iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Org การเจริญเติบโตและวงจรชีวิตขององค์การ (Growth and life cycle of the organization)

การเจริญเติบโตและวงจรชีวิตขององค์การ (Growth and life cycle of the organization)  มีการเจริญเติบโตและมีการพัฒนาวงจวชีวิตขององค์การ เริ่มตั้งแต่การจัดตั้ง การเติบโต การถดถอย และการเลิกกิจการ คล้ายกับวงจรชีวิตของระบบเศรษกิจ หรือวงจรชีวิตของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (ดูเพิ่มเติมที่ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle, PLC)) การที่่ผู้บริหารได้เรียนรู้และเข้าใจวงจรชีวิตขององค์การ จะช่วยให้ผู้บริหารใช้แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขององค์การ ในแต่ละช่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ วงจรขององค์การในแต่ละช่วงมีช่วงเวลาที่อยู่ในแต่ละช่วงชั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละองค์การ

ช่วงที่ 1 ขั้นจัดตั้ง เป็นช่วงที่เริ่มมีการจัดตั้งองค์การ ในช่วงนี้จะมีการลงทุนที่สูง มุ่งใช้ทรัพยากรและเทคนิดในการออกแบบและผลิตมาก มีค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องผลิตและทำการแนะนำสินค้าในการออกสู่ตลาด รูปแบบขององค์การในระยะนี้อาจดูเริ่มใหม่ไม่เป็นองค์การที่มีมาตรฐานหรือเป็นทางการนัก การตัดสินใจและการควบคุมต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่ใกล้ชิด เป็นช่วงคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือการเจริญเติบโตเกิดจากความคิดสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่

ช่วงที่ 2 ขั้นเติบโต ช่วงนี้จะเริ่มมีการพัฒนาทิศทางและหมายที่ชัดเจนมากขึ้น มีการบริหารองค์การอย่างเป็นระบบเริ่มมีการใช้มืออาชีพมาช่วยในการบริหารจัดการมากขึ้น องค์การจะเริ่มเจริญเติบโตมีความมั่นคง สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาดที่มากขึ้น จะต้องเริ่มมีการมอบหมายการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ หาวิธีทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยให้ลดต่ำลง ในเวลาที่เร็วขึ้น และมีคุณภาพที่ดี

ช่วงที่ 3 ขั้นเติบโตเต็มที่ ช่วงนี้จะมีรูปแบบที่เริ่มเป็นระบบมีการทำงานที่เป็นทางการมากขึ้น มีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติและกำหนดสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน สามารถที่จะทำการพัฒนานวัตกรรมใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น สามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ในช่วงนี้องค์การอาจจะเกิดวิกฤตด้านการควบคุมและเกิดความล่าช้าบ้าง

ช่วงที่ 4 ขั้นถดถอย ในขั้นตอนนี้องค์การจะมีลักษณะดังนี้

1. กลยุทธ์ขององค์การเริ่มไม่หมาะสมกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของเศรษฐกิจ

2. ความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารองค์การ

3. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

4. ตลาดมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น

5. มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

6. ปัญหาด้านกฎหมายและสังคมเริ่มมีผลกระทบต่อองค์การ

ในช่วงของชีวิตองค์กรที่กำลังถดถอยสิ่งที่ควรพิจารณาคือ การลดค่าใช้จ่าย การลดจำนวนพนักงาน การลดขนาดขององค์การ ให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว Innovation เพิ่มเติมคลิกที่นี่

Org ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การ (The Basic Knowledge of Organization)

 

ที่มา

ภาพและรวบรวมข้อมูล

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

การจัดการธุรกิจ (Business Management)

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward