iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
แหล่งมรดกโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลาว 2019/2563 ทุ่งไหหิน เชียงขวาง (Megalithic Jar Sites in Xiengkhuang–Plain of Jars)
 

ทุ่งไหหิน เชียงขวาง (Megalithic Jar Sites in Xiengkhuang–Plain of Jars) คือ ภูมิประเทศทางโบราณคดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของหินใหญ่ (megalith) ที่กระจัดกระจายไปทั่วที่ราบสูงเชียงขวาง แขวงเชียงขวาง ทางเหนือของประเทศลาว ประกอบด้วยหินใหญ่รูปทรงไหนับพัน ปรากฏเป็นกลุ่ม ๆ ตลอดแนวเขาและอยู่ล้อมรอบหุบเขาสูง

ที่ราบสูงเชียงขวาง ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของเทือกเขาอันนัมอันเป็นเทือกเขาหลักในอินโดจีน โดยมีการค้นพบทุ่งไหหินเบื้องต้นในช่วง ค.ศ. 1930 ซึ่งกล่าวถึงไหหินที่สัมพันธ์กับพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากนั้นได้มีการขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวลาวและชาวญี่ปุ่น และมีการค้นพบวัตถุเกี่ยวกับงานศพและเครื่องเคลือบรอบ ๆ ไหหิน วัตถุเหล่านั้นถูกกำหนดให้อยู่ในช่วงสมัยยุคเหล็ก (Iron Age) และกลายเป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการศึกษายุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งโบราณคดีทุ่งไหหินบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้นและโครงสร้างหินใหญ่ ที่อยู่ในชุมชนยุคเหล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลลาวกำลังผลักดันให้องค์การยูเนสโก จดทะเบียนทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวางเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งเคียงคู่กับเมืองหลวงพระบาง แขวงเชียงขวางเป็นพื้นที่ทางโบราณคดีสำคัญของลาว เพราะมีพื้นที่ราบหลายแห่งเต็มไปด้วยไหหินอายุระหว่าง 2,500–3,000 ปี จำนวนหลายพันชิ้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่โต

ตำนานและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องราวและตำนานของลาวได้เล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งมีการต่อสู้ของยักษ์ซึ่งอาศัยในดินแดนแห่งนี้ ในตำนานท้องถิ่นบอกเล่าถึงกษัตริย์โบราณนามว่า "ขุนเจือง" ซึ่งเข้าปราบปรามยักษ์และต่อสู้กันอย่างยาวนาน ในที่สุดก็สามารถพิชิตศัตรูของเขาได้

กษัตริย์สั่งให้สร้างไหเพื่อชงเหล้าลาวและเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ ไหถูกหล่อแบบขึ้นมาโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว ทราย น้ำตาล และซากพืชซากสัตว์ในรูปแบบหินผสม เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าถ้ำที่ 1 ในบริเวณทุ่งไหหินคือเตาเผา และไหหินยักษ์ถูกเผาที่นี่ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะไม่ได้ทำมาจากหิน ข้ออธิบายอื่น ๆ กล่าวไว้ว่าไหสร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำฝนในฤดูมรสุม โดยใช้สำหรับกองคาราวานซึ่งอาจไม่สามารถหาน้ำได้ระหว่างการเดินทาง

มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ ทุ่งไหหิน ไว้หลายแนวทาง ได้แก่

- ตัดมาจากหินก้อนใหญ่ไว้เพื่อบรรจุคนตายในสมัยโบราณเมื่อพันปีมาแล้ว (ก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก 3,000–4,000 ปี) ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้นที่ว่า สถานที่ฝังศพคนตายต้องรักษาไว้ในที่สูง เพื่อหลีกเว้นการเซาะพังทลายจากน้ำต่าง ๆ ดังนั้นจึงเห็นไหหินอยู่ในสถานที่เป็นเนินสูง

- เป็นตำนานไหเหล้าของนักรบโบราณ คือตามตำนานกล่าวไว้ว่าระหว่างศตวรรษที่ 8 นักรบผู้กล้าหาญของลาวผู้หนึ่ง ชื่อว่าท้าวขุนเจืองได้ยกกำลังพลไปทำสงครามแล้วก็ได้ชัยชนะอยู่ที่เชียงขวาง หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว ก็ได้ทำการฉลองชัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 7 เดือน ไหที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไหเหล้าสำหรับเลี้ยงไพร่พลในการฉลองชัยชนะของท้าวขุนเจือง ในคราวนั้น ดังนั้นคนลาวทั่วไปมักเรียกว่า “ไหเหล้าเจือง”

- เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นเดียวกับสโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ ที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นหินตั้งกลางแจ้งแบบ ทุ่งไหหิน ในเขตเชียงขวางมีหลายจุด 

แหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรมหินตั้งที่มีลักษณะแบบทุ่งไหหินมีอยู่ทั่วโลก แต่ทุ่งไหหินที่ประเทศลาวมีจำนวนมากและแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่หนึ่ง ทุ่งไหหินเมืองโพนสวรรค์ เป็นทุ่งไหหินที่ใหญ่และมีมากที่สุด อยู่ห่างจาก เมืองโพนสวรรค์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 7.5 กิโลเมตร ไปทางเมืองคูน เมืองหลวงเก่า มีจำนวนไหประมาณ 200 ไห และมีขนาดใหญ่กว่าในกลุ่มอื่น ๆ ถัดมาทางด้านซ้ายมือของทุ่งไหหินจะพบถ้ำแห่งหนึ่งมีแสงแดดสาดส่องลงมา ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นปล่องมีความสูงประมาณ 60 เมตร ลักษณะภายในถ้ำไม่ลึกมากนัก สามารถบรรจุคนได้ 50 - 60 คน ถ้ำแห่งนี้เคยใช้เป็นที่หลบภัยสงครามของชาวเมืองเชียงขวางยามเมื่อเครื่องบินมาทิ้งระเบิด พร้อมกับใช้เป็นคลังเก็บอาวุธและเชื้อเพลิงเมื่อสงครามอินโดจีนที่ผ่านมา บริเวณโดยรอบทุ่งไหหินบนจุดชมวิวจะพบร่องรอยการขุดสนามเพลาะเป็นแนวยาวเพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศ และหลุมระเบิดขนาดใหญ่หลายหลุม ตลอดจนร่องรอยที่ไหหินแตกกระจายอันเป็นผลมาจากฝูงเครื่องบิน บี 52 ของอเมริกา

กลุ่มที่สอง อยู่ห่างจากเมืองไปทางใต้ 25 กิโลเมตร มีไหหินที่นี่เพียง 90 ไห ไหหิน

กลุ่มที่สาม อยู่ห่างจากกลุ่มที่สองไปทางใต้ 10 กิโลเมตร (35 กิโลเมตร จากโพนสวรรค์) กลุ่มนี้มีหินทั้งสิ้น 150 ไห

 
 

ที่มาข้อมูล

- https://th.wikipedia.org/wiki

https://whc.unesco.org / https://whc.unesco.org/en/list/1587

ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com

-----------------------------------------

รวมข้อมูลแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site)

-----------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward