iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT52 แนวทางการลดต้นทุนการก่อสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อม “Recycle Construction & Demolition Waste”

ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

เมื่อเปรียบเทียบกับระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตประเภทต่าง ๆ ระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างสิ้นเปลืองมากเป็นอันดับต้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น การทำเหมือง หิน ดิน ทราย และแร่ ต่าง ๆ เป็นต้น ผลผลิตที่ได้จากวัตถุดิบดังกล่าวได้ถูกนำมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างได้แก่ คอนกรีต เซรามิก เหล็ก ท่อ (คอนกรีต หรือ Poly Ethylene) เพื่อนำมาก่อสร้างโครงสร้างและสาธารณูประโภคต่าง เช่น อาคาร บ้านเรือน ถนน เป็นต้น ที่มีความแข็งแรง คงทน และอายุการใช้นานร่วม 100 ปี

อย่างไรก็ตามจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากร และวิถีการใช้ชีวิตของประชากรที่เปลี่ยนไปทำให้โครงสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร บ้านเรือน ถนน โครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง สร้างใหม่ จากที่จะเห็นได้จาก ขนาดตึกที่สูงขึ้นในใจกลางเมืองหรือเขตธุรกิจ ถนนที่ใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น เพื่อรองการการคมนาคมขนส่ง ดังนั้นการสร้างอาคารโครงสร้าง ถนน และสาธารณูปโภคใหม่จำเป็นจะต้องทำลายโครงสร้างเก่าทิ้ง และนำไปทิ้ง ซึ่งโครงสร้างเก่าเหล่านี้ ถูกเรียกว่า Construction & Demolition Waste หรือ เรียกว่า C&D Waste ซึ่ง C&D Waste  ได้ถูกทิ้งตาม ถนน ทางเท้า ที่รกร้าง และแหล่งน้ำต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาการสะสมของขยะมูลฝอยซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 และจากการศึกษาพบว่า สัดส่วนของ Concrete, Brick และ Metal Scrap  อยู่ถึง 32, 26 และ 24 % ตามลำดับ ดังแสดงในแผนภาพที่ 2

แผนภาพที่ 1 C&D Waste

แผนภาพที่ 2 สัดส่วนเฉลี่ยของ C&D Waste ที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้าง

Ref: P.Vanichkobchinda (2001)

จากแผนภาพที่ 3 แสดงให้เห็นว่า C&D waste โดยเฉพาะ Concrete, Brick, Metal Scrap , และ Plaster Board นั้นสามารถนำมากลับมาใช้ใหม่โดยที่ Concrete & Brick สามารถนำมาบดอัดให้ได้ตามอัตราส่วน และนำกลับไปเป็นส่วนผสมในงาน Concrete ที่ไม่เน้นกำลังการรับแรงอัดสูง เช่น ทางเท้า, Topping หรือ Block ต่าง ๆ หรือ เหล็กสามารถหลอมและนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ Plaster Broad สามารถนำกลับไปแปรรูปเป็นไม้เพื่อการตกแต่ง หรือ อุตสาหกรรม อื่น ๆ ได้

แผนภาพที่ 3 Reuse – Recycle of C&D waste

การศึกษาพบว่า C&D Waste นั้นจำเป็นต้องนำออกจากหน่วยงานก่อสร้างเพื่อไปส่งยังโรงงาน Recycle หรือ โรงงานผลิตต่าง ๆ เพื่อทำการแปรรูป ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น เมื่อเทียบกับการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้โดยตรง กระบวนการสำคัญที่ทำให้ต้นทุนในการนำวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้คือ การขนส่ง C&D Waste นี้กลับไปยังโรงงานนั่นเอง เมื่อพิจารณาถึงประเภท C&D Waste กับความจำเป็นในการส่งกลับไปโรงงานพบว่า C&D Waste ประเภท Concrete & Brick นั้นไม่มีความจำเป็นต้องส่งกลับไปยังโรงงานผลิตคอนกรีต หรือ อิฐ แต่สามารถจัดการบดอัดและนำกลับมาผสม ใช้ ณ สถานที่ก่อสร้างได้ในทันที

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาวิจัยของ ดร.พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา (Vanichkobchinda 2001) กล่าวว่า  จากการนำ C&D waste ประเภท Brick & Concrete  นำกลับมาใช้ใหม่นั้น คอนกรีต หรือ อิฐที่ผสม โดยเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้คอนกรีตที่ทำการผลิตโดยวัตถุดิบใหม่จากธรรมชาติ ซึ่งการทดลองดังกล่าวได้มีเงื่อนไขโดยการนำ C&D Waste ประเภท Concrete  & Brick  มาบดโดยผ่าน Jaw Crusher & Screening ให้ได้ขนาดที่เหมาะสม  และนำมาใช้แทนที่ First Hand Aggregate (FHA) ในการผสมคอนกรีตโดยไม่มีการคัดแยกเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง พบว่า Second Hand Aggregate (SHA) จะมีกำลังรับแรงอัดลดลงถึง 50% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ  FHA

เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติการใช้งาน SHA ดังกล่าวนั้นเหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่ไม่ต้องมี กำลังรับแรงอัดสูง ได้แก่

  • การสร้างพื้นทางสำหรับทางเดิน หรือ ทางวิ่งที่ไม่ต้องการการรับน้ำหนัก,
  • ใช้เป็นหินสำหรับการปรับระดับพื้นก่อนการเทปูน
  • การก่อสร้างของถนนชั้น sub-base
  • ขอบทางและรางระบายน้ำ
  • อิฐ และ บล็อกปูถนน

จากคุณสมบัติในการใช้งานในข้างต้น และ ในการคำนวณต้นทุนของงานก่อสร้าง C&D Waste ซึ่งมากลับมาเป็น SHA สามารถช่วยในการลดต้นทุนลงได้อย่างน้อย 3% ของมูลค่าโครงการ  และที่สำคัญยังสามารถชดเชยการขาดแคลนวัตถุดิบธรรมชาติอันเนื่องมาจากราคาวัตถุสูง จากสาเหตุภาษีจากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ ดังเช่น สหราชอาณาจักร, ฮอลแลนด์, ประเทศ เบลเยียม, และเยอรมนี เป็นต้น และยังเป็นการ รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Reference:

Vanichkobchinda P., 2001, The Optimisation of Impact Energy in Size Reduction Process, Master Thesis in Environmental Engineering, School of Chemical, Environmental and Mining Engineering, University of Nottingham, UK

.

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

 --------------------------------

ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward