อุทยานธรณีโลก ประกอบด้วย 4 สิ่งสำคัญ
การจัดการของยูเนสโกในพื้นที่ มี 3 แบบ ได้แก่ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) และแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) นั้นเป็นการต่อเชื่อมโยงการพัฒนาที่มีให้เกิดความสมบูรณ์ในทุกมิติ โดย
- แหล่งมรดกโลก เน้นเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่นของโลก
- อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก เป็นการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของโลกชีววิทยาและธรณีวิทยา รวมไปถึงการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปรวมกับพื้นที่สงวนชีวมณฑลและแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก แล้วจะทำให้ภาพการดูแลรักษามรดกของโลกให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
- พื้นที่สงวนชีวมณฑล เน้นเฉพาะการบริหารจัดการแบบกลมกลืนของความหลากหลายทางชีววิทยาและวัฒนธรรมเท่านั้น
อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ทำให้เกิดความตระหนักรู้ถึงแหล่งต่างๆ ที่สำคัญและโดดเด่นระดับนานาชาติ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรณีวิทยาของโลก โดยมีชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในกรณีพื้นที่ที่ยื่นเจตจำนงเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกอยู่ในพื้นที่เดียวกับแหล่งมรดกโลกหรือพื้นที่สงวนชีวมณฑล ต้องมีเหตุผลและหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก เป็นการเสริมหรือทำให้คุณค่าของพื้นที่สงวนชีวมณฑลและแหล่งมรดกโลกบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้น
สิ่งสำคัญของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก มี 4 ประการ ประกอบด้วย
1. มรดกทางธรณีวิทยาที่มีคุณค่าระดับนานาชาติ (Geological heritage of international value) ในการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จะต้องมีมรดกทางธรณีวิทยาที่มีคุณค่าในระดับนานาชาติ ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะประเมินจากยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Evaluation Team) โดยอาศัยการเห็นชอบร่วมกันของ นักธรณีวิทยา (international peer reviewed) มีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ศึกษา ในแหล่งธรณีวิทยาบริเวณเขตอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์จะทำการประเมินโดยเปรียบเทียบกับแหล่งธรณีวิทยาอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อพิจารณาว่าแหล่งธรณีวิทยาเหล่านี้มีคุณค่าในระดับนานาชาติหรือไม่
2. การบริหารจัดการ (Management) อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จะต้องบริหารโดยองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ องค์กรดังกล่าวควรมีอ านาจหน้าที่ที่เหมาะสมในการดูแลทั้งพื้นที่อุทยานธรณีโลกของ ยูเนสโก โดยมีองค์ประกอบของผู้ปฏิบัติ และหน่วยงานในท้องถิ่นและภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ต้องมีแผนบริหารจัดการที่ได้รับการยอมรับและเห็นชอบจากทุกภาคส่วน แผนดังกล่าวจะต้องตรงกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประชาชนในท้องถิ่น มีการคุ้มครองสภาพภูมิประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่ และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมของพวกเขาเหล่านั้นด้วย แผนดังกล่าวยังต้องครอบคลุมและรวบรวมทั้งด้านการบริหาร การพัฒนา การสื่อสาร การคุ้มครองอนุรักษ์ โครงสร้างพื้นฐาน การเงิน และหุ้นส่วนของอุทยานธรณีโลก
3. การรับรู้ของประชาชน (Visibility) อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของท้องถิ่นผ่าน การท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณีโลก ของยูเนสโก ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต้องมีการรับรู้ของประชาชน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นสามารถหาข้อมูลที่เกี่ยวกับอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกได้ เช่น แสดงข้อมูลในเว็บไซต์ แผ่นพับ แผนที่ที่แสดงรายละเอียดของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกกับแหล่งธรณีวิทยา และแหล่งอื่นๆ ทั้งนี้ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกควรต้องมีการร่วมมือกันอย่างชัดเจน
4. เครือข่าย (Networking) อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ไม่ได้มีเฉพาะความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความร่วมมือกับอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแห่งอื่นๆ ผ่านเครือข่ายอุทยานธรณีโลก (GGN: Global Geoparks Network) และเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของ ยูเนสโกในภูมิภาค เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกันและทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก การทำงานร่วมกับพันธมิตรนานาชาติสามารถอาศัยเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และการเป็นสมาชิกของ GGN เป็นหน้าที่ของอุทยานธรณี โลกของยูเนสโกที่จะต้องเข้าร่วม ซึ่งจะทำงานร่วมกันอย่างไร้พรมแดน อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกจะทำงานเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกลุ่มชุมชนต่างๆ และยังช่วยให้เกิดกระบวนการสร้างความสันติสุขอีกด้วย
เงื่อนไขจำเป็นต้องมี ในการเป็นอุทยานธรณี มีเงื่อนไข 7 ประการ ดังนี้
1. มีแหล่งมรดกโลกที่มีคุณค่าระดับนานาชาติภายในพื้นที่ที่ได้รับการรับรอง
2. โปรแกรมอุทยานธรณีใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญที่พื้นที่ได้รับการรับรองต้องเผชิญ
3. มีสถานะทางกฎหมายภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของประเทศ และได้รับการจัดการและดำเนินการโดยองค์กรที่มีความสามารถที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ที่ได้รับการรับรองทั้งหมดอย่างเพียงพอ
4. ในกรณีที่พื้นที่ที่ได้รับการรับรองซ้อนทับกับโครงการอื่นๆ ของ UNESCO ก็ยังมีหลักฐานของการทำงานร่วมกันและมูลค่าเพิ่มที่เป็นเอกลักษณ์ของอุทยานธรณี
5. ผู้คนจากทุกสาขาอาชีพมีส่วนร่วมในกิจกรรมอุทยานธรณี
6. เข้าร่วมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเครือข่ายระดับโลก
7. ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายสินค้าทางธรณีวิทยา เช่น หินหรือแร่ธาตุ นอกจากนี้เรายังพยายามป้องกันกิจกรรมดังกล่าวอย่างจริงจัง
เพื่อที่จะถ่ายทอดความน่าดึงดูดใจของอุทยานธรณี แก่ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในลักษณะที่สนุกสนานและถูกต้อง จำเป็นต้องพัฒนาทั้งด้านที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยเฉพาะเราจะสร้างป้ายต้อนรับที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวรับรู้ว่าพวกเขามาถึงอุทยานธรณีแล้ว ป้ายอธิบายที่อธิบายจุดเด่นของสถานที่อย่างชัดเจน และป้ายบอกทางที่จะช่วยให้ไกด์ไปยังสถานที่ได้อย่างราบรื่น
นอกจากนี้การบำรุงรักษา จำเป็นต้องเตรียมแผ่นพับ หนังสือนำเที่ยว โปสเตอร์ ของที่ระลึกเกี่ยวกับอุทยานธรณีที่สรุปความน่าสนใจของสถานที่ และคำแนะนำที่ยอดเยี่ยม ที่ถ่ายทอดความน่าดึงดูดของสถานที่สู่นักท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่
เนื่องจากโครงการอุทยานธรณีมีความหลากหลาย จึงจะไม่ได้ผลหากมีเพียงภาครัฐ หรือองค์กรเอกชนเท่านั้นที่ส่งเสริมโครงการเหล่านั้น สิ่งสำคัญ คือ ทั้งภูมิภาคจะต้องชื่นชมยินดีกับการรับรอง อุทยานธรณีและแสดงจุดยืนอย่างแข็งขันในการใช้การรับรองตามความสามารถของตนเอง
.
-------------------------------------------------
ที่มา
- http://www.globalgeopark.org
ภาพและรวบรวมโดย
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุทยานธรณีโลกยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
-------------------------------------------------