ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital)
มิติย่อยที่ 17 การส่งเสริมการเรียนรู้บุคลากร (Workforce Learning)
มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital) คือ การบริหารและจัดการทางทรัพยากรบุคคลขององค์กร การพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในปัจจุบันและอนาคต มู่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 1 มิติย่อย
มิติย่อยที่ 17 การส่งเสริมการเรียนรู้บุคลากร (Workforce Learning) คือ การพิจารณากระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาทักษะ ขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจในงานด้านอุตสาหกรรม 4.0 สามารถส่งเสริมการทำงานในองค์กรให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพิจารณากระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ ขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศ แบ่ง 6 Band คือ
Band |
นิยาม |
คำอธิบายเพิ่มเติม |
1 Non-systematic |
การดูแลการพัฒนาพนักงานเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีระบบ |
ไม่มีหลักสูตรหรือโปรแกรมในการพัฒนาพนักงานที่ชัดเจน ทั้งพนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบัน ไม่มีวิธีการ Orientation พนักงานใหม่ เน้นเป็นการสอนหน้างาน/ฝึกงาน ไม่มีแผนหลักสูตรการพัฒนาพนักงานในแต่ละตำแหน่งงาน |
2 Formal manual |
มีการกำหนดหลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน |
มีกำหนดหัวข้อหลักสูตรในการพัฒนาพนักงานในแต่ละตำแหน่งงาน โดยที่หลักสูตรส่วนใหญ่ยังเกี่ยวข้องกับทักษะสำหรับตำแหน่งและความรับผิดชอบในปัจจุบัน |
3 Individual career path |
มีการกำหนดหลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ที่ได้รับการออกแบบให้มีความต่อเนื่อง เพื่อขยายขอบเขตทักษะของพนักงาน |
มีหลักสูตรเพื่อเพิ่มเติม/ยกระดับทักษะของพนักงาน โดยมีความต่อเนื่องในการดำเนินการ เช่น หลักสูตรฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็น Series ระบบขององค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้เรียนรู้ในทักษะใหม่ |
4 Individual-organisation alignment |
หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน OT/IT ขององค์กร |
หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี OI/IT เพื่อพัฒนาพนักงานนั้นถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร และสัมพันธ์กับการเติบโตในทางอาชีพของพนักงาน |
5 Monitoring and adaptive |
หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เป็นระยะ โดยพิจารณาจาก Strategy ขององค์กร และ แนวโน้มเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม 4.0 |
มีช่องทางการรับข้อมูลใหม่ๆ หรือ Feedback ทั้งจากพนักงาน ฝ่ายบุคคล และทีมผู้บริหาร เพื่อให้หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ได้ถูกปรับปรุง ปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมอยู่ เสมอ |
6 Future skill preparation |
มีการพัฒนาพนักงานในเรื่องของชุดทักษะในอนาคต (Future Skillsets) จนทำให้องค์กรสามารถ implement โครงการด้านอุตสาหกรรม 4.0 ได้เองโดยใช้ความเชี่ยวชาญจากบุคคลภายในเป็นหลัก |
มีการพัฒนาทีมงานขององค์กรด้วยชุดทักษะในอนาคตในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการจัดตั้งเป็นทีมโครงการด้านอุตสาหกรรม 4.0 ขององค์กร |
Band 1 Non-systematic
นิยาม การดูแลการพัฒนาพนักงานเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีระบบ
คำอธิบายเพิ่มเติม ไม่มีหลักสูตรหรือโปรแกรมในการพัฒนาพนักงานที่ชัดเจน ทั้งพนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบัน
ไม่มีวิธีการ Orientation พนักงานใหม่ เน้นเป็นการสอนหน้างาน/ฝึกงาน ไม่มีแผนหลักสูตรการพัฒนาพนักงานในแต่ละตำแหน่งงาน
Band 2 Formal manual
นิยาม มีการกำหนดหลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน
คำอธิบายเพิ่มเติม มีกำหนดหัวข้อหลักสูตรในการพัฒนาพนักงานในแต่ละตำแหน่งงาน โดยที่หลักสูตรส่วนใหญ่ยังเกี่ยวข้องกับทักษะสำหรับตำแหน่งและความรับผิดชอบในปัจจุบัน
Band 3 Individual career path
นิยาม มีการกำหนดหลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ที่ได้รับการออกแบบให้มีความต่อเนื่อง เพื่อขยายขอบเขตทักษะของพนักงาน
คำอธิบายเพิ่มเติม มีหลักสูตรเพื่อเพิ่มเติม/ยกระดับทักษะของพนักงาน โดยมีความต่อเนื่องในการดำเนินการ เช่น หลักสูตร์ฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็น Series ระบบขององค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้เรียนรู้ในทักษะใหม่
Band 4 Individual-organisation alignment
นิยาม หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน OT/IT ขององค์กร
คำอธิบายเพิ่มเติม หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี OT/IT เพื่อพัฒนาพนักงานนั้นถูกออกแบบมาให้ สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร และสัมพันธ์กับการเติบโตในทางอาชีพของพนักงาน
Band 5 Monitoring and adaptive
นิยาม หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ได้รับการปรับปรุงให้ เหมาะสมอยู่เป็นระยะ โดยพิจารณาจาก Strategy ขององค์กร และแนวโน้มเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม 4.0
คำอธิบายเพิ่มเติม มีช่องทางการรับข้อมูลใหม่ๆ หรือ Feedback ทั้งจากพนักงาน ฝ่ายบุคคล และทีมผู้บริหาร เพื่อให้หลักสูตร/โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงาน ได้ถูกปรับปรุง ปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ
Band 6 Future skill preparation
นิยาม มีการพัฒนาพนักงานในเรื่องของชุดทักษะในอนาคต (Future Skillsets) จนทำให้องค์กรสามารถ implement โครงการด้านอุตสาหกรรม 4.0 ได้ เองโดยใช้ความเชี่ยวชาญจากบุคคลภายในเป็นหลัก
คำอธิบายเพิ่มเติม มีการพัฒนาทีมงานขององค์กรด้วยชุดทักษะในอนาคตในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการจัดตั้งเป็นทีม โครงการด้านอุตสาหกรรม 4.0 ขององค์กร
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-------------------------------------------------
ข้อมูลที่น่าสนใจประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 ที่นี่ที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล-------------------------------------------------