ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี ระบบการจัดการน้ำชลประทานซูบัก (Subak) ในฐานะการแสดงออกของปรัชญาไตรหิตกรณะ (Tri Hita Karana) ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของบาหลี ประกอบด้วยนาขั้นบันได 5 แห่งและวัดกลางน้ำที่ครอบคลุมพื้นที่ 19,500 เฮกตาร์ วัดเป็นจุดสำคัญของระบบการจัดการน้ำแบบร่วมมือของคลองและฝายที่เรียกว่า ซูบัก ซึ่งมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 สิ่งที่รวมอยู่ในภูมิทัศน์นี้ คือ Royal Water Temple of Pura Taman Ayun ในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดและน่าประทับใจที่สุดบนเกาะ
ระบบการจัดการน้ำชลประทานซูบัก (Subak) สะท้อนแนวคิดทางปรัชญาไตรหิตกรณะซึ่งรวบรวมอาณาจักรแห่งจิตวิญญาณ โลกมนุษย์ และธรรมชาติเข้าด้วยกัน ปรัชญานี้เกิดจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างบาหลีและอินเดียในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา และได้หล่อหลอมภูมิทัศน์ของบาหลี ระบบ subak ของการทำนาแบบประชาธิปไตยและความเท่าเทียม ทำให้ชาวบาหลีกลายเป็นผู้ปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในหมู่เกาะ แม้จะมีความท้าทายในการรองรับประชากรที่หนาแน่นก็ตาม
ระบบการจัดการน้ำชลประทานซูบัก (Subak) คือ ชื่อของระบบการจัดการน้ำสำหรับนาข้าวบน เกาะบาหลี จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการคิดค้นเป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 สำหรับชาวบาหลี ระบบชลประทานบนเกาะนั้นไม่ง่ายที่จะจัดหาน้ำสำหรับพืชพรรณต่าง ๆ แต่น้ำถูกใช้ในการสร้างระบบนิเวศเทียม นาข้าวในบาหลีถูกสร้างรอบ ๆ วัด และการจัดสรรน้ำถูกสร้างโดยนักบวช ซูบักคือระบบชลประทานที่ยั่งยืนตามธรรมชาติซึ่งผูกสังคมเกษตรกรรมบาหลีเข้าด้วยกันภายในศูนย์ชุมชนของหมู่บ้านและวัดบาหลี ครอบคลุม 19,500 เฮกตาร์ การจัดการน้ำอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของนักบวชในวัดต่าง ๆ ซึ่งมีการฝึกฝนปรัชญาไตรหิตกรณะหรือความสัมพันธ์ของดินแดนระหว่างวิญญาณ โลกมนุษย์ และพระเจ้า ไตรหิตกรณะเกี่ยวข้องกับวิธีการโบราณตามอย่างในอินเดียโดยฤๅษีในศาสนาฮินดู
มรดกโลก
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 36 เมื่อ พ.ศ. 2555 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียน "ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ" ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
(ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
ที่มาข้อมูล
- https://th.wikipedia.org/wiki
- https://whc.unesco.org / https://whc.unesco.org/en/list/642
ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
-----------------------------------------
รวมข้อมูลแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site)
-----------------------------------------