Geoparks Thailand อุทยานธรณีโลก ความเป็นมาประเทศไทย
แนวทางการจัดตั้งอุทยานธรณีประเทศไทย ประเทศต่างๆ สามารถเสนอพื้นที่อุทยานธรณีของประเทศตนเองต่อ UNESCO เพื่อขอจัดตั้งอุทยานธรณีและเป็นสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีระดับโลกได้ โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ตามที่ UNESCO กำหนด คือ พื้นที่ที่เสนอต้องมีแหล่งธรณีวิทยา มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการและการอนุรักษ์แหล่งต่างอย่างมีบูรณาการ และมีการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน สำหรับประเทศไทยโดยกรมทรัพยากรธรณี ได้ปรับแนวทางและเกณฑ์อุทยานธรณีของ UNESCO และดำเนินการเพื่อให้เกิดการจัดตั้งอุทยานธรณี ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับประเทศ และพัฒนาไปสู่เครือข่ายอุทยานธรณีระดับโลก หรืออุทยานธรณีระดับโลก โดยได้จัดทำแนวทางการจัดตั้งอุทยานธรณี และหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อกำหนดแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยา และดำเนินงานตามกระบวนการรวบรวมข้อมูลธรณีวิทยาประเมิน เพื่อกำหนดแหล่งธรณีวิทยา ประสานงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยา และจัดตั้งอุทยานธรณีประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา
คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ ได้มีมติเห็นชอบกับการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี เพื่อปฏิบัติหน้าที่การเสนอร่างนโยบาย แผนแม่บท มาตรการ และแนวทางการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณีโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และรายงานผลการกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณีของประเทศ ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี
ตราสัญลักษณ์อุทยานธรณีประเทศไทย
.
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.geopark-thailand.org
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุทยานธรณีโลกยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
-------------------------------------------------