ERP ความหมายของ ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning)
ความหมายของระบบ ERP ในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องสร้างความเตกต่างให้กับสินค้ำและผลิตภัณฑ์ของตน ตลอดจนต้องสร้างมูลค่าเพิ่มและหาวิธีในการลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่สถานประกอบการอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญโดยฉพาะ ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร หรือที่เรามักเรียกสั้น ๆ กันว่าระบบ ERP (Enterprise Resource Planning; ERP System) ซึ่งเป็นระบบการวางแผนและควบคุมทรัพยากรขององค์กร ด้วยการเชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแค่ระบบงานทางด้านการวางแผนการผลิต (Production Planning) การจัดการวัสดุ (Materials Management) การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) การจัดการด้านคุณภาพ (Quality Managemen) การจัดซื้อ (Purchasing) การขายและกระจายสินค้ำ (Sales and Distribution) การบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) และระบบงานทรัพยากรบุคคล (Human Resouree) เป็นต้น
เพื่อช่วยให้การวางแผนและจัดการทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลา และขั้นตอนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนและการตัดสินไของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิผล จากการที่ธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นการประกอบกิจกรรม การส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการสร้างมูลค่า ของทรัพยากรธุรกิจให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการและส่งมอบมูลค่า นั้นให้แก่ลูกค้ำ กระบวนการสร้งมูลค่าจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนจะรับผิดชอบงานในส่วนของตน และมูลค่าสุดท้ายจะเกิดจากการประสานงานระหว่างแต่ละส่วนหรือแผนกย่อย ๆ ดังนั้น กิจกรรมที่สร้างมูลค่าจึงประกอบขึ้นด้วยการเชื่อมโยงกิจกรรมของแผนกต่าง ๆ ในองค์กร จากรูปแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ส่วนสำคัญคือ การจัดซื้อจัดหา การผลิต และการขาย ระบบ ERP ที่ดีจึงควรจะต้องประกอบด้วยระบบที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์กรที่ครบถ้วย โดยจะต้องมี การบริหารการขาย การจัดการด้านการผลิต การจัดชื้อจัดหา การบัญชีและการเงิน เป็นต้น
โดยแต่ละระบบต้องมีการปรับกระบวนการทำงานและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้สามารถตอบสนองเป้าหมายขององค์กรใน!ต่ละธุรกิจอุตสาหกรรม ระบบ ERP จะประมวลผลข้อมูลแบบเวลาจริงและบันทึกผลลงในฐานข้อมูลที่จัดรวมในระบบเดียวกัน โดยฐานข้อมูลกลางที่รวมนั้นจะต้องสามารถถูกเรียกใช้ได้จากทุกระบบได้โดยตรงโดยไม่จำป็นต้องทำการประมวลผลทุกสิ้นวัน หรือต้องมาเสียเวบาในการโอนข้อมูลระหว่างแต่ละระบบ ระบบ ERP มี่ดีจะต้องสามารถออกแบบกระบวนการทางธุรกิจในองค์กรให้มีประสิทธิภาพที่ดีได้ เพื่อเพิ่มขีตความสามารถในการแข่งขันด้วยการส่งมอบสินค้าและให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ประโยชน์ของระบบ ERP
1. ระบบ ERP สามารถรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจภาพรวมของฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการตัดสินใจของผู้บริหาร
2. ระบบ ERP รวบรวมข้อมูลการสั่งสินค้ำของลูกค้า ตั้งแต่การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านตัวเทนขาย จนกระทั่งถึงขั้นตอนของการส่งสินค้ำและเก็บเงิน ทำให้บริษัทดำเนินการต่าง ๆ ได้ละควกรวดเร็ว รวมถึงสื่อสารภายในระหว่างกันได้ง่ายขึ้น และสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการประสานกันระหว่างกระบวนงานตั้งแต่การผลิต การเก็บรักษาสินค้าคงคลังจนถึงการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าไปยังที่หมายปลายทางที่ต่างกันได้ตามกำหนดส่งมอบสินค้าของลูกค้า
3. สร้างมาตรฐานและเพิ่มความรวดเร็วในการวางแผนและควบคุมการผลิต โดยธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบ ERP สามารถสร้างมาตรฐานและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนเละควบคุมการผลิต ทำให้ประหยัดเวลาในการดำนินการ และสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี
4. ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ระบบ ERP ช่วยให้การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling; MPS) ซึ่งเป็นการวางแผนการผลิตสำหรับสินค้าสำเร็รูป การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material RequirementsPlanning; MRP) ซึ่งเป็นการวางแผนในส่วนของสินค้าระหว่างผลิต (WIP) และวัตถุดิบ การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) และการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) ทำให้สามารถวางแผนการสั่งผลิตสินค้าสำเร็จรูปสินค้าระหว่างผลิตและชิ้นส่วน รวมทั้งการสั่งซื้อด้วยปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม ทำให้ช่วยลดสินค้าคงคลังลงได้ ทั้งในส่วนของสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิตและวัตถุดิบ และยังช่วยในการวางแผนในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าซึ่งจะช่วยลดสินค้าสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี
5. ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่งระบบ ERP จะสามารถลดปัญหาการสื่อสาร การเชื่อมโยงข้อมูล การวางแผนร่วมกันระหว่างแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกขาย ฝ่ยผลิต คลังสินค้ำ และแผนกจัดซื้อ ทำให้การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management) มีความสอดคล้องประสานกันด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งองค์กร ลามารถลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดวลา และสามารถตอบสนองลูกค้ได้อย่างรวดเร็ว
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง ERP คลิกที่นี่
ERP ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning)