Disruption เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Disruptive
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ที่ดีอาร์ไอ) ได้จัดทำหนังสือเล่มนี้โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และภาครัฐ เพื่อให้สามารถรับมือในยุคแห่งเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันได้
Disruptive Technology คืออะไร คำว่า Disruption เป็นแนวคิดที่ต่อเนื่องจากแนวความคิดเรื่อง การทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Destruction) ของ Joseph Schumpster ชาวออสเตรีย ในช่วงต้นศตวรรณที่ 20 มีการจำแนกเทคโนโลยีเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- Sustaining Technology เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในตลาดแบบค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย
- Disruptive Technology เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน และกระทบโครงสร้างตลาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า เช่น สินค้าราคาถูกลง ใช้ง่ายหรือสะดวกขึ้น ซึ่งสุดท้ายอาจทำให้ตลาดเดิมถูกกำลายไป
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แก่
1. เทคโนโลยี IOT (Internet of Things, IOT) หมายถึง การนำสิ่งของต่าง ๆ ในโลกกายภาพ ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อผ่านตัวเซ็นซอร์ที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้เราสามารถเชื่อมโยงทำการติดสื่อสารและเก็บข้อมูล รวมถึงนำมาประมวลผลได้ดีขึ้น เทคโนโลยี IOT จึงอาจช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตในอนาคต เช่น
- บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) สามารถใช้ในการสั่ง เปิด-ปิด ไฟฟ้า ประตู หน้าต่าง รวมถึงตรวจสอบการเข้า-ออกของแขกที่มาเยือน และยังสามารถแจ้งเตือน เมื่อตรวจพบกิจกรรมน่าสงสัยได้ผ่านสมาร์กโฟนหรือแท็บเล็ตจากระยะไกล
- โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) เชื่อมต่อการทำงานของสายการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานเดียวกันรวมถึงโรงงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้โรงงานสามารถที่จะเก็บข้อมูล ประมวลผล และสั่งการเครื่องจักรจากระยะไกลได้
- เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เชื่อมต่อระบบสาธารณูปโภคภายในเมืองด้วย ระบบไฟฟ้า ประปา และการจราจร โตยบริหารจัดการระบบจากศูนย์ควบคุมของเมือง
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ ...
2. การปฏิวัติข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นหัวใจสำคัญของ Disruptive Technology ในปัจจุบัน เพราะข้อมูลนาดใหญ่ทำให้เราสามารถค้นพบแบบแผนต่าง ๆ ในพฤติกรรมของมนุษย์ โตยใช้ปัญญาประดิษฐ์
ตัวอย่าง Big Data ในโลกธุรกิจ Netfix ผู้ให้บริการดูภาพยนตร์ผ่านระบบสตรีมมิ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน เช่น วันที่รับชม การค้นหา การกดหยุดเล่นอุปกรณ์ที่ใช้ และการให้คะแนน (rating) แล้วนำมาทำเป็น Big Data เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ชมนำจะอยากดูภาพยนตร์เรื่องใดต่อไปได้อย่างค่อนข้างถูกต้องทำให้สามารถขยายฐานสมาชิกได้กว่า 167 สานคนทั่วโลก ในปี 2562
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
3. เทคโนโลยีปัญญาประติษฐ์ (Artificial Intelligence; Al) เป็นการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้มีสติปัญญาและความฉลาดคล้ายคลึงหรือเหนือกว่ามนุษย์ โดยใช้วิทยาการด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) โดยเฉพาะการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ซึ่งสามารกใช้หาแบบแผนในข้อมูลขนาดใหญ่ใด้
ตัวอย่างปัญญาประดิษฐ์ในโลกธุรกิจ
- Alibaba สามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เรามีแนวโน้มจะซื้อ
- Youtube สามารถแนะนำวีดีโอซึ่งเรามีแนวโน้มที่จะเข้าไปดูต่อไป
- ตู้คลีนิค AI ที่ชื่อ Ping An Good Doctor เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงใน 8 มณฑลของจีน สามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้นง่าย ๆ ผ่านการตอบคำถามด้วยระบบ AI และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยได้กายใน 1 นาที โดยสามารถวินิจฉัยโรคเบื้องตันได้มากถึง 2,000 โรค
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ ..
4. เทคโนโลยี Cloud Computing ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงและใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ หน่วยเก็บข้อมูล รวมถึงแอปพลิเคชัน ผ่านระบบอินทอร์เน็ตที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล และยังช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกอุปกรณ์ ในทุกเวลาและทุกสถานที่บนโลก
ตัวอย่าง Cloud Computing ในโลกธุรกิจ
- บริษัก Texton ของสหรัฐฯ ซึ่งดำเนินธุรกิจอากาศยาน รถยนต์ และการทหารต้องขยายพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลมากกว่า 30% ต่อปี จึงเริ่มใช้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์แบบไฮบริตของ Microsoft โดยจัดเก็บอมูลที่ใช้บ่อยไว้ในอุปกรณ์จัดก็บข้อมูลที่มีความเร็งสูงของบริษัท
และจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ไม่บ่อยนัก รวมถึงข้อมูลเก่าไค่อยได้ใช้ไว้บนคลาวด์ที่มีต้นทุนต่ำกว่า การจัดเก็บข้อมูลแบบไฮบริดดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือกว่า 80% ปรับเพิ่มหรือลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็วรวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติจากเดิมประมาณ 48-72 ชั่วโมงมาเป็นเกือบจะในทันที
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ Cloud รวมความรู้ในเรื่องการประมวลผลบนระบบคลาวด์ (Cloud Computing)
5. เทคโนโลยีหุ่นยนต์เละระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเพิ่มผลิตภาพ ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดต่อมนุษย์ รวมถึงช่วยลดความสี่ยงและอันตรายจากการทำงาน โดยใช้หุ้มยนต์แลระบบอัตโมมัติทำงานที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์
ตัวอย่าง หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโลกธุรกิจ
- บริษัก Spread ในประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำในการทำเกษตรแนวดิ่ง (vertical farming) ในรูปแบบโรงงานผลิตพืช (plant factory) ได้พัฒนาระบบการดำเนินงานเรียกว่า "Techno Farm." ที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโมัติในการควบคุมสภาพแวดล้อมของการปลูกพืชในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเพาะเมล็ดจนถึงการเก็บเกี่ยว โดยโรงงาน Techno Farm Keihanna ในเมืองเกียวโต สามารถผลิตผักกาดหอมได้ถึง 30.000 หัวต่อวัน โดยแทบไม่ต้องใช้แรงงานคน
6. รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicles) สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยคนควบคุมจากการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบด้วย
- Deep Learning ทำหน้าที่เสมือนเป็นสมอง ทำให้รกยนต์ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองจากการประมวลผลข้อมูล
- Navigation ประกอบต้วยระบบระบุตำแหน่งของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติจากดาวทียม และระบบแผนที่ติจกัล
- Computer Vision ทำหนำที่เสมือนเป็นตาของรถที่ตรวจจับสภาพแวดลือม
ตัวอย่าง รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในโลกธุรกิจ
WeRide ผู้ให้บริการแอปพลิดชันเรียกรถเช่าของจีน เริ่มทดสอบแท็กซี่ไร้คนขับ (Robotaxi) ที่มีความอัตโนมัติในระดับที่ 4 จาก 5 ระดับ (สามารถขับขี่ได้ด้วยตนเองภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด เช่น การขับคลื่อนอัตโนบัติในเส้นทางที่เคยบันทึกไว้) บนถนนสาธารณะในเมืองกวางโจวจากการทดลองพบว่า ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสามารถรับมือกับสถานการณ์ทั่วไปได้ดี แต่มนุษย์อาจต้องเข้ามาควบคุมรถยนต์แทนในกรณีที่สถานการณ์มีความซับซ้อน เช่น รถยนต์ 2 คันพยายามเข้ามาแทรกเลนจากทางด้านหน้าและด้านหลังพร้อมกัน
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ ...
7. เทคโนโลยีโดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle; UAV) คือ อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินควบคุมอยู่บนอากาศยาน โดยอาจควบคุมจากระยะไกล หรือสามารถตั้งโปรแกรมให้ทำงานได้เอง โครนถูกนำมาใช้งานในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อนักบินหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และช่วยลดต้นทุนทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายด้าน
ตัวอย่างโดรนในโลกธุรกิจ
จีนถือเป็นผู้นำด้านการผลิตโครนเพื่อการพาณิชย์ โดยในปี 2560 จีนครองส่วนแบ่งตลาดโดรนเพื่อการพาณิชย์ที่วางจำหน่ายทั่วโลกถึง 70% และมีการใช้งานโดรนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย เครือมิตรผลใช้โดรมในการติดตามการจริญเติบโตของอ้อยเพื่อช่วยให้สามารถแก้ไขบริวณที่อ้อยมีการเดิบโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็นได้ทันท่วงที
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ ...
8. เทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality; AR) คือ เทคโนโลยีที่เสริมสภาพแวดล้อมจริงด้วยข้อมูลเสมือน และยังมีเทคโนโลยีที่สร้างทัศนียกาพโดยคอมพิวเตอร์ (Virtual Reality; VR) คือ การจำลองและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้ช้งานเสมือนอยู่ในโลกจริง การนำ AR และ VR มาผสมผสานกันยังทำให้เกิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Mixed Reality หรือ Merged Reality (MR) โดย M ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบ และจัดการกับโลกจริงและโลกเสมือนได้
ในปัจจุบันเทคโนโลยื AR/VR ถูกนำไปใช้หลากหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการโฆษณาและบันเทิง เนื่องจากสามารถสร้างความเสมือนจริง และช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้มากกว่าเทคโนโลยีสามมีติหรือสองมิติ แบบเดิมที่แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ เช่น การลองเสื้อผ้าเสมือนที่สร้างขึ้นโดย AR เลี่อนสไตล์ เปลี่ยนสี หรือขนาด นอกจากนี้ ยังมีการเอาเทคโนโลยี AR/VR มาใช้ในการฝึกฝนทักษะเฉพาะที่ต้องเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การจำลองการขับเครื่องบิน (Fight simulation) การจำลองการผ่าตัดของนักเรียบพทย์ โดย AR ช่วยให้ประสิทธิกาพและผลการผ่าตัดดีขึ้น
ตัวอย่าง AR/VR ในโลกธุรกิจ
Panasonic ประยุกต์ใช้ AR ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานโดยนำเอาเท็ปเล็ตที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ AR ชี้ไปที่เครื่องจักรที่ต้องการซ่อมบำรุง ระบบจะขึ้นข้อความ คำสั่ง ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรนั้นขึ้นมาในจอ ซึ่งทำให้ช่างช่อมบำรุงมือใหม่ สามารถซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้เสมือนผู้ชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มานาน ซึ่งจะช่วยยกระดับผลิตภาพแรงงานได้มาก
9. เทคโนโลยี 5G เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายรุ่นใหม่ ที่มีขีดความสามารถหนือกว่า 4G อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ความเร็วสูงโดยสามารถสื่อสารความเร็วสูงได้สูงสุดถึง 20 Gbps, การตอบสนองได้เร็วมากโดยมีความหน่วง (latency) น้อยกว่า 1/1000 วินาที และเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนกว่า 1 ล้านชิ้นในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรพร้อมกันได้ เทคโนโลยี 5G จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ เช่น IOT และ AR/VR สามารถพัฒนาไต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังช่วยทำให้โมเดลธุรกิจแบบใหม่ ที่อาศัยการเชื่อมต่อไร้สายแบบเรียวไทม์สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การผ่าตัดทางไกล และรถยนต์ไร้คนขับ
ตัวอย่าง 5G ในโลกธุรกิจ
Vodafone ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่จากสหราชอาณาจักร ได้ทดลองใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อเชื่อมสำนักงานในเมืองกับสำนักงานใหญ่ ซึ่งห่างกันประมาณ 280 กิโลเมตร
10. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) คือ เทคโนโลยีกระบวนการขึ้นรูปวัตถุสามมิติจากโปรแกรบคอบผิวตอร์ ด้วยการเติมเนื้อวัสดุเข้าไปทีละชั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสามารถใช้วัสดุหลากหลาย เช่น สามารถขึ้นรูปโลหะหรือพลาสติกด้วยความเร็วมากกว่าเครื่องพิบพ์แบบเลเซอร์ถึง 80 ถึง 100 เท่า และมีต้นทุนต่ำกว่าถึง 10 เท่า ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งสามารกผลิตสินค้าที่หลากหลายได้ในต้นทุนที่ต่ำ และเอื้อต่อการผลิตสินค้าที่มีการออกแบบที่ชับซ้อนและรูปร่างแปลก ๆ ซึ่งการผลิตแบบตั้งเดิมทำไม่ได้ เช่น การผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการเฉพาะ
ตัวอย่างการพิมพ์ 3 มิติในโลกธุรกิจ
โรงงาน Speedfactory ของ Adidas ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตีในการผลิตพื้นรองเท้ากีฬา โดยสามารถปรับโครงสร้างของพื้นรองท้าให้รองรับท้าสำหรับลูกด้แต่ละคน การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ทำให้ Adidas สามารถผลิตพื้นรองเท้าที่มีความหนาแน่นแต่ละจุดแตกต่างกัน แต่เป็นชิ้นเดียวกันขึ้นมาได้
11. เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchan) เป็นเทคโนโลยีในการเก็บและจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Ledger Technology) ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายฝ่ายและมีกลไกในการตรวจสอบร่วมกันเพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล บล็อกเชนมีข้อได้เปรียบกว่าฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์คือ มีความปลอดภัยสูงและไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในระบบ บล็อกเชนจึงเหมาะกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัล ที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลง
ตัวอย่าง บล็อกเชนในโลกธุรกิจ
MIT Media Lab ทดลองการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้จัดการฐานข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งจะดึงข้อมูลจากสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมโครงการเข้าสู่ระบบเดียวกัน ทำให้บุคลากรด้านการแพทย์สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลของผู้ป่วยร่วมกันได้เมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยแล้ว
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว เทคโนโลยีป่วนโลก (Disruptive Technology) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Disruption เทคโนโลยีป่วนโลก (Disruptive Technology) รวมบทความ-------------------------------------------------