Big Data ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
Big data ปรากฏขึ้นในบทความเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1997 เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่า ได้มีการกล่าวถึงปัญหาที่พบเกิดเนื่องมากจากการมีข้อมูลมากมายมหาศาล ที่ใหญ่เกินกว่าจะจัดเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ความหมายที่กล่าวกันโดยทั่วไปของคำว่า Big data ก็คือ ข้อมูลขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการก้าวไกลของเทคโนโลยี จึงเกิดปัญหาการเก็บข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมาก เกินขอบเขตหรือความสามารถของการจัดการข้อมูลแบบเดิมจะบันทึก จัดการและประมวลได้ภายในเวลาที่สมควร
จากเวที World Economic Forum 2011 ได้กล่าวถึงวลีที่ว่า "ข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่มีค่าทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับน้ำมัน" เนื่องจากมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ จากความก้าวหน้าและช่องทางการใช้เทคโนโลยีสารสนทศในการดำเนินงานการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคลากรที่ทำงานด้วยกัน ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและระหว่างบริษัทคู่ค้าด้วยกันเอง ด้วยปริมาณเนื้อหาข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบทวีคูณในแต่ละวัน ทำให้ในปัจจุบันประมาณการเนื้อหาในวิกิพีเดียมีปริมาณมากกว่าหลายล้านหัวข้อ มีจำนวนเว็บบล็อกทั้งหมดหลายร้อยล้านบล็อก รวมถึงจดหมายอิเล็คโทรนิคหรืออีเมล์ที่ส่งไปมาหากันหลายพันล้านฉบับในแต่ละวัน และยังพบว่าเมลล์มากว่าร้อยละ 80 จะเป็นจดหมายขยะหรือที่เรียกว่าสแปมเมล ด้วยข้อมูลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวดเร็วและทั่วทุกหนทุกแห่ง จนข้อมูลที่จัดเก็บมีปริมาณมากมายมหาศาลเปรียบได้กับมหาสมุทรข้อมูล (An Ocean of Data) จึงทำให้เกิดคำศัพท์ ขนาดมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า (Big Data) ขึ้นมา การปรับตัวให้ทันเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ถือเป็นความสำคัญเร่งด่วนที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจในประเทศไทย จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลถึงสถานะการแข่งขันทุกด้านของประเทศในสังคมโลก และศวามเป็นอยู่ของประชากรไทยในอนาคต หากประเทศไม่ดำเนินการในเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่ ก็จะสูญเสียโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาประเทศ
ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ถือเป็น 1 ใน 10 เรื่องสำคัญ ในเรื่องที่เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต (IT) ที่โลกและประเทศไทยต้องเรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีในอนาคตใน 10 เรื่อง ประกอบด้วย เทคโนโลยี Cloud, Big Data, 4G3, SaaS4, ICT Securitys, Mobile Banking, E-Commerce7, Al, Smart Devices และ IoT ซึ่งทั้ง 10 เทคโนโลยีดังกล่าว เป็นองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยียุคใหม่ที่ทุกองค์กรในยุคปัจจุบันจะต้องให้ความใส่ใจเรียนรู้ และนำมาพัฒนาองค์กรเพื่อไม่ให้ตกยุคหรือกลายเป็นองค์กรล้าหลัง
ในยุคแรก Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาทางธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นิยามความหมายของ Big data ว่ามีคุณสมบัติ 3 ประการ (3V) ด้วยกัน คือ มีขนาดใหญ่มหาศาล (Volume) เป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว (Velocity) เช่น ข้อมูลจาก Social media และมีโครงสร้างหลายรูปแบบ (Variety) เช่น เป็นข้อความ เป็นตาราง ข้อมูล เป็นภาษา XML เป็นเสียง หรือเป็นรูปภาพ และในภายหลังได้มีการเพิ่มเติมไปอีกหลายตัวเช่น Varacity หรือ Volume
Big Data คือ การนำข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ มาผ่านการประมวลผลการวิเคราะห์และแสดงผลด้วยวิธีที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลการดำเนินงาน ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร รวมไปถึงข้อมูลที่ได้มีการจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล ซึ่งจะมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมากมายมหาศาล ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีการจัดการทั่วไปได้อย่างมีคุณภาพ จึงต้องใช้แนวคิด Big Data ในการจัดการแทน ในปัจจุบันขนาดข้อมูลที่ถือว่ามีขนาดใหญ่มาก จะนับเริ่มต้นจากขนาดที่มากกว่า Terabyte ขึ้นไป (เท่ากับ 1,024 Gigabyte) ถัดขึ้นมาก็จะเป็น Petabyte (เท่ากับ 1,024 Terabyte) และ Exabyte (เท่ากับ 1,024 Petabyte) โดยการจัดเก็บข้อมูลนั้นจะมีลักษณะทั้งที่เป็นแบบมีโครงสร้าง (Structured) หรือไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) ก็ได้
การนำ Big data มาใช้ประโยชน์ เพื่อมาประมวลผลเป็นการใช้ศาสตร์เพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่มากมาย มาใช้เพื่อแปลความหมายและสรุปข้อเท็จจริงเพื่อใช้ในการตัดสินใจ และ Data analytics เป็นศาสตร์หรือวิธีการหนึ่งที่จะนำ Big data มาใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ การขาย การตลาด การเมือง และเศรษฐกิจ ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ตัวอย่างการใช้ประโยชน์เช่น
1. การวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้เห็นความสัมพันธ์ด้านอื่นที่ซ่อนอยู่ เช่น ข้อมูลลูกค้า ระยะเวลา และการซื้อ ที่เมื่อนำมารวมกันประมวลผล ทำให้สามารถพยากรณ์และพัฒนาแผนการตลาดที่ดีได้
2. ทำให้สามารถพัฒนาทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่ เหมาะสมตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้ ช่วยทำให้เกิดความพึงพอใจและประทับใจในบริการ
จะเห็นได้ว่าข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่กระจัดกระจาย ซึ่งมีอยู่มากมายมหาศาลเมื่อนำเอาแนวคิด Big Data มาวิเคราะห์ประมวลผลทำให้เกิด ประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรและผู้รับบริการ
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็น Big Data
1. ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
2. ข้อมูลการบริการทางเว็บไซต์ (Web Server Log)
3. ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจตราการจราจร (Traffic Flow Sensors)
4. ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite Imagery)
5. ข้อมูลการสื่อสารจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Telemetry from Automobiles)
6. ข้อมูลด้านการตลาดการเงิน (Financial Market Data)
ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
การนำข้อมูลขนาดใหญ๋มาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สำหรับในภาคธุรกิจการค้าการลงทุนนั้น เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการจะที่นำ Big Data มาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ โดยมีตัวอย่างเช่น
- อุตสาหกรรมค้าปลีกนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ทำให้เห็นข้อมูลของลูกค้ารอบด้าน (Customer 360) หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) นำมาจัดแผนการตลาด สร้างแคมเปญตอบสนองต่อพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ให้ดึงดูดลูกค้าเข้ามาจับจ่ายให้มากที่สุด ในสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่สูงเพื่อสร้างช่องทางใหม่ ๆ มาเป็นทางเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น
- อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ใช้ในการวิเคราะห์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ วิเคราะห์การใช้งานของลูกค้า การวิเคราะห์แนวโน้มการย้ายค่ายของลูกค้า (Customer Churn) และนำเอาข้อมูลไปต่อยอดเพิ่มการให้บริการอีกมากมาย อีกทั้งยังสำมารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เรื่องความมั่นคงปลอดภัย ให้เป็นประโยชน์กับลูกค้าและเพื่อสาธารณะได้อีกด้วย
- อุตสาหกรรมการเงิน วิเคราะห์การฉ้อโกงเงิน การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า การแบ่งกลุ่มลูกค้า และการวิเคราะห์ความเสี่ยงของลูกค้า
- ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การพยากรณ์อากาศ การคาดการณ์ข้อมูลน้ำ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเชอร์ต่าง ๆ การใช้งานพลังงาน
- งานด้านการตลาด อาจนำมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) การวิเคราะห์ข้อมูลที่พูดถึงสินค้าหรือแบรนด์ของหน่วยงาน (Sentiment Analysis) การค้นหาลูกค้าใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์
- งานด้านบันเทิง หรือการท่องเที่ยว เป็นการวิเคราะห์กระแสความนิยม talk of the town ในแต่ละกลุ่มบริการซึ่งมีส่วนเกี่ยวโยงกับ ข้อมูล ความคิดเห็น ในโซเชียลมีเดีย เป็นส่วนใหญ่ เพื่อจัดโปรแกรมหรืองานที่สร้างความสนใจให้ได้ตรงกับความสนใจของตลาด ในแต่ละช่วง แต่ละเวลา กับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันไปการนำ"บิ๊กดาต้า (Bg Data)" มาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ เป็นการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อหาความต้องการสินค้าใหม่หรือการบริการในรูปแบบใหม่ ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังต่อไปนี้
1) สร้างมูลค่าทางธุรกิจ
2) การนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจหรือนำมาสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
3) การนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยประเมินระยะวลาและประเมินงบประมาณค่ใช้จ่ายของการทำโครงการใหม่ ๆ ให้ใกล้คียกับการปฏิบัติงานจริง หรือช่วยแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในโครงการใหม่
4) การนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อนำไปวางแผนการตลาด วางแผนการส่งเสริมการขาย การวางแผนเชิงรุกของการทำงานในอนาคต หรือทำให้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมา ฯลฯ
5) การนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำให้เกิดสถานการณ์การแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจที่ทำธุรกิจเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคเพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถได้รับรู้และเข้าใจข้อมูลของสินค้าที่มีในท้องตลาดได้มากขึ้น และมีการแข่งขันในการบริการของแต่ละบริษัทในธุรกิจทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้น สามารถตัดสินใจที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองในระยะเวลาที่สั้นทันต่อความต้องการ
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)