Org ประเภทขององค์การ (Organization type)
ประเภทขององค์การ (Organization type) สามารถจำแนกได้เป็น 4 ส่วนหลักดังนี้
1. องค์การแบบปฐมและองค์การแบบมัธยม
- องค์กรแบบปฐม หมายถึง องค์การที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีการติดต่อสัมพันธ์แบบส่วนตัว ไม่มีพิธีการมาก ไม่มีวัตถุประสงค์อะไรเป็นสำคัญ เช่น ครอบครัว เพื่อนบ้าน
- องค์การแบบมัธยม หมายถึง องค์การที่สมาชิกมีความสัมพันธ์แบบมีเหตุมีผล และเป็นผลเนื่องมาจากบทบาทและหน้าที่ที่ถูกกำหนดโดยองค์กร ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การแบบนี้จึงเป็นการจัดตั้งเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิก เช่น บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานราชการ สโมสรมหาวิทยาลัย เป็นต้น
2. องค์การแบบเป็นทางการ หมายถึง องค์การที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ มีการกำหนดโครงสร้างของกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน มีรายละเอียดเกี่ยวกับสายบังคับบัญชา ความสัมพันธ์ของอำนาจหน้ำที่ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสาร การกระจายอำนาจ เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนชัดเจนแน่นอน
3. องค์การแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง องค์การที่มีลักษณะของโครงสร้างไม่แน่นอนไม่มีการกำหนดสายสัมพันธ์ของสมาชิก ไม่มีกฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ เช่น ชมรม กลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น
4. องค์การแบบยึดหลักวัตถุประสงค์ขององค์การ หมายถึง องค์การที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่างบางประการ ตามความต้องการของสมาชิก เช่น องค์การเพื่อสังคม องค์การเพื่อสาธารณภัย องค์การเพื่อศาสนา องค์การที่ไม่แสวงหากำไร เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมขององค์การ (Organizational Environmen) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการดำเนินงานขององค์การทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งปัจจัยของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ และสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
1. สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เป็นแรงขับภายในองค์กรและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ต่อการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย
1.1 สิ่งแวดล้อมด้านโครงสร้างขององค์กร เช่น โครงสร้างขององค์การ มาตรฐานการปฏิบัติงานขององค์การ
1.2 สิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ เช่น ทักษะความสามารถของผู้บริหาร ความสามารถของพนักงาน เจ้าของและผู้ถือหุ้น เป็นต้น
1.3 สิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรองค์การ เช่น เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์
1.4 สิ่งแวดล้อมด้านเทคโนโลยี เช่น การเลือกใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่การวิจัยและการพัฒนา
15 สิ่งแวดล้อมด้านการบริหาร เช่น ต้นทุนของเงินทุน แหล่งที่มาของเงินทุน
1.6 สิ่งแวดล้อมค้นวัฒนธรรม เช่น ทัศนคติค่านิยม ความเชื่อ
2. สิ่งแวดล้อมายนอกองค์กร หมายถึง ปัจจัยภายนอกองค์กรที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมีผลกระทบต่อการบริหารองค์การ ประกอบด้วย
2.1 สิ่งแวดล้อมด้านเศรษกิจ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจ การเกิดภาวะเงินฝืด
2.2 สิ่งแวดล้อมด้านสังคม เช่น ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไป
2.3 สิ่งแวดล้อมด้านการเมือง เช่น การเมืองมีการเปลี่ยนแปลง การเมืองไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารองค์การ
2.4 สิ่งแวดล้อมด้านเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
2.5 สิ่งแวดล้อมด้านระหว่างประเทศ เช่น การจับกลุ่มเพื่อการค้าของอียู เป็นตัน
2.6 สิ่งแวดล้อมด้านคู่แข่งขัน เช่น เงินทุนของคู่แข่ง ขนาดธุรกิจของคู่แข่งขัน
2.7 สิ่งแวดล้อมด้านประชากร เช่น จำนวนประชากร พฤติกรรมในการบริโภค
2.8 สิ่งแวดล้อมด้านกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน อัตราภาษีต่าง ๆ ฯลฯ
โดยสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ล้วนแต่แรงดันที่มีผลกระทบต่อองค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่ควบคุมได้ และที่ควบคุมไม่ได้
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว Innovation เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Org ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การ (The Basic Knowledge of Organization)
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การจัดการธุรกิจ (Business Management) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
การจัดการธุรกิจ (Business Management)
-------------------------------------------------