เที่ยวหนองคาย เมือง สถานีรถไฟ ตลาดหนองคาย
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย จุดเริ่มต้นการเดินทางไปยังดินแดนริมโขง
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในจังหวัดหนองคาย เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกและใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมือง หนึ่งในจุดเด่นของที่หยุดรถไฟแห่งนี้คือการเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง การเดินทางด้วยรถไฟที่นี่จึงมีความสะดวกสบายและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของเมืองหนองคาย
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ใกล้กับตลาดท่าเสด็จและสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งทำให้สถานีนี้เป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางที่สะดวกสบายสำหรับทั้งชาวเมืองและนักท่องเที่ยว
Google Maps https://maps.app.goo.gl/817KdK122KygN6Vs6
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย หรือ สถานีรถไฟหนองคาย (เก่า) อดีตเป็นที่หยุดรถไฟ และสถานีรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีขบวนรถไฟมายังสถานนีนี้แล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณย่านสถานีรถไฟหนองคาย (เดิม) ริมฝั่งแม่น้ำโขง ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242 (ถนนแก้วรวุฒิ)
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย อดีตเคยมีชื่อว่าสถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคายในขณะนั้น และเป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 - 2551
ประวัติที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย จากการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากสถานีรถไฟขอนแก่นขึ้นไป ถูกระงับไว้ชั่วคราว ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตย ต่อมาจึงลงมือก่อสร้างต่อจนกระทั่งเปิดเดินรถ ระหว่างขอนแก่น-อุดรธานี ระยะทาง 120 กิโลเมตร ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 จากนั้น การสร้างทางรถไฟสายนี้ ก็ถูกระงับเรื่อยมาจนในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มการก่อสร้างต่อไปถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 49 กิโลเมตร โดย รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ออกเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 80 ล้านบาท เพื่อให้สร้างเสร็จภายใน 7 เดือน ตามความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ การก่อสร้างเสร็จตามกำหนดสามารถเปิดเดินรถได้ถึง สถานีรถไฟหนองคาย (ปัจจุบันใช้ชื่อสถานีรถไฟนาทา) ระยะทาง 49 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2498 ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ขยายการก่อสร้างต่อระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านไปยังประเทศลาว จากสถานีรถไฟหนองคายเดิม (สถานีรถไฟนาทาในปัจจุบัน) ไปถึงสถานีหนองคายแห่งใหม่ (ที่หยุดรถตลาดหนองคายในปัจจุบัน)
ซึ่งในการตั้งชื่อ สถานีรถไฟสร้างใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ติดต่อกับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแล้วเห็นควรตั้งชื่อว่า "หนองคาย" ใน ก.ม.623+588.11 โดยใช้ชื่อย่อว่า "นค." อภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เนื่องจากตั้งอยู่ในตัวเมืองหนองคาย ส่วนสถานีหนองคายเดิมเห็นควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นสถานี"นาทา" ใน ก.ม. 617+840 ใช้อักษรย่อเพื่อมิให้พ้องกับแห่งอื่นว่า "ยน." ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Na Tha" เพราะเนื่องจากสถานีรถไฟอยู่ติดกับ ตำบลนาทา
.
-----------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
รวบรวมรูปภาพ
-----------------------------------------
เที่ยวหนองคาย (Travel Nong Khai)
-----------------------------------------
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่
20211211 ตลาดหนองคาย สถานีรถไฟ (เก่า) เมือง หนองคาย
https://photos.app.goo.gl/YteX9uHk6p8WCsPdA
-----------------------------------------