iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

ความรู้และความเชี่ยวชาญที่จำเป็นของเจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS

ความรู้และความเชี่ยวชาญที่จำเป็นของเจ้าหน้าที่ในงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะต้องเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์สรุปนำเสนอและการจัดทำแสดงผลแผนที่ ซึ่งจะมีการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ควรความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวคิดเทคนิคและการประยุกต์ใช้ GIS ประกอบด้วย

- ความรู้พื้นฐานงานสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Fundamentals) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องมีความรู้เข้าใจในงานด้านภูมิศาสตร์ (Geography) การทำแผนที่ (Mapping) การจัดการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ประเภทข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial) ระบบพิกัด (La/long) และเส้นโครงแผนที่ เข้าใจหลักการพื้นฐานงานภูมิศาสตร์ และเข้าใจถึงส่วนประกอบของงาน GIS

- การจัดการข้อมูล (Data Acquisition and Management) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานจัดการข้อมูลเบื้องต้น เช่น การวางแผนการจัดเก็บ การรวบรวมข้อมูล การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล การได้มาข้อมูล การจัดระเบียบ ทำความสะอาดข้อมูลให้มีความถูกต้อง และปรับโครงสร้างจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่จากแหล่งต่างๆ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม อุปกรณ์ GPS หรือข้อมูลเปิดสาธารณะทั่วไปให้เหมาะสม

- การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องสามรถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้เป็นอย่างดี ต้องสามารถใช้แนวทางสถิติและระเบียบงานวิจัยในการทำงานได้เป็นอย่างดี ทำการปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การดำเนินการซ้อนทับเปรียบเทียบข้อมูล การวิเคราะห์ความใกล้เคียง การทำสถิติเชิงพื้นที่ และการวิเคราะห์จัดกลุ่มความสัมพันธ์ การจัดการข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย และสามารถจัดทำและแก้ไขเข้าใจเทคนิคในการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่

- ซอฟต์แวร์งานด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Software) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องมีความรู้ความเข้าใจในโปรแกรมที่จะนำมาใช้ในงานด้านนี้ครอบคลุม สามารถคัดเลือกออกแบบโปรแกรมที่จะนำมาใช้ในงานได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันซอฟต์แวร์ GIS มีหลากหลายบริษัท เช่น ArcGIS, QGIS หรือ GRASS GIS เป็นต้น จึงจำเป็นที่ต้องเลือกให้เหมาะสม จะพบว่าส่วนใหญ่ทุกโปรแกรมจะมีความสามารถในการทำงานคล้ายกัน เช่น การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ และการแสดงผลในแบบภาพแผนที่ เป็นต้น

- การแสดงแผนที่ (Cartographic Representation) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานด้านแผนที่และเทคนิคการทำแผนที่ สามารถจัดทำแผนที่ที่มีความถูกต้อง สร้างแผนที่ให้น่าสนใจสามารถดึงดูดสายตาและความสนใจได้ และแสดงแผนที่โดยอธิบายสัญลักษณ์ได้ชัดเจน 

- การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเที่ยม จะต้องมีความรู้และเข้าใจหลักการและการประยุกต์ใช้การสำรวจระยะไกล รวมถึงการจำแนกภาพ การตรวจจับการเปลี่ยนแปลง และดัชนีพืชพรรณได้

- แผนที่ดิจิทัลและเทคโนโลยีข้อมูลเชิงพื้นที่ (Web Mapping and Geospatial Technologies) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการทำแผนที่บนระบบเว็บไซต์ เนื่องจากในปัจจุบันโปรแกรมด้านนี้เริ่มใช้งานบนระบบเว็บไซต์มากขึ้น เช่น ARCGIS QGIS Leaflet หรือ Google Maps API เป็นต้น และยังควรเข้าใจในแนวคิดด้านการจัดการโค้ดหรือแผนที่ต่างๆ เช่น geocoding ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ และบริการเว็บเชิงพื้นที่ (WMS, WFS เป็นต้น)

- มาตรฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และการทำงานร่วมกัน (Geospatial Data Standards and Interoperability) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องสามารถอธิบายรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ต่างๆ (shapefile, GeoJSON, KML ฯลฯ) และมาตรฐาน (OGC, ISO) ตลอดจนข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานร่วมกันของข้อมูลได้

- การสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ (Spatial Decision Support) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มี มาทำสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการ เช่น การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม การกำหนดเส้นทาง และกระบวนการตัดสินใจเชิงพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างไร

- การประยุกต์ใช้งานสารสนเทศภูมิศาตร์ (Applications of GIS) เจ้าหน้าที่ในงานด้าน GIS ต้องสามารถนำสารสนเทศที่ได้มาช่วยประยุกต์ในการทำงาน เช่น การวางแผนการทำงาน การบริหารจัดการ การตัดสินใจที่ต้องใช้ข้อมู,ทางภูมิศาสตร์ เช่น การวางผังเมือง การจัดการสิ่งแวดล้อม การขนส่ง การเกษตร และสาธารณสุข เป็นต้น

 

ที่มาข้อมูล

รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com

---------------------------------------------

ดูข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)

--------------------------------------------- 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward