Big Data รูปแบบการบริการข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Government Big Data as a Service) ของไทย
รูปแบบการบริการข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Government Big Data as a Service) ของไทย
ใน พ.ศ. 2560 หน่วยงานราชการของไทย จะเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่หรือที่เรียกกันว่าบิ๊กดาต้า (Big Data) ที่มุ่งจะให้มีการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในงานของภาครัฐ โดยมี สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการและเปิดให้บริการกับทุกหน่วยในรูปแบบของ Government Big Data as a Service โดยวางสถาปัตยกรรมให้ทำงานบน Government Cloud Computing หรือ G-Cloud ซึ่งหน่วยงานราชการคุ้นเคย
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้คัดเลือกสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
- System Architecture สำหรับการประมวลผลแบบ Batch
- Interactive
- Real Time
โดยทั้ง 3 แบบทาง EGA จะได้นำมาใช้เป็นตัวแบบสำหรับการพัฒนาระบบ Government Big Data as a Service เพื่อให้บริการด้าน Big Data Analytics สำหรับใช้ใน
ราชการไทยต่อไป ขณะนี้ได้มีการพัฒนาต้นแบบ และกำหนดรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ สำหรับ Government Big Data as a Service แล้ว สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะทำการติดตั้งระบบทั้งหมด ทั้งการลงทุนจัดซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงจัดการเครือข่าย หรือเน็ตเวิร์คกิ้ง ทั้งระบบ เพื่อทำให้ระบุบ Government
Big Data as a Service ของไทยมีการบริหารจัดการโดยหน่วยงานเดียวเพื่อลดความยุ่งยาก และการลงทุนที่ซับช้อน อีกทั้งต้องการให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ทั้งหมดอยู่ในแพลตฟอร์ม หรือมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ที่เหมือนกัน เมื่อระบบได้ทำการติดตั้งแล้วเสร็จ หน่วยงานราชการทั่วไปที่ต้องการใช้งานระบบ Big Data Analytics หรือระบบการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาล สามารถออนไลน์เข้ามาใช้บริการได้ โดยเงื่อนไขการดำเนินงานจะเป็นเช่นเดียวกับการให้บริการระบบ G-Cloud ในปัจจุบัน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้ทั้งการวิเคราะห์จากข้อมูลของตนเอง หรือการวิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานตนเองผสมกับหน่วยงานอื่นที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งจะทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลและทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) เริ่มต้นดำเนินโครงการ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ภาครัฐแห่งแรก โดยเลือกข้อมูลการจราจรของกรมทางหลวงเป็นตันแบบ และทำบันทึกข้อตกลงเรื่องการสร้างต้นแบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระหว่าง 3 หน่วยงานได้แก่ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA กับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC และ กรมทางหลวง เริ่มการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐไทยที่นำบริการข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ ทั้งที่เป็นข้อมูลที่มีการบันทึกโดยมนุษย์ และข้อมูลที่มีการจัดเก็บโดยอุปกรณ์และไหลผ่านเครือข่าย (Internet of Things) มาวิเคราะห์ผ่านระบบประมวลผลขนาดใหญ่ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านบริการของภาครัฐสู่ประชาชน และเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ การมุ่งไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ภาครัฐจะเข้าสู่การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ เพื่อวางโครงสร้างการจัดระเบียบชุดข้อมูล การบริหารข้อมูล และการเปิดเผยข้อมูล โดยนำข้อมูลที่มีอยู่เปิดผยสู่สาธารณะ และวางระบบข้อมูลใหม่เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานยุคดิจิทัลเพื่อรองรับการเติบโตของรุกิจภายในประเทศ โดยภาครัฐจะมีการปรับโครงสร้างด้านการบริหารงานเพื่อรองรับยุคการขับเคลื่อนของข้อมูลข่าสารอย่างจริงจัง (Data Driven)
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)