it องค์ประกอบเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (Hardware)
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (Hardware) เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 5 หน่วยสำคัญ
1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณนาฬิกา(Clock) เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดการทำงาน 1 รอบคำสั่ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่รอบคำสั่งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านรอบคำสั่ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงและซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
3 หน่วยเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก (Primary Storage หรือ Main Memory) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผลและรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป ซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM (Random Access Memory) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไปและ ROM (Read Only Memory) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนเริ่มเปิดเครื่องเพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น
3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่
4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
5 หน่วยสื่อสารข้อมูล (Communication Unit) ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไป หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการแลกเปล่ายนข้อมูลและข่าวสาร
ทั้ง 5 ส่วนที่กล่าวมาจะเชื่อมต่อกันด้วยระบบบัส (Bus) ทำหน้าที่ในการเป็นช่องทางหรือท่อเพื่อการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยการทำงาน
.
ที่มา https://www.ocsc.go.th/digital_learning_sources
รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
--------------------------------------------------------------
Digital Literacy ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ
--------------------------------------------------------------