1) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เริ่มจากการตั้งข้อปัญหาและจัดหาแหล่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อมูลทั้งจากภายในองค์กรหรือจากภายนอกองค์กร โดยอาจมีการจัดการข้อมูลจากแหล่งที่มาต่าง ๆ ที่หลากหลาย ที่เรามักเรียกว่าเป็น Big Data ดูเพิ่มเติม Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (ฺBig Data)
2) ทำการจัดการข้อมูล (Data Sources) ให้เป็นชุดข้อมูลที่มีหมวดหมู่ มีการตรวจสอบข้อมูล
3) ทำการปรับเปลี่ยนข้อมูล (Data Transformation) โดยจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นระบบที่มีมาตรฐาน สามารถจัดการหรืนำมาใช้งานได้ง่าย แล้วจึงจะนำไปเก็บที่คลังข้อมูล (Data Warehouse) ในบางครั้งการทำงานในส่วนนี้เราเรียกว่า การทำงานแบบ ETL ซึ่งประกอบด้วยชุดเครื่องมือที่ใช้ใน
- การศัดแยก (Extract) จัดกลุ่มข้อมูล
- การปรับเปลี่ยน (Transform) รูปแบบของข้อมูล
- การนำเข้าข้อมูลที่มีการจัดการแล้วไปจัดเก็บ (Load) ในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้
เรานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ETL เนื่องจากข้อมูลในแหล่งกำเนิดข้อมูลมีทั้งจำนวนและปริมาณที่สูงมาก ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้ช้อมูลจะมีความต้องการข้อมูลเฉพาะอย่างไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมดและที่สำคัญคือซัอมูลที่ตัองการนั้นไม่ได้อยู่ในแหล่งซ้อมูลเดียวกันทั้งหมด เครื่องมือชุดนี้จะช่วยทำหน้าที่ศัดแยกข้อมูลเฉพาะที่ผู้ใช้ต้องการจากทุกแหล่งข้อมูลมารวมกัน เมื่อข้อมูลมาจากแหล่งช้อมูลที่ต่างกันทำให้เกิตความแตกต่างในเรื่องต่าง ๆ เช่น ขนาดของข้อมูล ลักษณะ รูปแบบ ดังนั้นเครื่องมือ ETL จะทำการทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing) เพื่อให้ข้อมูลมีความสม่ำเสมอ สอดคล้องกันทั้งหมด ก่อนจะนำบรรจุลงที่เก็บที่เรียกว่าคลังข้อมูล (Data Warehouse)
4) คลังข้อมูล (Data Warehouse) เป็นที่จัดเก็บข้อมูลนำมาจากแหล่งข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งก็คือระบบสารสนเทศในระดับปฏิบัติการ แหล่งข้อมูลภายนอกที่ผู้บริหารเห็นว่ามีความจำเป็นต้องใช้ในการทำงานการตัดสินใจของผู้บริหาร และข้อมูลส่วนบุคคล (Personnel Data) เช่น ข้อมูลที่ผู้บริหารบันทึกไว้สำหรับในการทำงานของตนเอง ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาจัดเตรียมให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมจะทำงานเชิงวิเคราะห์ (Analytical Data) ตามที่ผู้บริหารต้องการได้ คลังข้อมูลจะเป็นฐานข้อมูลลำหรับการวิเคราะห์ด้วยชุดคำสั่งงานต่าง ๆ เช่น การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์หรือโอแลบ (On-Line Analytical Processing, OLAP) การทำเหมืองพ้อมูล (Data Mining) และระบบสารสนเทศอื่น ๆ เป็นต้น ดูเพิ่มเติม คลังข้อมูล (Data Warehouse) และ คลังข้อมูล (Data Warehouse) และทะเลสาบข้อมูล (Data Lake)
5) การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Operations Research & Numerical Methods) ชุดคำสั่งงานเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยชุดคำสั่งงานหลายแบบ ที่จะทำการวิเคราะห์ในจุดมุ่งหมายและประเด็นที่แตกต่างหลากหลายกันไป ผู้ใช้จะต้องเลือกชุดคำสั่งงานตามที่ต้องการมาใช้ เช่น
- ชุดคำสั่งงานในการจัดทำรายงาน รวมถึงการนำเสนอรายงานจากการสอบถามที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อน (Ad Hoc Query) รายงานที่นำเสนอมักจะเป็นผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การดำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน หรือการติดตามค่าเป้าหมายของการดำเนินงานที่ลำคัญ การนำเสนอรายงานมักจะอยู่ในรูปแบบของกราฟเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายผ่าน Dashboard ที่ผู้ใช้สามารถข้าถึงผ่านหน้าเว็บไชต์ที่จัดทำไว้
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) แบบประมวลผลทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป (Online Analytical Processing, OLAP) เป็นชุดคำสั่งงานที่ช่วยให้ผู้ใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากคลังข้อมูล มีการประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติ (Multidimensionality) เพื่อช่วยให้ผู้วิเคราะห์ได้มองเห็นข้อมูลในเชิงลึกในมิติต่าง ๆ เป็นการเสริมความเข้าใจในสถานการณ์ให้มากขึ้น
- การทำเหมืองข้อมูล (Data Miming) เป็นชุดคำสั่งงานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคันหาความสัมพันธ์ในระหว่างข้อมูลที่ไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน หรือคาดการณ์กันมาก่อน การได้ค้นพบสิ่งใหม่ก่อนผู้อื่นอาจจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันผลการวิเคราะห์ที่นำเสนอจากการทำเหมืองข้อมูล เช่น การวิเคราะห์เพื่อจัดประเคทลูกค้า การค้นหากลุ่มของลูกค้า การคันหาลักษณะหรือพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม การพยากรณ์พฤติกรรมของลูกค้าที่อาจจะพาไปสู่การกระทำที่ไม่ดี เช่น การฉัอโกงองค์กร เป็นต้น ดูเพิ่มเติม การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) และ การทำเหมืองข้อมูลโดยวิธี Cross-Industry Standard Process for Data Mining (CRISP-DM)
6) ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือ ข้อมูลในคลังที่มีการจัดแบ่งกลุ่มขนาดเล็ก ถูกออกแบบเพื่อใช้ในงานการจัดการทางธุรกิจ การจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic business unit, SBU) หรือใช้ในแผนกงาน การเก็บข้อมูลจะเลือกเอาที่จำเป็นและต้องการใช้ในงานเฉพาะเท่านั้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ย่อยจาก Data Warehouse เป็นเหมือนคลังข้อมูลขนาดเล็กที่จัดเก็บข้อมูลมีลักษณะเฉพาะ เพื่อให้มีขนาดของข้อมูลที่เล็กลงและค่าใช้จ่ายต่ำ ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ
7) จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอและหน้าจอในการติดตาม (BI Report & Deskboard) เป็นชุดเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำรายงานที่ได้ นำเอาข้อมูลที่มีความหลากหลายมาวิเคราะห์จัดการด้วยชุดคำสั่งงาน เกิดเป็นสารสนทศตามที่ผู้ใช้ต้องการและจัดทำการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ หรือเส้นกราฟที่ดูง่ายยิ่งขึ้น
Business Intelligence
- BI ไม่ใช่เรื่องใหม่ แนวความคิดนี้มีในโลกตั้งแต่ยุค 80
- BI ในปัจจุบันไม่มีนิยามชัดเจน เพราะขึ้นกับเทคโนโลยีของแต่ละค่ายที่จะพัฒนาไป ทำให้ความสามารถไม่เท่ากันในแต่ละค่าย คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่องค์กรอยากจะได้ให้ชัดเจน ระบุงบประมาณที่สามารถจัดสรรได้ และต้องมี IT Master Plan ให้ชัดเจน ว่าจะพัฒนาบุคคลากรทุกระดับเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ของงานในมุมมองต่างๆ ตามแต่ละแผนก เช่น
- วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
- วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ
- วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต
- วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ
- วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ
BI เป็นความหวังของผู้ประกอบการที่จะได้เข้าถึงข้อมูลในเชิงลึก เพื่อทำความเข้าใจในผลประกอบการ สภาพการแข่งขันเพื่อแสวงหาวิธีการ กลยุทธ์ มาใช้ช่วยในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ แต่การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีบีไอใช้ในองค์กรอย่างเดียวแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
1. ผู้บริหารเป็นผู้ที่ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการบริหารและการตัดสินใจ
2. ผู้บริหารเป็นผู้ที่ตั้งใจและตะหนักว่าตนเองต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศอะไร
3. องค์กรหรือหน่วยงานต้องมีความพร้อมในข้อมูลจากการปฏิบัติงานเพื่อนำเข้าสู่คลังข้อมูล
มิฉะนั้นองค์กรอาจจะประสบความลัมหลวของการนำปิไอมาใช้งาน ซึ่งหมายถึงงินจำนวนมากที่สูญเสียไป เนื่องจากการนำบิไอมาใช้มีค่าใช้จ่ายที่สูงทีเดียว
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
BI ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะ (introduction to business intelligence)
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (ฺBig Data)