iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

การพัฒนาบุคลากรในองค์กร  แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก

เอกสารการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก 2550

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

 

การพัฒนาบุคลากรในองค์กร 

การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกมีความสำคัญยิ่งและเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ ผู้บริหารระดับสูงควรต้องให้ความสำคัญในการจัดให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างจริงจัง กิจกรรมด้านโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่มีบุคลากรในองค์กรเกี่ยวข้องมากมาย ต้องผ่านการทำงานของบุคลากรหลายหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งต้องมีกระบวนการที่ดีในการลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานและลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมด้วย ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรให้สามารถดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงระบบโลจิสติกส์จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นได้

- การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรต้องจัดทำในหลายรูปแบบตั้งแต่

- การอบรมให้ความรู้ (Knowledge) มีทั้งการให้ความรู้ในระหว่างการทำงาน (On-the-Job Training) โดยผู้มีประสบการณ์ในหน่วยงานช่วยเหลือและให้ความรู้แก่บุคลากรที่มาใหม่ และรูปแบบการฝึกอบรมจัดภายในองค์กร (In-House Training) และการเข้าร่วมการฝึกอบรมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก

- การมอบหมายงานให้มีการฝึกทักษะ (Skills) ในการทำงานประจำและงานประเภทปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น มีการมอบหมายงานที่ชัดเจน และพัฒนาระบบการทำงานที่ต่อเนื่องกัน พร้อมกับจัดให้มีระบบการวิเคราะห์และแก้ปัญหา และมีระบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

- การมอบหมายงานให้เกิดการสร้างประสบการณ์ในการทำงาน (Experiences) มีการกำหนดแผนงานของแต่ละโครงการให้ชัดเจน และฝึกฝนให้สามารถดำเนินงานร่วมกัน ติดตามความคืบหน้าและผลักดันให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด

- การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ภายในองค์กร ที่ครอบคลุมถึงการให้มีความรู้ ฝึกทักษะ และสั่งสมประสบการณ์ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ต้องประกอบด้วยการจัดการองค์ความรู้ 2 ส่วนได้แก่ องค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ

หมวดองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ มีความจำเป็นเพื่อให้เข้าใจระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในการทำงาน และสามารถสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาองค์ความรู้ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

- การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)

- การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)

- การจัดการขนส่ง (Transport Management)

- การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Control Management)

- การจัดการจัดซื้อ (Purchasing Management)

- การจัดการกระจายสินค้า (Distribution Management)

- การจัดการวัสดุ (Materials Management)

- การจัดการทรัพยากร (Resources Management)

- การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)

การจัดการโจลิสติกส์เฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับองค์กรเช่น การให้บริการ การค้าระหว่างประเทศ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ซัพพลายเชน การนำเข้าส่งออกและระบบพิธีการศุลกากร เป็นต้น

หมวดองค์ความรู้ด้านการบริการจัดการ มีความจำเป็นเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ให้สามารถมีเครื่องมือในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะหัวใจของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ไม่เพียงแต่ต้องการความเข้าใจในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์เท่านั้น หากยังต้องการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรในการประสานงานร่วมมือกันทำงาน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นกระบวนการ จนถึงจุดสุดท้ายที่มีการส่งมอบสินค้าและบริการทุกอย่างให้ถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาองค์ความรู้ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

- การบริหารจัดการโครงการ (Project Management)

- การบริหารคุณภาพและการพัฒนาระบบคุณภาพ (Quality Management)

- การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Work Process Improvement)

- การสืบค้นให้ถึงต้นเหตุของปัญหา (Root Cause Investigation)

- การทำงานร่วมกันเป็นทีม (Team Effectiveness)

- การรู้จักใช้เครื่องมือในการบริการจัดการต่างๆ (Management Tools)

ผู้ประกอบการที่เป็นกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจในองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการควรต้องเริ่มต้นจากเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงก่อน เพราะการจัดองค์กรภายในอาจยังไม่มีการแบ่งเป็นหน่วยงานชัดเจน จึงควรจัดแบ่งประเภทกิจกรรมโลจิสติกส์ตามบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในกระบวนการโลจิสติกส์ซัพพลายเชนเช่น องค์กรไม่มีหน่วยงานวางแผน หน่วยงานจัดซื้อ หรือหน่วยงานคลังสินค้า แต่อยู่ภายใต้การบริหารและกำกับดูแลของผู้จัดการโรงงาน ดังนั้น ผู้จัดการโรงงานคือบุคลากรที่ควรได้รับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดซื้อและการจัดการคลังสินค้าเป็นต้น

 -----------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward