iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

ct50 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการนำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึกกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก

ที่มา

เอกสารโครงการนำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึก กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

อุตสาหกรรมเซรามิก จัดเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญ มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง จึงเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ  จากผลการศึกษาโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอุตสาหกรรมพื้นฐาน : อุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งได้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2550 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาโลจิสติกส์อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องในอุตสาหกรรมเซรามิก จึงได้ดำเนิน “โครงการนำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึก กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใน การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างบุคลากรด้านโลจิสติกส์สำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 9 เดือน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงร้อยละ 15

ในการดำเนินโครงการดังกล่าว กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่โดยคณะที่ปรึกษาของโครงการได้รับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย ประกอบด้วยผู้ผลิตใน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มสุขภัณฑ์ กลุ่มกระเบื้อง และกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วย และเครื่องประดับ มีทั้งผู้ประกอบการที่เป็นกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จากนั้นได้มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ จำนวน 5 ครั้ง โดย

ครั้งที่ 1 อบรมปรับพื้นฐานและสร้างความเข้าใจด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านโลจิสติกส์เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านโลจิสติกส์

ครั้งที่ 2 รวบรวมประเด็นปัญหาด้านโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในองค์กร พร้อมแนะนำเครื่องมือในการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์

ครั้งที่ 3 วิเคราะห์และคัดเลือกประเด็นปัญหาโลจิสติกส์ที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งวางแผนจัดทำโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์และกำหนดเป้าหมายโครงการ

ครั้งที่ 4 ติดตามความคืบหน้าโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายร่วมกับคณะทำงานจากแผนกิจกรรม (Action Plan) เมื่อดำเนินงานได้ครึ่งหนึ่ง ให้คำแนะนำและความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ระหว่างดำเนินโครงการ

ครั้งที่ 5 ติดตามความคืบหน้าโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายร่วมกับคณะทำงาน ประเมินผลโครงการ และวางแผนพัฒนาโลจิสติกส์ต่อเนื่องในองค์กรด้วยการจัดทำโครงการและแผนกิจกรรมโครงการ (Action Plan) ด้านโลจิสติกส์เพิ่มเติม

จากการดำเนินโครงการของโรงงานนำร่องจำนวน 20 แห่ง มีบุคลากรเข้าร่วมพัฒนาความรู้และทักษะด้านโลจิสติกส์ด้วยการเป็นคณะทำงานจำนวนทั้งสิ้น 260 คน  มีการจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์รวม 73 โครงการ ซึ่งสามารถแบ่งตามประเภทกิจกรรม เป็นด้านการจัดการ 20 โครงการ การจัดการคลังสินค้า 21 โครงการ การบริหารสินค้าคงคลัง 20 โครงการ และการจัดการการขนส่ง 12 โครงการ พบว่าผลการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึกของโครงการดีขึ้นร้อยละ 17.29 แบ่งเป็น ผลเฉลี่ยด้านการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ร้อยละ 21.05 และผลเฉลี่ยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ร้อยละ 12.20 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ก่อนเริ่มโครงการ และสามารถสรุปภาพรวมหลังการดำเนินงานได้ดังนี้

1. ผู้ประกอบการในกลุ่มสุขภัณฑ์และกระเบื้องส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มีกิจการขนาดใหญ่ และมีการผลิตเพื่อรอขาย (Make to Stock) ทำให้ประเด็นปัญหาหลักของกลุ่มนี้ คือ  มีสินค้าคงคลังในระบบค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากแผนการตลาดและแผนการผลิตไม่สอดคล้องกัน และนโยบายการผลิตแบบเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต (Push) แนวทางการแก้ไขจึงเน้นไปที่การสร้างสมดุลในแผนซัพพลายเชน ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงความจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลงชั่วคราวเพื่อให้สามารถรักษาระดับสินค้าคงคลังให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกระแสเงินสดของบริษัท

2. ผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วย และเครื่องประดับส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มีขนาดกลางและขนาดเล็ก และมีการผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make to Order) ทำให้ประเด็นปัญหาหลักของกลุ่มนี้ คือ ความสามารถในการส่งมอบสินค้าให้ทันเวลาและครบถ้วนอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง สาเหตุเนื่องมาจากประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นจนจบ การวางแผนให้สอดคล้องกับศักยภาพในการปฏิบัติงานจริง แนวทางการแก้ไขจึงต้องปรับปรุงการวางแผนซัพพลายเชน ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และกระบวนการโลจิสติกส์ทั้งระบบ

3. โครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มเซรามิก นอกเหนือจากที่กล่าวในข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็นโครงการเพื่อแก้ปัญหาร่วม ได้แก่ การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ความถูกต้องของสินค้าคงคลัง เทคนิคการวางแผนโลจิสติกส์ การวางแผนการจัดซื้อ การเชื่อมโยงกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน การพยากรณ์การขาย การบริหารคลังสินค้า การบริหารการขนส่ง และการลดต้นทุนโลจิสติกส์

3. การดำเนินโครงการที่มีคณะทำงานจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายวางแผน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายโลจิสติกส์ ฝ่ายประสานงานขาย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายจัดส่ง จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการมากกว่าคณะทำงานที่มีเฉพาะบางฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายโลจิสติกส์ ฝ่ายคลังสินค้า หรือฝ่ายจัดส่ง เท่านั้น เนื่องจากการวิเคราะห์และแก้ปัญหาซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ให้บรรลุผลตลอดทั้งกระบวนการจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลและมีข้อตกลงในการแก้ปัญหาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารโครงการจึงควรคัดเลือกคณะทำงานให้เหมาะสมและครบถ้วน

----------------------------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward