iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

enzh-CNhijakoruthkmlo
  • 0
  • 1
  • 2
แหล่งมรดกโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนาม 1999 เมืองโบราณฮอยอัน (Hoi An Ancient Town)

 

 

 


เมืองโบราณฮอยอัน (Hoi An Ancient Town) หรือ เมืองโห่ยอาน เป็นเมืองขนาดเล็กริมฝั่งทะเลจีนใต้ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกว๋างนาม มีประชากรอาศัยอยู่ราว 80,000 คน ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารทรงซิโนโปรตุกีส กับการทาสีเหลืองทุกอาคารในเมืองเก่าฮอยอัน เป็นหนึ่งเอกลักษณ์ที่สำคัญของเมือง

เมืองโบราณฮอยอัน (Hoi An Ancient Town) เป็นตัวอย่างที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดีของเมืองท่าการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 19 อาคารและผังถนนสะท้อนถึงอิทธิพลทั้งจากชนพื้นเมืองและจากต่างชาติที่ผสมผสานกันเพื่อสร้างแหล่งมรดกอันเป็นเอกลักษณ์แห่งนี้

เมืองโบราณฮอยอัน (Hoi An Ancient Town) ในสมัยของอาณาจักรจามปา บริเวณนี้เคยเป็นเมืองท่าบนปากแม่น้ำทูโบน ซึ่งมีชื่อว่า ไฮโฟ โดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีชาวต่างชาติมาตั้งถิ่นฐานและค้าขายในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ และอินเดีย เดิมทีเมืองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองสายหนึ่งคั่นอยู่กลางเมือง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นที่อีกฝั่งหนึ่งของคลอง ปัจจุบันฮอยอันยังคงเป็นเมืองขนาดเล็กเช่นเดิม หากแต่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเป็นจำนวนมาก ผู้มาเยือนมักมาเยี่ยมชมร้านค้าขายผลงานทางศิลปะและหัตถกรรม

สะพานญี่ปุ่น เมืองโบราณฮอยอัน หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ สะพานวัด (Pagoda Bridge) เป็นสะพานทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นกับฝั่งหนึ่งของคลองจากชุมชนจีน สะพานดังกล่าวสร้างโดยชาวญี่ปุ่น มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีหลังคาเหนือสะพาน นอกจากนี้ ยังมีวัดญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้านขวามือของตัวสะพาน ทำให้สะพานดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าสะพานวัด 

บรรยากาศส่วนใหญ่ภายในเมืองฮอยอัน มีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ถนนแคบมีบ้านไม้ทรงเตี้ยเรียงเป็นแถวสองฝั่งทาง ด้านในบ้านมักประดับคำสั่งสอนและบทกลอนจีน ทั้งนี้เนื่องจากสมัยก่อนมีพ่อค้าชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้งและฟู๋เจี้ยน อพยพมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2542 ฮอยอัน ได้ถูกขึ้นทะเบียนจากองค์กรด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (หรือองค์กรยูเนสโก) องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอันให้เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลว่าเป็นตัวอย่างของเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ที่มีการผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรม ทั้งของท้องถิ่นและของต่างชาติไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ และอาคารต่างๆภายในเมืองได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี แม้จะผ่านอุทกภัยและสงครามต่าง ๆ ในช่วงกว่า 400 ปีที่ผ่านมา

ทุกวันนี้ ฮอยอันยังคงเป็นเมืองขนาดเล็กเช่นเดิม แต่ก็มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเป็นจำนวนมาก ผู้มาเยือนมักมาเยี่ยมชมร้านค้าขายผลงานทางศิลปะและหัตถกรรม ริมฝั่งแม่น้ำมีอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารเปิดเรียงรายอยู่มากมายซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าใช้บริการ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่มีอยู่มากมาย

มรดกโลก

เมืองฮอยอันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 23 เมื่อปี พ.ศ. 2542 (1999) ที่ เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี

- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

 

ที่มา

ข้อมูล https://whc.unesco.org

ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com

-----------------------------------------

รวมข้อมูลแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site)

-----------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward