่)” “ขัวขาว (สะพานขาว) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนลำปาง เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองอย่างแท้จริง

.

-----------------------

ที่มาข้อมูล

รวบรวมรูปภาพ

www.iok2u.com

-----------------------

เที่ยวลำปาง (Travel Lampang)

เที่ยวไทย (Travel Thailand)

-----------------------

 

 ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่

20201122 สะพานรัษฎาภิเศก ลำปาง

https://photos.app.goo.gl/CBnkEGD2uvAGvAet7

.

-----------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward