iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (Department of Industrial Promotion : DIP) กระทรวงอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (Department of Industrial Promotion : DIP) เป็นหน่วยงานราชการในสังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่และภารกิจในการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) และวิสาหกิจชุมชน (Micro Enterprises) ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้ผู้ประกอบการเป็นพลังอันแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกล สามารถแข่งขันและยืนหยัดบนเวทีระดับภูมิภาค และระดับโลกต่อไป
เกี่ยวกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIP) มุ่งเน้นพัฒนา SMEs ใน 3 มิติให้บริการแก่ประชาชน และผู้ประกอบการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ การฝึกอบรม บริการข้อมูล และความช่วยเหลือทางการเงินใน 3 มิติให้บริการประชาชน และผู้ประกอบการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ
ในอดีตกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ภายใต้กองอุตสาหกรรม สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกรมอุตสาหกรรม จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีบทบาทสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ
แม้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2485 แต่บทบาทด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สงครามมหาเอเชียบูรพากำลังเริ่มต้นขึ้น ผลกระทบจากสงครามในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะขาดแคลนสินค้า เพื่อบรรเทาวิกฤตดังกล่าว รัฐบาลจึงเข้ามาส่งเสริมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศ โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตขึ้นจวบจนถึงปัจจุบัน
ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำหน้าที่เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) และวิสาหกิจชุมชน (Micro Enterprises) ให้มีความเข้มแข็ง ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ มาตรการทางการค้า ข้อกฎหมายใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในความภูมิใจสูงสุดของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมคือ การเคียงข้าง พัฒนา และช่วยเหลือผู้ประกอบการในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเป็นพลังอันแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกล สามารถแข่งขันและยืนหยัดบนเวทีระดับภูมิภาค และระดับโลกต่อไป
ความสำเร็จของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในวันนี้ เป็นผลจากภารกิจ “ริเริ่ม - ส่งเสริม - วิจัยและพัฒนา” ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องและก่อเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม โดยงานสำคัญหลาย ๆ งานที่ริเริ่ม ส่งเสริม และพัฒนาการผลิตมากมาย ยังคงเป็นรากฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ รวมถึงงานด้านวิจัยพัฒนาที่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ค้นคว้า ทดลอง เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ
เมื่อโลกในปัจจุบันหมุนไปอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญจากอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนโดยแรงงาน ไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และปรับจุดยืนครั้งใหญ่
เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศสามารถเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ได้อย่างเข้มแข็ง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ปรับโครงสร้างภายในองค์กรให้ทันสมัย โดยพัฒนาระบบงานด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อทำหน้าที่ “พี่เลี้ยง” (Mentor) ของผู้ประกอบการได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ SMEs
กว่า 7 ทศวรรษที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยืนหยัดเคียงข้างผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมาทุกยุคทุกสมัย ก็ด้วยความมุ่งหวังที่จะนำพาอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าต่อไปได้อย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
นักวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindanshi)
Shindan เป็นภาษาญี่ปุ่น มีความหมายถึง การวินิจฉัยสถานประกอบการ
การวินิจฉัยสถานประกอบการ Shindan เป็นระบบที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเข้ามาในประเทศไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 5 ปีแรกเป็นการถ่ายทอดแนวทางและวิธีการสอนจากญี่ปุ่น และช่วง 5 ปีถัดมาได้มีการพัฒนาหลักสูตรต่อโดยนักวินิจฉัยชาวไทย ในแต่ละปีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเปิดอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นนักวินิจฉัย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วจำนวนมาก หากสนใจที่จะก้าวสู่อาชีพ นักวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindanshi) จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร นักวินิจฉัยสถานประกอบการระดับวิชาชีพเสียก่อน โดยผู้ที่จะช่วยสถานประกอบการในการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพที่แท้จริง ของการบริหารจัดการในภาพรวม รวมถึงชี้แนะถึงจุดเด่น จุดด้อย รู้สถานภาพและศักยภาพของตนเอง รู้แนวทางที่จะปรับปรุงองค์กรเพื่อให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน ต้องมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ครอบคลุมในศาสตร์หลายด้าน
Shindanshi หรือนักวินิจฉัยสถานประกอบการ ผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา วินิจฉัย วิเคราะห์ปัญหาและวางแนวทางแก้ไขปรับปรุงแก่สถานประกอบการผู้ที่จะเป็นนักวินิจฉัย จะต้องมีคุณสมบัติที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ โดยทั่วไปนักวินิจฉัยต้องมีความรู้ทักษะที่เหมาะสม มีจิตบริการเพื่อประโยชน์ของสังคม มีจริยธรรมทั้งความคิดและการปฏิบัติ หลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน ยอมรับค่าตอบแทนอย่างสมเหตุสมผลและต้องผ่านการตรวจสอบทางสังคม เช่น การฝึกอบรม และการสอบมาตรฐานวิชาชีพนักวินิจฉัย คุณสมบัติของนักวินิจฉัยสามารถแบ่งได้ 3 ด้าน ได้แก่
1. คุณสมบัติทั่วไปของนักวินิจฉัย
1. มีความรักในอาชีพการวินิจฉัย
2. มีจิตใจบริการ
3. มีบุคลิกลักษณะที่น่าเชื่อถือ
4. มีวินัยในการทำงาน
5. มีความตรงต่อเวลา
6. มีระบบในการทำงาน
7. รักษาคำพูด รักษาสัญญา
8. รู้จักวางตัวให้เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม
9. มีความสามารถควบคุมอารมณ์และการแสดงออกได้ดี
10. มีการเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
2. คุณสมบัติด้านความรู้ของนักวินิจฉัย
1. มีความรู้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
2. มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์การวินิจฉัยธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผนการผลิต การบริหารจัดการ บริหารทรัพยากรบุคคล การตลาดและการขาย การเงิน การบัญชี เป็นต้น
3. มีความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายและข้อระเบียบปฏิบัติสำหรับธุรกิจ
3. คุณสมบัติด้านทักษะของนักวินิจฉัย
1. มีทักษะในการประเมินวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า
2. มีทักษะในการวินิจฉัยแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
3. มีทักษะในการสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ตลอดจนสื่อสารภาษากายที่ดี
4. มีจิตวิทยาและทักษะในการนำเสนอผลการวินิจฉัย
ผู้ที่เป็นนักวินิจฉัยจะต้องศึกษาหาความรู้ เก็บเกี่ยวทักษะประสบการณ์ในการวินิจฉัยและรักษาจริยธรรมต่อวิชาชีพนักวินิจฉัย เพื่อจะเป็นนักวินิจฉัยมืออาชีพต่อไป
ที่มา www.ict.dip.go.th
----------------------------------------
แนะนำ แหล่งช่องทางการเรียนรู้ดีๆ จาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รู้หรือไม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดนำเอาข้อมูลข่าวสาร ด้านอุตสาหกรรม มาจัดเตรียมเพื่อให้กับผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจเข้ามาเลือกใช้บริการในช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่
@ หนังสือเอกสารอุตสาหกรรมและเรื่องราวน่ารู้มากมาย สามารถเข้าไปหาอ่านได้ภายในห้องสมุด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 2 ถนนพระราม 6 ราชเทวี กทม
http://library.dip.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=kwx&qst=%402174%2C%4092957%2C%5E%2C%408%2C%24&wa=946F797&lang=1&db=Main&pat=%CA%D4%A7%CB%D2%A4%C1%202561&cat=gen&skin=S&lpp=50&catop=&scid=zzz&nx=39
@ วารสารอุตสาหกรรมสาร ประจำเดือน
http://library.dip.go.th/multim6/ebook/2561/J%20%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%AD127%202561(4).pdf
@ เว็บไซต์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
www.dip.go.th
@ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
http://info.dip.go.th
@ ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม Business Service Center (BSC)
https://bsc.dip.go.th/th
@ ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี SME Support & Rescue Center (SSRC)
www.smessrc.com
@ Facebook: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
https://www.facebook.com/dip.go.th
@ Facebook: ห้องสมุด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
https://www.facebook.com/library4425
@ Facebook: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
https://www.facebook.com/dipinfo
@ Facebook: เรื่องราวข่าวสารโครงการพี่ช่วยน้อง Big Brother DIP กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
https://www.facebook.com/bigbrother.dip
...
กระทรวงอุตสาหกรรม 2564
กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0” (The Next Revolution 4.0) ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก รวมถึงดำเนินการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคอาเซียน การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการใหม่ให้มีความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน มุ่งนำ Digital Transformation มาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับ Creative Economy ความคิดสร้างสรรค์เชิงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับนวัตกรรมและงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานโครงสร้างอุตสาหกรรมและบริการ โดยสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการที่เหมาะสม และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอย่างยั่งยืน
นอกจากปัจจัยภายในเรื่องของการบริหารจัดการด้านยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ให้บรรลุตามเป้าหมายแล้ว ปัจจัยภายนอกด้านสภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ในโลกยุค “เศรษฐกิจ 4.0” นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของกระแสเศรษฐกิจโลก (Global Mega-Trend) ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง (Technology Disruption) ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นความท้าทายต่อการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและบุคลากรในองค์กรเพื่อพัฒนานโยบายให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและการดำเนินธุรกิจในอนาคต ซึ่งต้องมีการจัดการอย่างมีวิสัยทัศน์ รวมถึงการรับมือการบริหารในสภาวะวิกฤตแบบไม่ทันตั้งตัวในเรื่องของการบริหารจัดการเมื่อเกิดโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม การปรับตัวสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ (New Business Model) เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และระบบสาธารณสุข นับเป็นเรื่องที่ต้องบริหารนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
-----------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ชื่ออังกฤษ: Ministry of Industry (MOI)
พระกฤษณะนารายณ์เทวเทพ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความเคารพนับถือ
พระนารายณ์ที่นี่ มีสีทอง มี 4 กร ทรงถือ คฑา สังข์ จักร และดอกบัว มีพาหนะเป็นครุฑ รอบด้วยสระดอกบัวและน้ำพุที่สวยงาม โดยพระนารายณ์ยังเป็นตราของกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย * พระนารายณ์ เป็นพระนามหนึ่งของ พระวิษณุ (Vishnu) แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนามว่าพระนารายณ์มากกว่า พระนารายณ์ เป็นหนึ่งในสามมหาเทพ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลก ตามความเชื่อของชาวฮินดูจากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") * พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะทรงบรรทมอยู่บนหลัง อนันตนาคราช โดยมีพระชายา คือ พระลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้างๆเสมอ พาหนะของพระวิษณุ คือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ
- พระพรหม มีหน้าที่สร้างและลิขิตสรรพสิ่งทั้งปวงในทั้งสามโลก
- พระวิษณุ หรือ พระหริ มีหน้าที่ดูแลทั้งสามโลกให้อยู่ในความเรียบร้อย และสมดุล
- พระศิวะ มีหน้าที่ทำลายสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวงในโลกทั้งสาม
* ตราสัญลักษณ์กระทรวงอุตสาหกรรม คือ พระนารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สอง หรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย
* กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มจากการก่อตั้ง กองอุตสาหกรรม ในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น กองอิสระรัฐพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2480 ถัดมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ และจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงอุตสาหกรรม" ใน พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน
ที่มา https://www.industry.go.th/th/ministry-of-industry-symbol
-----------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ชื่ออังกฤษ: Ministry of Industry (MOI)
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward