BA Theory แนวคิดและทฤษฎี Michael E. Porter Competitive Strategy การวิเคราะห์แรงบังคับ 5 ด้าน (Five Force Analysis)
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่ดูที่ Michael E. Porter คือใคร
ศาสตราจารย์ ไมเคิล ยูจีน พอร์เตอร์ (Michael Eugene Porter, Michael E. Porter, Porter, M.E.) เป็นนักคิดนักบริหารและนักเศรษฐศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงในส่วนของการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยเป็นผู้พัฒนาทฤษฎีในเรื่องกลยุทธ์การแข่งขันและการบริหารจัดการ เขาได้เสนอแนวคิดการประยุกต์หลักทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายเรื่อง สามารถใช้ในการนำไปช่วยในการวิเคราะห์การวางแผนและใช้กำหนดกลยุทธ์ของการดำเนินกิจการทางธุรกิจ (สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่ดูที่ Michael E. Porter คือใคร) Porter ได้มีการเขียนหนังสือด้านการบริหารและจัดการหลายเล่ม และมีหลายเล่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก สรุปหนังสือที่กล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีที่โด่งดังที่สำคัญอีกเรื่อง คือ
เทคนิคการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและคู่แข่ง (Competitive Strategy, Techniques for Analyzing Industries and Competitors, Michael E. Porter 1980) จากหนังสือ Competitive Strategy ที่ได้มีการจัดพิมพ์ในปี 1980 ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากเล่มหนึ่งของ ไมเคิล โดยถูกนำมาตีพิมพ์มากกว่า 80 ครั้ง และยังนำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 19 ภาษา เรื่องเด่นในเล่มนี้ได้นำเสนอ กลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) และ การวิเคราะห์แรงบังคับ 5 ด้าน (Five Force Analysis)
การวิเคราะห์แรงบังคับ 5 ด้าน (Five Force Analysis) กล่าวถึงการกำหนดกลยุทธ์การแข่งขัน โดยใช้ แบบจำลองแรงบังคับ 5 ด้าน (Five Force Model) เพื่อใช้บอกถึงสภาพการกดดันอุปสรรคของการแข่งขันในอุตสาหกรรม มีการกล่าววิเคราะห์แรงต้านที่มีในแต่ละด้านและแนะนำการหาวิธีที่จะทำให้แรงต้านที่มีให้ลดอ่อนแรงลง ยิ่งทำได้มากเท่าไร โอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจก็จะมากตามไปด้วย แรงต้าน 5 ด้าน ได้แก่
(1) การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีอยู่เดิมในอุตสาหกรรม (Intensity of Rivalry among Existing Competitor) โดยต้องพิจารณาถึงจำนวนคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมสัดส่วนตลาดของคู่แข่งแต่ละราย วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการเข้าทำตลาดในผลิตภัณฑ์นั้น
(2) การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (Barriers to Entry) เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจลงลด การที่ผู้ประกอบการเลือกทำธุรกิจที่มีแนวคูกำแพงล้อมรอบจะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ยาก
(3) การคุกคามของสินค้าหรือบริการทดแทน (Pressure from Substitute) องค์กรอาจประสบปัญหาการคุกคามของสินค้าหรือบริการทดแทนจากอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งการทดแทนอาจเป็นเพียงชั่วคราวหรืออาจเป็นการทดแทนโดยสมบูรณ์
(4) อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Buyers) ผู้ประกอบการต้องสร้างคุณค่าในตัวสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากกิจการต้องพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย จะเป็นความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถต่อรองราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการลดลง
(5) อำนาจต่อรองของผู้ขาย (Bargaining Power of Suppliers) อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้ขายวัตถุดิบ เป้าหมายการวางกลยุทธ์ในส่วนนี้ คือ การหาตำแหน่งของตนในอุตสาหกรรมที่มี เพื่อรู้ปัญหาและสามารถที่จะทำการป้องกันตนเองจากแรงต้านที่จะมีทั้งหมดได้ และหากใช้ความสามารถของตนเองในการจัดการเปลี่ยนแรงต้านที่มีนี้ให้กับมาเป็นประโยชน์เกิดกับตัวเองได้ก็จะดียิ่งขึ้น
ดูวิธีการลงแรงกระทบได้ที่
- เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์แรงกระทบที่มีผลต่อการตลาด (Five Force Model)
ความเข้มแข็งของแรงต้านที่มีทั้งหมดจะเป็นตัวกำหนดศักยภาพในการทำกำไรในอุตสาหกรรม ถ้าแรงต้านอ่อนแรงลงโอกาสในการประสบความสำเร็จก็จะมากตามไปด้วย เป้าหมายการวางกลยุทธ์ คือ การหาตำแหน่งในอุตสาหกรรมที่สามารถป้องกันตนเองได้ ผู้ประกอบการต้องพยายามผ่านแรงต้านที่มีทั้งหมดให้ได้ หากทำได้ก็จะทำให้สามารถต่อสู้และทำกำไรในอุตสาหกรรมนั้นได้ การแยกกลุ่มวิเคราะห์ในแต่ละด้านและหาวิธีที่จะทำให้แรงต้านที่มีให้ลดอ่อนแรงลงให้มากที่สุด เพราะยิ่งลดแรงต้านได้มากเท่าไรโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจก็จะมากตามไปด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
BA รวมเรื่องราวการจัดการธุรกิจ (Business Management)
-------------------------------------------------