iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

เที่ยวตุรกี เอเฟซุส เมืองเอเฟซุส (Travel Turkey Ephesus Efes) 

 

สนใจดูอัลปั้มภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่

https://www.facebook.com/udomtanateera.k/media_set?set=a.2901262669908171&type=3 

เมืองเอเฟซุส (Ephesus) หรือเอเฟส (Efes) : เมืองโบราณของโรมัน
• นครเอเฟซุส ก่อเกิดแต่ก่อนยุคคริสตกาล เติบโตในยุคของกรีกรุ่งเรืองในยุคโรมันสมัยจักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) ผู้มีชัยเหนือมาร์กุส อันโตนิอุส (Marcus Antonius) หรือที่รู้จักกันในนามมาร์ก แอนโทนี (Marc Antony) ชู้รักของพระนางคลีโอพัตรา (Clopatra) และได้สถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของเขตการปกครองในเอเซีย เอเฟซุสยิ่งใหญ่และงดงามจนกระทั่งจารในจารึกว่า “มหานครแห่งแรกและยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเซีย”
• ชื่อเมืองเอเฟซุสไม่ปรากฎที่มาแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามาจากคำ “Apapas” ซึ่งเป็นชื่อเมืองหนึ่งในอนาโตเลียตอนกลางที่ฮินไตต์สร้าง การสร้างเมืองเอเฟซุสไม่มีที่มาระบุแน่ชัด มีตำนานเล่าขานมาว่า นักรบหญิงเผ่าอะเมซอนสร้างเมืองในช่วงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล และอีกตำนานกล่าวว่า ชายหนุ่มชื่อว่า อันโดรคลุส (Androclus) ลูกชายของโคดรุส (Codrus) แห่งเอเธนส์เป็นผู้สร้างเมือง โดยต้องการอพยพมายังดินแดนอนาโตเลีย จึงนำความไปปรึกษาคนทรงเทพเจ้าอะพอลโล ซึ่งทำนายว่า หมูป่าและปลาจะบอกสถานที่นั้นให้แก่อันโดรคลุส จึงพาทหารของเขาออกเดินทาง ขณะจุดไฟย่างปลาก็มีหมูป่าตัวหนึ่งโผล่จากพุ่มไม้ เมื่อเห็นดังนั้น ก็นึกถึงคำทำนาย และควบม้าตามไป แล้วสังหารหมูป่านั้นเสีย สถานที่นั้นได้กลายเป็นเมืองเอเฟซุส ซึ่งตำนานนี้มีสลักไว้ที่วิหารฮาเดรียน (Harian Tapinagi หรือ Temple of Hadrian)
• เอเฟซุสเป็นที่อยู่ของชาวไอออนเนียนในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล ก่อนคริสตกาล จากนั้นจึงตกเป็นของลิเดียน เปอร์เซีย และท้ายสุด กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าครอบครอง เมื่อพระองคิ์สิ้นพระชนม์ ไลซิมาคุส ผู้เป็นทหารของพระองค์ได้ครองเมือง และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น Arsinoe ตามชื่อภรรยา
• ในยุคโรมัน ยอดนักพูด ชิโซโร (Cicero) ได้เดินทางมาที่เมืองนี้ เมื่อจูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร สองฆาตกรคือบรูตุสและคัซซีอุส หลบหนีมาที่เอเฟซุส จากนั้นมาร์ก แอนโทมานีที่เมืองนี้พร้อมกับคลีโอพัตรา และเชื่อว่าเทพไอซิส (เป็นเทพธิดาแห่งการรักษาความบริสุทธิ์ ความเป็นแม่ และสตรี) และเซราพิส (เทพเจ้าของกรีกและอียิปต์ เป็นภาครวมของโอซิริสและซีอุส) เข้ามาในเอเฟซุสในครั้งนั้น
• 100 ปีให้หลังเอเฟซุสกลายเป็นนครหลวงแห่งโรมันในฝั่งเอเซีย เป็นศูนย์กลางทางการค้าและธนาคาของเอเซีย ต่อมาในปี ค.ศ. 358, 365 และ 368 เกิดแผ่นดินไหวในเอเฟซุส ซ้ำร้ายพวกอาหรับที่ผ่านทางเข้ามาเพื่อโจมตีอิสตันบูล แล้วได้ทำลายเมืองเอเฟสไปด้วย ในปี ค.ศ. 716-717 มีการสร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องกันพวกอาหรับ ประชากรเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ เมือ่เกิดไข้มาลาเรียระบาด คนจึงอพยพไปอยู่ที่ภูเขาอยาโซลุก จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 11 เอเฟสตกเป็นของเซลจุก และปี ค.ศ. 1390 กลายเป็นส่วนหนึ่งของออตโตมัน
• เมืองเอเฟซุส เป็นเมืองโบราณที่มีการบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดีที่สุดเมืองหนึ่ง ในอดีตเป็นเมืองที่รุ่งเรืองและมั่งคั่งที่สุดในเเถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และรุ่งเรืองถึงขีดสุดอีกครั้งภายใต้การปกครองของโรมันสิ่งก่อสร้างที่คงเหลือให้ได้ชมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีอายุนับแต่สมัยจักรพรรดิออกุสตุส ราวศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา และล้วนเป็นศิลปะแบบเฮเลนนิสติก ที่มีความอ่อนหวาน และฝีมือประณีต ภายในอาณาเขตอันกว้างใหญ่ที่สำคัญ อาทิ โรงอาบน้ำ และโรงละครโบราณที่สามารถจุผู้ชมได้ถึง 25,000 คน หอสมุดเซลซุสที่เหลือเฉพาะด้านหน้า จุดบูชาเทพเจ้าและอีกมากมาย ฯลฯ
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
• ห้องสมุดเซลซุส : (The Library of Celsus)
• ความเป็นมาของห้องสมุดเซลซุส เมืองเอเฟซุสมีตำนานกล่าวไว้ว่า ช่วงที่เซลซุสดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงปกครองมณฑล ลูกชายของเขาต้องการที่จะสร้างอนุสาวรีย์ให้กับผู้เป็นพ่อ แต่ว่าสุดท้ายเปลี่ยนใจหันมาสร้างห้องสมุดให้แทน และเป็นห้องสมุดในสุดยอดงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อในคริสต์ศตวรรษนั้น ที่โดดเด่นไปด้วยศิลปะแบบ “เฮลเลนนิสติก” อันเป็นยุคทองของงานศิลปะวิทยากรของกรีก
• ต่อมาห้องสมุดเซลซุสได้ถูกชาวกอธ (Goth) เผาทำลายในปี ค.ศ. 262 ทำให้บรรดาเอกสารและโครงสร้างอาคารที่เป็นไม้ทั้งหมดของห้องสมุดเซลซุสถูกทำลายหมดสิ้น แต่ว่าส่วนของอาคารด้านหน้าที่สร้างจากหินอ่อนไม่ได้ถูกทำลายไปด้วย ยังคงยืนหยัดเป็นมรดกแห่งความตกทอดสืบมาอีกหลายร้อยปี
• จนกระทั่งในศตวรรษที่ 10 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเอเฟซุส ทำให้อาคารห้องสมุดด้านหน้าพังลงมา แต่ว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของซากอาคารที่หักพังลงมายังคงอยู่เป็นส่วนใหญ่ และได้มีการบูรณะห้องสมุดเซลซุสขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1970
• ห้องสมุดแห่งนี้มีทางเข้า 3 ทาง โดยบริเวณประตูทางเข้ามีรูปแกะสลักเทพี 4 องค์ประดับอยู่ ได้แก่ เทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งคุณธรรม เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และเทพีแห่งความรู้ รูปแกะสลักเทพีทั้ง 4 องค์นี้เป็นของจำลอง ส่วนของจริงนักโบราณคดีชาวออสเตรียได้นำกลับไปออสเตรีย และตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเวียนนา
• โรงละครเอเฟซุส จุคนได้ 30,000 คน เป็นโรงละครกลางแจ้งที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโรงละครโบราณในตุรกี มีลานแสดงตรงกลางแวดล้อมด้วยที่นั่งชมไล่ระดับขึ้นไป ปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้ดีอยู่และมีการจัดการแสดงแสงสีเสียงบ้างเป็นครั้งคราว

---------------------------------------------

ดูเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่

ประเทศตุรกี (Turkey) เมืองหลวงอัดคารา (Ankara)

เที่ยวตุรกี (Travel Turkey) 

---------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward