iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

เที่ยวเกาหลีใต้ โซล คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Stream)

 

 

คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon) หรือ คลองชองเกชอน หรือ ชองเคยอน เป็นลำธารที่ไหลผ่านใจกลางกรุงโซล (Seoul) ซึ่งเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ทันสมัย และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เมื่อมาเยือนยังกรุงโซลซึ่งเป็นเมืองในพื้นที่ ของจังหวัดคยองกี (คยองกีโด, Gyeonggi-do) ในประเทศเกาหลีใต้

ลำธารแห่งนี้มีความยาว 8.4 กิโลเมตร หรือ 5.2 ไมล์ มีจุดเริ่มต้นจากชองกเยพลาซ่า (Cheonggye Plaza) และไหลผ่านในใจกลางกรุงโซล จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก และไปบรรจบกับลำธารชุงนังชอน (Jungnangcheon) ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำฮัน (Hangang River) และไหลลงสู่ทะเลเหลืองในลำดับต่อไป

คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon)  เป็นคลองที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่ยุคของราชวงศ์โชชอน มีอายุมากกว่า 600 ปี มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร ไหลผ่านกลางกรุงโซลเดิมทีนั้นน้ำในคลองจะมีน้ำเสียและขยะถูกทิ้งลงคลองจากบ้านเรือนและชุมชนที่มาอาศัยอยู่ริมคลอง และยังมีสะพานยกระดับพาดผ่านอยู่ด้านบนอีกด้วย ต่อมาคลองชองกเยชอน ได้ถูกปรับปรุงสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูเมือง โดยเป็นการบูรณะลำธารที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่ในสมัยราชวงศ์โชซอน (1392-1910) คลองนี้เคยถูกปกคลุมไปด้วยทางหลวงยกระดับ หลังสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493-2496) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหลังสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการรื้อทางหลวงยกระดับออก เพื่อฟื้นฟูลำธารให้คงสภาพอยู่ในปัจจุบัน ลำธารเริ่มต้นจาก Cheonggye Plaza ซึ่งเป็นสถานที่แสดงศิลปะวัฒนธรรมยอดนิยม และไหลผ่านใต้สะพานทั้งหมด 22 แห่ง ก่อนจะไหลลงสู่ แม่น้ำ Hangang ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายตลอดทาง 

ประวัติศาสตร์ของ คลองชองกเยชอน จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Museum) ซึ่งเปิดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 พิพิธภัณฑ์เปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมากมายที่ลำธารได้พบเห็น รวมถึงการถูกฝังใต้ดินและได้รับการบูรณะ เรื่องราวได้รับการบอกเล่าโดยใช้แบบจำลองขนาดและภาพถ่ายในยุคสมัย 

ลำธารแห่งนี้เป็นลำธารธรรมชาติที่มีชื่อดั้งเดิม คือ ลำธารแคชอน (Gaecheon) ซึ่งเป็นระบบระบายน้ำที่สำคัญของเมือง โดยเริ่มต้นจากรัชสมัยของ กษัตริย์แทจง (Taejong of Joseon ค.ศ. 1367 – ค.ศ. 1422) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์โชซอน ได้ดำเนินการเกี่ยวกับลำธาร ด้วยการขุดลอกและการสร้างสะพาน ในทุกๆ 2-3 ปี ในระหว่างภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ลำธารถูกเปลี่ยนชื่อเป็น  คลองชองกเยชอน และใช้ชื่อนี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน หลังสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 – ค.ศ. 1953) ผู้คนจำนวนมากอพยพเข้ามาในกรุงโซลเพื่อทำมาหากิน และตั้งหลักแหล่งในหลายเขตพื้นที่ของเมือง รวมไปถึงตลอดแนวลำธารของ คลองชองกเยชอน ซึ่งมีการสร้างที่อยู่อาศัยของผู้อพยพ ด้วยการสร้างบ้านพักชั่วคราวที่ทำจากไม้ ซึ่งเรียกว่า พันจัสจิบ (Panjasjib) ซึ่งหมายถึง กระท่อม (Shack) และส่งผลให้ลำธารแห่งนี้ อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมในเวลาต่อมา

- พิพิธภัณฑ์คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Museum) 

- ศูนย์ประสบการณ์กระท่อมชองกเยชอน สามารถเข้าชม พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ที่จำลองอาคารบ้านเรือนในอดีต ที่เคยอยู่ริมสองฝั่งของลำธาร ได้ที่ศูนย์ประสบการณ์กระท่อมชองกเยชอน (Cheonggyecheon Shack Experience Center) ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนจาก พิพิธภัณฑ์คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Museum) 

ภายหลังคลองแห่งนี้ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปี 2003 ภายใต้โครงการพัฒนาและบูรณะคลองชองกเยชอนให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม โดยมีการรื้อทางยกระดับออก และเวนคืนที่ดินแหล่งชุมชนที่อยู่ติดกับคลองแห่งนี้ จนทำให้กลายเป็นคลองที่มีภูมิทัศน์รอบๆที่ร่มรื่นและสวยงาม น้ำที่เคยเน่าเสียก็กลับมาใสสะอาด กลายเป็นแหล่งเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางเมืองที่วุ่นวาย

เหนือคลองจะมีสะพานทั้งหมด 20 สะพานที่ออกแบบมาด้วยคอนเซ็บที่แตกต่างกัน เช่น สะพานนาแร (Narae Bridge) ที่เป็นตัวแทนของผีเสื้อที่โบยบิน กับสะพานกวางเกียว (Gwanggyo Bridge) สัญลักษณ์แห่งความลงตัวของอดีตและอนาคต บริเวณกำแพงทั้งสองข้างริมคลองประดับด้วย หินอ่อน และประติมากรรมที่สวยงาม นอกจากนี้บริเวณสองข้างทางริมคลอง ยังเต็มไปด้วยร้านคาเฟ่และร้านกาแฟบรรยากาศดีๆ ให้ไว้นั่งพักผ่อนอีกด้วย และในช่วงเวลากลางคืนนั้นจะมีการเปิดไฟประดับตามทางเดินอย่างสวยงาม สามารถเดินเล่นเรียบคลองแห่งนี้ได้อย่างเพลิดเพลิน

 

 

คลองชองกเยชอน ไหลผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่งในโซล เช่น พระราชวังด๊อกซูกุง (Deoksugung Palace) โซลพลาซ่า (Seoul Plaza) ศูนย์เซจอง (Sejong Center) ถนนอินซาดง (Insa-dong Street) พระราชวังชางด๊อกกุง (Changdeokgung Palace) และพระราชวังชางยองกุง (Changgyeonggung Palace)

 

 

 ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่
 

20240419 คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Stream) โซล

https://photos.app.goo.gl/ai4sGjtm6RDRpXFW6

 

20231119 พิพิธภัณฑ์ คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Museum) โซล

 
 
 

 .

ที่มาข้อมูล

ที่มารูป www.iok2u.com

---------------------------------------------

ดูเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่

เที่ยวเกาหลีใต้ (South Korea)

เที่ยวรอบโลก (World Travel)

---------------------------------------------

เที่ยวเกาหลีใต้ โซล พิพิธภัณฑ์คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Museum)

 

 

 

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward