iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT51 การบริหารโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมรถยนต์

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา

บทนำ

การบริหารโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมรถยนต์มีความต้องการการพัฒนาของอุปทานแบบโมดูลซึ่งจะส่งผลให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดทั้งกิจกรรมในโซ่อุปทานทั้งหมด โดยที่ซัพพลายเออร์ขั้นต้นเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการผลิตแบบโมดูลของผู้ผลิตประเภทรับจ้างผลิตในแบรนด์ของผู้อื่น ซัพพลายเออร์ต้องมีความพร้อมและเน้นไปที่การสนับสนุนการผลิตแบบโมดูล โดยมีการใช้เทคโนโลยรสารสนเทศที่ทันสมัย การมีเครือข่ายระหว่างประเทศ เป็นต้น

คำสำคัญ การจัดการโซ่อุปทาน, ระบบการผลิตแบบโมดูล, อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิตแบบโมดูล

ความซับซ้อนของความต้องการของลูกค้าส่งผลให้มีการพัฒนาระบบการผลิตแบบโมดูล (Modular system) ผู้ผลิตประเภทรับจ้างผลิตในแบรนด์ของผู้อื่น (Original equipment manufacturer : OEM) โดยที่การผลิตประเภทโมดูลนี้จะใช้ซัพพลายเออร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซัพพลายเออร์ขั้นต้น (First-tier suppliers) ซึ่งหมายถึงซัพพลายเออร์ที่จำหน่ายวัตถุดิบเฉพาะและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ผลิตประเภท OEM ในการสร้างกลยุทธ์ที่จำเป็นในการสนับสนุนการผลิตรูปแบบโมดูลนี้

การผลิตแบบโมดูลหมายถึงกระบวนการของการสร้างผลิตภัณฑ์ (Product) หรือกระบวนการ (Process) จากระบบย่อยที่เล็กกว่าที่ถูกออกแบบให้เป็นอิสระแต่สามารถทำงานได้เมื่อนำมารวมกันเป็นระบบใหญ่  ตัวอย่างเช่น รถยนต์ Mercedes-Benz ได้พัฒนาระบบโมดูลสำหรับโรงงานรถสปอร์ตในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทางบริษัทได้วางระบบการผลิตรถสปอร์ตไว้กับโมดูลการผลิตขนาดใหญ่หลายโมดูล ซึ่งรวมถึงโมดูลสำหรับที่นั่งคนขับที่มีถุงลมนิรภัย ระบบทำความร้อนและปรับอากาศ ระบบเกียร์ ซึ่งโมดูลทั้งหมดจะถูกทดสอบและส่งมอบ ให้กับบริษัท Mercedes-Benz ตัวอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและความท้าทายของระบบการผลิตแบบโมดูล

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Case study: Rethinking the supply chain- an automotive perspective” โดย Desmond Doran ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 9 เล่มที่ 1 ปี 2004 หน้า 102-109.

รูปที่ 1 โซ่มูลค่า (โซ่อุปทานแบบไม่ใช่โมดูล)

นอกจากนี้การผลิตแบบโมดูลเป็นการส่งผ่านกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่จากผู้ผลิตประเภท OEM ไปยังซัพพลายเออร์ขั้นต้น โดยที่กิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจะหมายถึงกระบวนการที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นกิจกรรมแบบโมดูลที่ดำเนินการโดยซัพพลายเออร์ดังแสดงในรูปที่ 1 และ 2

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Case study: Rethinking the supply chain- an automotive perspective” โดย Desmond Doran ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 9 เล่มที่ 1 ปี 2004 หน้า 102-109.

รูปที่ 2 กิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (โซ่อุปทานแบบโมดูล)

ผู้เล่นรายสำคัญของการผลิตแบบโมดูลจะเป็นซัพพลายเออร์ที่พัฒนาความสามารถในการผลิตแบบโมดูล โดยการเป็นซัพพลายเออร์ขั้นต้นเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถรองรับการผลิตแบบโมดูลได้ แต่ซัพพลายเออร์ขั้นต้นจะประสบความสำเร็จในโซ่อุปทานแบบโมดูลได้จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ เช่น มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการเป็นส่วนใหญ่ มีตลาดในต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้ซัพพลายเออร์ขั้นต้นที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการพัฒนาความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดมากขึ้นกับซัพพลายเออร์ที่สำคัญต่อการจัดซื้อแบบโมดูลและกระบวนการประกอบ

กลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน

กลยุทธ์ในการปฎิบัติงานในการผลิตแบบโมดูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือแบบ integrator ซึ่งหมายถึง ผู้ผลิตประเภท OEM สามารถควบคุมโซ่อุปทาน ในขณะที่กลยุทธ์แบบ modulariser ซึ่งหมายถึง ผู้ผลิตประเภท OEM ย้ายการผลิตไปให้ซัพพลายเออร์ขั้นต้นที่มีศักยภาพในการสนับสนุนการผลิตแบบโมดูล โดยที่กลยุทธ์ทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1

ในตารางที่ 1 ผู้ผลิตที่ใช้กลยุทธ์แบบ Modulariser จะส่งความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ไปให้กับซัพพลายเออร์ ในขณะที่จะเน้นการออกแบบการผลิตของสินค้าให้เป็นแบบโมดูล อย่างไรก็ตามการผลิตจะต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์เป็นหลัก อย่างไรก็ตามความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีอาจจะถูกถ่ายเทไปให้กับซัพพลายเออร์ของโมดูลได้ง่าย และไม่สามารถมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้เท่าที่จะเป็น

สำหรับผู้ผลิตที่ใช้กลยุทธ์แบบ integrator จะทำการผลิตชิ้นส่วนด้วยตนเองเป็นหลัก และมุ่งเน้นที่การลงทุนและพัฒนาเครื่องมือและเครื่องจักรในการผลิตเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการใช้กลยุทธ์นี้จะก่อให้เกิดต้นทุนและภาระจากการติดตั้งเครื่องจักร

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Case study: Rethinking the supply chain- an automotive perspective” โดย Desmond Doran ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 9 เล่มที่ 1 ปี 2004 หน้า 102-109.

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบกลยุทธ์ Modulariser และ integrator

สำหรับซัพพลายเออร์ที่ต้องการจะสนับสนุนการผลิตแบบโมดูลต้องมีกระบวนการปฏิบัติงานที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งซัพพลายเออร์ที่มีสัญญาในการส่งมอบวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตประเภท OEM หลายรายซึ่งบางรายจะใช้กลยุทธ์เป็น Modulariser ในขณะที่บางรายใช้กลยุทธ์แบบ integrator  

กรณีศึกษาของซัพพลายเออร์ขั้นต้นที่ประสบความสำเร็จ

ซัพพลายเออร์ที่จัดหาโมดูลของที่นั่งให้กับผู้ผลิตประเภท OEM ในประเทศอังกฤษรายเดียว และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรระดับนานาชาติในการจัดหาชิ้นส่วนให้กับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซัพพลายเออร์ของโมดูลจะรวมกิจกรรมของการออกแบบ การประกันคุณภาพ การทดสอบ การตัด การเย็บ การขึ้นรูป และการประกอบ

ระบบการผลิตจะถูกออกแบบเพื่อทำการส่งมอบระบบที่นั่ง (ที่นั่งด้านหน้าและด้านหลัง, การปรับความสูงของที่นั่ง, ถุงลมนิรภัยและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง) ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ผลิตประเภท OEM โดยไม่ให้เกิดการเก็บสินค้าคงคลังของที่นั่งสำเร็จรูปเมื่อสิ้นสุดกะในการผลิต

โมดูลของที่นั่งต้องทำการผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกในทุกๆ ครั้งที่ทำการผลิตซึ่งจะส่งผลให้อัตราของเสียอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และใช้ระบบควบคุมคุณภาพที่มีประสิทธิภาพมาใช้ตลอดทั้งโซ่อุปทาน ซัพพลายเออร์จะจะเกี่ยวข้องในการขายการแก้ปัญหาการผลิตแบบโมดูลมากกว่าการผลิตตามข้อกำหนดของผู้ผลิตแบบ OEM อย่างเดียว

เนื่องจากซัพพลายเออร์นี้มีลูกค้าเพียงรายเดียวการสร้างมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นอย่างจำกัด อย่างไรก็ตามกิจกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มที่มีศักยภาพในรูปแบบของกิจกรรมของการขึ้นรูป (injection-moulding) และการประกอบโครงที่นั่ง (seat frame assembly) ซึ่งทำการผลิตเองภายในโรงงาน

การตัดสินใจในการย้ายกิจกรรมขึ้นอยู่กับธุรกิจของที่นั่งรถยนต์และต้นทุนและผลประโยชน์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการย้ายกิจกรรมนั้นออกไปให้ซัพพลายเออร์

ที่มา:

  1. งานวิจัยเรื่อง “Case study: Rethinking the supply chain- an automotive perspective” โดย Desmond Doran ในวารสาร Supply Chain Management: An International Journal ฉบับที่ 9 เล่มที่ 1 ปี 2004 หน้า 102-109.

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward