iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

การวินิจฉัยสถานประกอบการ Shindan

 

Shindan เป็นภาษาญี่ปุ่น มีความหมายถึง การวินิจฉัยสถานประกอบการ
การวินิจฉัยสถานประกอบการ Shindan เป็นแนวทางการช่วยเหลือ SMEs ของญี่ปุ่น ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้ว และประเทศต่างๆ ได้เริ่มนำแนวทางการวินิจฉัยแบบชินดังไปเป็นแม่แบบ โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจอุตสาหกรรม SMEs หรือสถานประกอบการ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ

การวินิจฉัยสถานประกอบการ คือ การหาสาเหตุของอาการหรือปัญหาที่สถานประกอบการกำลังประสบอยู่ การวินิจฉัยมุ่งค้นหาปัญหาให้ถึงปัจจัยสาเหตุรอบด้าน และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มิได้เน้นที่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาทั่วไปที่พบตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าไปตรวจอาการ

การวินิจฉัยสถานประกอบการ Shindan เป็นการตรวจสุขภาพของกิจการ หรือเป็นการวิเคราะห์ศึกษาข้อมูลภายในสถานประกอบการ เพื่อค้นหาปัญหาในการดำเนินธุรกิจใน 5 ด้าน คือ 

- การบริหารจัดการ

- การตลาด

- การผลิต

- การเงิน/บัญชี

- ทรัพยากรมนุษย์

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

- รู้สถานะการดำเนินธุรกิจ ปัญหาและแนวทางการแก้ไข 

- เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายผลในการจัดทำแผนงานต่างๆ เช่น การจัดทำแผนธุรกิจ แผนการตลาด แผนการเพิ่มผลผลิต

Shindan ทำอะไรได้บ้าง?

● วิเคราะห์สภาพกิจการได้แม่นยำ

● แก้ปัญหาได้ตรงจุด

● ให้ข้อเสนอแนะที่ทำได้จริง

● สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ

● เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

วัตถุประสงค์ของ Shindan รู้ก่อน แก้ปัญหาได้ก่อน คือ หัวใจของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เมื่อผู้ประกอบการมีปัญหามาปรึกษานักวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindan) นักวินิจฉัยฯ ก็จะต้องหาสาเหตุของปัญหา ด้วยการเข้าไปประเมินวิเคราะห์สถานภาพที่แท้จริงของการบริหารจัดการในภาพรวมครอบคลุมประเด็นต่างๆ อาทิ การบริหารจัดการทั่วไป การตลาด การผลิตการเงิน การบัญชี และชี้แนะถึงจุดเด่น จุดด้อยของสถานประกอบการนั้นๆ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วเสนอแนะแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นการวางแผนการบริหารจัดการของ SMEs ให้ทันยุคสมัย? มีความเหมาะสมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

SHINDAN (วินิจฉัย) เพื่ออะไรเมื่อผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (SMEs) ประสบปัญหารุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการขายการผลิตและเทคโนโลยี การบริหารทรัพยากรบุคคล การจัดหา จัดซื้อและจัดจ้าง รวมทั้งการบัญชีและการเงิน ผู้ประกอบการย่อมเกิดความสับสนลังเล ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกแก้ปัญหาเรื่องใดก่อน อาจเป็นเพราะไม่รู้ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง หรือรู้ปัญหาแต่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร อีกทั้งยังต้องพะวงกับการอยู่รอดในโลกธุรกิจและการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในการวินิจสถานประกอบการแต่ละแห่ง จะมีการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวินิจฉัย ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายของการดำเนินงานของกิจการนั้นๆเป้าหมายของการวินิจฉัย สามารถแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การ

1. วินิจฉัยแบบแก้ไขปัญหา

- กิจการ ก. เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ถ้าหากไม่ดำเนินการใดๆ อาจไม่มีเงินไปซื้อวัตถุดิบ ไม่มีของผลิตและไม่สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้และที่สุดกิจการอาจไม่รอด

- กิจการ ข. เคยมียอดขายที่ดีมาก แต่ที่ผ่านมามีแนวโน้มแย่ลงเนื่องจากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านการส่งมอบให้ทันเวลา ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อจากที่อื่นเพิ่มขึ้น หากสามารถแก้ไข

ปัญหาด้านการส่งมอบได้ ลูกค้าจะยังคงหันกลับมาซื้อดังเดิม

* ถ้ากิจการของคุณมีปัญหาคล้ายกับ 2 บริษัทนี้ เป้าหมายในการวินิจฉัยกิจการของคุณจะอยู่ในระดับของ “การวินิจฉัยแบบแก้ไขปัญหา” ซึ่งเป็นระดับที่ต้องการให้กิจการสามารถอยู่รอดได้ในการทำธุรกิจ หรือให้ผลประกอบการกลับมาดีดังเดิม

2. การวินิจฉัยแบบมุ่งสู่เป้าหมายธุรกิจ

- กิจการ ค. ดำเนินกิจการมาระยะหนึ่งจนเริ่มมีอัตราการเติบโตของยอดขายคงที่ หรือมีอัตรากำไรคงเดิม แม้จะไม่สูญเสียตลาดให้คู่แข่งและมีรายได้เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอด แต่กิจการอาจต้องการการขยายไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม

- กิจการ ง. ความต้องการสูงสุดของกิจการอาจมาจากตัวผู้บริหารที่มีความต้องการที่แตกต่างไป เช่น ต้องการทำงานโดยไม่ต้องไปที่ทำงาน

- กิจการ จ. ผู้บริหารต้องการให้กิจการเดินได้ด้วยระบบเอง ไม่ต้องขึ้นกับการตัดสินใจของผู้บริหารสูงสุดเท่านั้น

* หากกิจการของคุณมีส่วนคล้ายกับ 3 บริษัทนี้ เป้าหมายในการวินิจฉัยกิจการของคุณในระดับของ “การวินิจ

การวินิจฉัยสถานประกอบการ Shindan เป็นระบบที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเข้ามาในประเทศไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 5 ปีแรกเป็นการถ่ายทอดแนวทางและวิธีการสอนจากญี่ปุ่น และช่วง 5 ปีถัดมาได้มีการพัฒนาหลักสูตรต่อโดยนักวินิจฉัยชาวไทย ในแต่ละปีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเปิดอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นนักวินิจฉัย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วจำนวนมาก หากสนใจที่จะก้าวสู่อาชีพ นักวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindanshi)  จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร นักวินิจฉัยสถานประกอบการระดับวิชาชีพเสียก่อน โดยผู้ที่จะช่วยสถานประกอบการในการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพที่แท้จริง ของการบริหารจัดการในภาพรวม รวมถึงชี้แนะถึงจุดเด่น จุดด้อย รู้สถานภาพและศักยภาพของตนเอง รู้แนวทางที่จะปรับปรุงองค์กรเพื่อให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน ต้องมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ครอบคลุมในศาสตร์หลายด้าน

----------------------------------------

 
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward