ความสามารถในการสร้างคุณค่าในรูปแบบเส้นโค้งรอยยิ้ม (The Smile of Value Creation)
ความสามารถในการสร้างคุณค่าในรูปแบบเส้นโค้งรอยยิ้ม (The Smile of Value Creation) จากกราฟจะแสดงให้เห็นถึงมูลค่ามูลค่า ในการผลิตที่จะมีมากขึ้นที่บริเวณปลายกราฟทั้งสองด้านคือ ในช่วงต้นการผลิตและช่วงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า กิจกรรมที่ปลายทั้งสองของห่วงโซ่คุณค่าจะมีมูลค่าที่สูง แต่ต้องใช้การประยุกต์ ใช้ความรู้ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามห่วงโซ่คุณค่าจึงเป็นรูปแบบของเส้นโค้งที่มองดูคล้ายรอยยิ้ม
จากกราฟอาจสรุปได้ว่า ความสามารถในการสร้างคุณค่าในรูปแบบเส้นโค้งรอยยิ้ม จะแสดงให้เห็นมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานในการทำธุรกิจ แบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 7 ช่วงคือ
1. การวิจัยและพัฒนา
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์
3. การสร้างตราสินค้า
4. การผลิต
5. การวางตลาด
6. การกระจายสินค้า
7. การขายและบริการหลังการขาย
การดำเนินธุรกิจในรูป ผู้ที่สามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด จะเป็นธุรกิจที่ดำเนินการในขั้นตอนที่อยู่ปลายของ Smile Curve ทั้งสองด้านได้แก่
- ช่วงก่อนการผลิตตั้งแต่ 1-3 คือ ช่วงวิจัยและพัฒนา, การออกแบบ การสร้างงตราสินค้า
- ช่วงหลังการผลิตตั้งแต่ 5-7 คือ ช่วงการตลาด, การกระจายสินค้า และช่วงการขายและบริการหลังการขาย
- ส่วนในช่วงการผลิตที่ 4 ในกราฟจะเป็นช่วงตรงกลางที่มีในกราฟ จะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่ำสุดและมีระยะเวลาที่สั้น
ซึ่งตรงกับประเทศเราในปัจจุบันที่ยังหลงมุ่งเน้นไปที่การเป็นผู้ผลิตเป้นหลัก ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ต่ำไม่เกิดเป็นรายได้สูงเมื่อเทียบกับระยะทั้งสองด้าน หากมองให้ดีจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- พื้นที่สีเขียว เป็นส่วนผู้ผลิตที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีอำนาจในต่อรองสูงสุด รวมถึงสามารถเลือกและการกำหนดบทบาทในธุรกิจได้หากดูประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ อเมริกา ญี่ปุ่น หรือประเทศในฝั่งยุโรป ที่คิดผลิตภัณฑ์และทำการตลากแต่จะให้ประเทศยากจนเป้นผู้ดำเนินการผลิตให้
- พื้นที่สีเหลือง เป็นส่วนผู้ผลิตที่อยู่ช่วงกลางซึ่งมีมูลค่าต่ำ ทำให้มีอำนาจต่อรองต่ำ หากมีปัญหากลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบก่อนทุกส่วน เพราะเป็นการใช้แรงงานและความรู้ระดับพื้นฐาน ซึ่งการที่เป็นผู้รับจ้างหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีพื้นฐานทำให้ถูกแทนที่ได้ง่าย โดยการเลือกใช้ผู้ประกอบการรายอื่นที่แทรกตัวเข้ามาได้ตลอด
ประเทศในกลุ่มนี้ได้แก่ประเทศยากจนที่ยังเป็นฐานในการผลิตสินค้าเช่น ไทย เวียตนาม หรือกลุ่มประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ จะเห็นว่าในอดีตประเทศจีนก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้แต่ปัจุจบันเขาได้พยายามพัฒนาตัวเองไปสู่มุมด้านซ้ายคือคิดค้น นวัตกรรม และสินค้าใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่ารายได้ไม่ต้องรอรายได้จากการรับเป้นผู้ผลิตแบบเดิมที่มีรายได้น้อยอีกต่อไป
----------------------------------------