iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Org บทบาทและวัตถุประสงค์ขององค์การ (Organization roles and objectives) 

 

บทบาทและวัตถุประสงค์ขององค์การ (Organization roles and objectives) องค์การเป็นสถานที่มีความหมายต่อบุคคลที่เข้ามาร่วมมือร่วมใจในการทำงาน เพื่อบรรลุความสำเร็จขององค์การ จึงมีบทบาทที่จะประสานงานกัน และจะต้องมีขอบเขตที่ชัดเจนในรื่องเป้าหมายหรือจุดประสงค์ขององค์การ มีการวางแผนเพื่อนำไปปฏิบัติและกิจกรรมหน้าที่หลักที่องค์การต้องการให้นำไปปฏิบัติ ตลอดจนต้องทำความเข้าใจในอำนาจหน้ที่ ความรับผิดชอบ กติกา กฎระเบียบข้อบังคับขอองค์การ ที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ไต้บังคับบัญชาต้องถือปฏิบัติ ทั้งนี้นอกจากองค์การมีบทบาทดังกล่าวข้างต้นแล้ว องค์การยังต้องปรับตัวให้สอดคล้องกลมกลืนตามสภาวะของการแข่งขัน (Competition) ตลอดจนสภาพแวดล้อม ทั้งภายในภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และองค์การยังต้องพยายามปรับเปลี่ยนองค์การ ให้เป็นไปตามยุคตามสมัยโดยเฉพาะในยุคที่เรียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ (Gobalization) โดยไม่สามารถยึดติดกับองค์การแบบเดิม หรือการบริหารการจัดการแบบเดิมได้อีกต่อไป

วัตถุประสงค์ที่สำคัญขององค์การ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1. วัตถุประสงค์ในด้านเศรษฐกิจ (Economic or Profit Objective) หรือ กำไร โดยทั่วไปการดำเนินธุรกิจขององค์การ มักมีวัตถุประสงค์ คือ กำไรสูงสุด ซึ่งผลกำไรเป็นเครื่องชี้วัดหรือเครื่องแสดงให้เห็นถึงความข้มแข็งหรือความอ่อนแอขององค์การ ดังนั้น องค์การใดก็ตามมีกำไรสูง ย่อมแสดงให้เห็นว่าองค์การนั้นมีความเข้มแข็ง มีความเจริญเติบโตและมีความมั่นคง ในทางกลับกันหากองค์การใดขาดทุน ย่อมแสดงให้เห็นว่าองค์การนั้นมีปัญหา

2. วัตถุประสงค์ในด้านสังคม (Social Objecive) วัตถุประสงค์ขององค์การของรัฐนอกจากมีวัตถุประสงค์ในด้านการให้บริการแก่ประชาชนแล้ว องค์การของรัฐยังมีวัตถุประสงค์ด้านสังคมอีกด้วย ในประเด็นวัตถุประสงค์ด้านสังคมนั้นก็เพื่อสนองความต้องการของประชาชนและความมั่นคงของสังคม ตลอดจนบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น องค์การ 191 ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อนหรือการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เป็นตัน ส่วนองค์การภาคธุรกิจ ก็ยังมีวัตถุประสงค์ด้านสังคมด้วยเช่นกัน เช่น นอกจากดำเนินกิจการเพื่อแสวงหากำไรแล้ว องค์การภาคธุรกิจยังต้องรับผิดขอบต่อสังคมอีด้วยไม่ว่าด้านคุณธรรม จริยธรม ความรับผิดชอบต่อลูกค้ ความซื่อสัตย์ต่อลูกคำการไม่อารัดเอาปรียบผู้บริโค การมีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ มุ่งจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ช่วยเหลือสังคมในด้านกาศึกษา ตลอดจนการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นดัน

3. วัตถุประสงค์ในด้านการให้บริการ (Service Objective) ในองค์การที่เป็นหน่วยงานของรัฐนั้นมีวัตถุประสงค์หล้ก คือ การมุ่งจัดบริการสาธารณะเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชน องค์การทางด้านธุรกิจก็ได้มีการพิจารณด้านการบริการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างวัตถุประสงศ์ในข้อที่ 1 คือ การทำกำไรสูงสุด 

การจัดการ (Management) หมายถึง การจัดการภารกิจภายในองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามนโยบายแผนงานที่ได้กำหนดไว้ หรือหมายถึง ภารกิจของบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายคนที่เข้ามาทำหน้าที่ประสาน ให้การทำงานของแต่ละบุคคลที่ต่างฝ่ายต่างทำไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้

การบริหาร (Administration) หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในระดับนโยบายและแผนงาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับ การบริหารในภาครัฐ (Public Administration) หรือองค์การขนาดใหญ่

บทบาทหน้าที่ในการจัดการองค์การ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้คำอธิบายไว้ว่า บทบาท คือ ท่าทางหรือกิริยาททางในการแสดงออก ดังนั้น บทบาทในการจัดการของนักบริหารก็ หมายถึง การที่ห้เห็นถึงบทบาทของกรแสดงออกที่สำคัญของพักบริหารนั่นเอง Heny Mnizberg ได้สรุปช้อคิดลงพิมฟในวารสาร Havad Reveพในปีค.ศ. 1950 ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของนักบริหารที่สำคัญ ซึ่งสามารถจัดได้ป็น3 กลุ่มดังนี้ (อ้างจาก ธงชัย สันติวงษ์, 2539)

1. บทบาทในด้านข้อมูล ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การกระจายข้อมูล และการให้ข้อมูล

2. บทบาทในด้านการตัดสินใจ ได้แก่ การเป็นผู้คิดริเริ่ม การแก้ปัญหา การเป็นนักเจรจาต่อรองเจรจาความขัดแย้ง และการเป็นนักจัดสรรทรัพยากร

3. บทบาทในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ได้แก่ การเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา การเป็นผู้นำ และการเป็นคนกลาง

สำหรับหน้าที่ในการจัดการ ก็คือ งานประจำที่ต้องปฏิบัติ หรือหน้าที่งานแต่ละอย่างของ กระบวนการบริหาร ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่ที่จำเป็นที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ภารกิจหรืองานทั้งหลายที่บุคคลต่าง ๆ ภายในองค์กรปฏิบัติอยู่ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้นบทบาทหน้าที่ในการจัดการองค์การ จึงเป็นผลพวงมาจากการดำรงตำแหน่งงานในองค์การ เช่น ตำแหน่งผู้บริหารหน้าที่ในการวางแผนกลยุทธ์และกำกับดูแลให้องค์การดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ส่วนผู้ปฏิบัติมีหน้าที่นำนโยบายของผู้บริหารไปปฏิบัติ

นักวิชาการและนักบริหารได้มีการวิเคราะห์ว่า บทบาทหน้าที่ในการจัดการเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ในการบริหาร ที่จะนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงได้จัดการศึกษาหน้าที่ของการจัดการองค์การ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประภท คือ

1. การวางแผน (Planning) หมายถึง การกำหนดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือวิธีการปฏิบัติไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรกของการบริหารการจัดการ หากปราศจากการวางแผนแล้ว งานในหน้าที่อาจไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

2. การจัดการองค์กร (Organizing) หมายถึง การจัดโครงสร้างขององค์การด้วยการจัดกลุ่มงาน การกำหนดหน้าที่ให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ซึ่งโครงสร้างของงานด้องมีขอบเขดที่ซัดเจน ว่าใครปฏิบัติหน้าที่อย่างไร เกี่ยวข้องกับใคร เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

3. ภาวะผู้นำ (Leadership) หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติตามบทบาท หรือผู้ที่จะทำให้เกิดการผสมกลมกลืน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่ม หรือองค์การที่ตั้งไว้ให้บรรลุความสำเร็จ

4. การควบคุม (Controlling) หมายถึง กิจกรรมกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การทำงานหรือการปฏิบัติงานขององค์การจะสำเร็จตามแผนที่วางไว้

ทักษะในการบริหารองค์การ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้คำอธิบายว่า ทักษะ หมายถึงความ
ชำนาญ หรือความสามารถในการดำนินงาน หรือความชำนาญในการปฏิบัติงาน
สำหรับความเห็นของผู้เขียน ทักษะ หมายถึง ความสามารถในการทำกิจกรมใด
กิจกรรมหนึ่งได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หรือเป็นความชำนาญในการทำกิจกรรมได้อย่าง
ถูกต้องรวดเร็วนั่นเอง
ผู้บริหารองค์การ คือ บุคคลที่ทำหน้ที่ประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ
เพื่อให้ดำเนินไปสุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว Innovation เพิ่มเติมคลิกที่นี่

Org ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การ (The Basic Knowledge of Organization)

 

ที่มา

ภาพและรวบรวมข้อมูล

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

การจัดการธุรกิจ (Business Management)

-------------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward