CT51 การประยุกต์ใช้ระบบ Logistics ใน Food Industry Supply Chain (Improving Logistics Operations across the Food Industry Supply Chain)
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
โดย ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
1 บทนำ
ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้ขนส่งและกระจายสินค้า และ กลุ่มผู้ค้าปลีก ได้พยายามที่รวมกลุ่มในเพื่อที่จะสร้างพันธมิตรในระบบห่วงโซ่อุปทาน และนำเอาหลักการของการจัดการโลจิสติกส์เข้ามาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางด้านต้นทุนและสร้างศักยภาพในการแข่งทางธุรกิจ โดยการเพิ่มความสามารถในการขนส่งกระจายสินค้า การลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และกลยุทธ์ในการส่งสินค้าเข้าสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ซับซ้อนที่ยากลำบากในการบริหารจัดการ เนื่องจากอาหารเป็นสินค้าที่มีอายุจำกัด อาหารเป็นสินค้าที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ อาหารมีอายุในการจัดเก็บสั้นโดยเฉพาะอาหารสด อาหารบางประเภทต้องเก็บเข้าห้องเย็นเพื่อเก็บเพื่อยืดอายุซึ่งจะต้องทำให้เกิดต้นสินค้าคงคลังมูลค่ามหาศาล ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอแนวทางการนำระบบการจัดการโลจิสติกส์เข้าไปพัฒนาระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม
ระบบระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารแนวใหม่
ผู้นำในการพัฒนาการค้าปลีกในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น Wall-Mart ได้นำหลักการของการ Share Information จากผู้ซื้อคนสุดท้าย (ปลายน้ำ) ไล่จนไปถึงผู้ผลิตซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ โดยใช้ระบบ Electronic ที่ช่วยในการเติมเต็มสินค้า (Replenishment) ซึ่งหลักการดังกล่าวของ Wall-Mart นี้ได้ช่วยลดต้นทุนของสินค้าคงคลังในระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารซึ่งสุดท้ายก็จะสามารถช่วยให้ผู้บริโภคซื้ออาหารที่มีราคาถูกลงทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งให้กับ Wall-Mart เป็นผู้นำในระบบการค้านี้อีกด้วย
ในรายละเอียดปลีกย่อยของระบบการจัดการโดยการนำเอาระบบ Electronic ของ Wall-Mart ในการบริหารจัดการ โดย Wall-Mart ได้นำระบบที่เรียกว่า Electronic Data Interchange หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า EDI ที่เป็นระบบที่มีการประสานงานกันที่ยุ่งยากของระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร[1] (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) ตั้งแต่ Manufacturer Supplier และ Wall-Mart ด้วยคอมพิวเตอร์และมีการส่งข้อมูลความต้องการผ่านระบบคอมพิวเตอร์นี้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา (Kinsley[2], 2000) ระบบนี้จะช่วยส่งเสริมการขนส่งสินค้าแบบ Just in Time ทั้งยังช่วยป้องกันสินค้าขาด Stock ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และช่วยผู้ประกอบการในด้านการบริหารการผลิตซึ่งผู้ผลิตก็จะไม่จำเป็นจะต้องผลิตสินค้าทีละมาก ๆ ลดการเก็บวัตถุดิบที่มีประมาณมากจนเกินไป ลดการเก็บสินค้าคงคลัง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนลงตลอดโซ่อุปทานและทำให้ต้นทุนโดยรวมของสินค้าลดลง
แผนภาพที่ 1 โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร
อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างเทคโนโลยีในห่วงโซ่อุปทานที่จะนำระบบ Electronic มาใช้ทั้งยังลักษณะของการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และการบริโภคที่แตกต่างทำให้การนำระบบ Electronic มาใช้ค่อนข้างยาก
ดังนั้นหนทางให้การแก้ปัญหาครั้งนี้จึงได้มีการตั้งองค์กรกลางที่ไม่ได้หลังในผลกำไรที่จะช่วยสนับสนุนการตั้ง Code และระบบพื้นฐาน โดยที่องค์กรนี้เรียกว่า Uniform Code Council (UCC) UCC จะช่วยในการสร้างเครือข่ายในลักษณะระบบเปิดที่สามารถเข้าถึงได้รวมถึงการหาพันธมิตร และการสร้างระบบ Electronic ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มในการสร้างความสัมพันธ์แบบ Business-to-Business (B2B Relationship) ระบบดังกล่าวนี้จะเรียกว่า UCCNET ที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ผลิต จนไปถึงลูกค้าคนสุดท้าย โดยการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ลดการเก็บวัตถุดิบที่มีประมาณมากจนเกินไป ลดการเก็บสินค้าคงคลัง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนลงตลอดโซ่อุปทานและทำให้ต้นทุนโดยรวมของสินค้าลดลง นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีการประยุกต์นำสามารถนำระบบ Electronic มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นการส่งตรงและเป็นอาหารที่มีอายุในการเก็บสั้นเช่น ขนมปัง ไอศรีม
หลังที่นำระบบ UCCNET ก็ยังพบว่าความแตกต่างในการการใช้เทคโนโลยีและการลงทุนในการใช้เทคโนโลยีก็ยังมีอุปสรรคที่สำคัญโดยเฉพาะใน Supermarket ขนาดเล็ก ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงโดยการใช้ระบบเครือข่าย Internet ที่เรียกว่า World Wide Retailers Exchange ก็พบว่ามีผู้ประกอบการในระบบโซ่อุปทานเข้ามาใช้มากขึ้นและช่วยละต้นทุนในระบบโซ่อุปทานมากได้มาขึ้นอีกด้วย
การนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ประยุกต์ในอุตสาหกรรมอาหาร
จากที่ทราบกันว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์ คือ การขนส่งสินค้าให้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกจำนวน ในสภาพสินค้าที่ปกติ ส่งไปถูกสถานที่ และราคาที่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นในการนำระบบโลจิสติกส์เข้ามาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารก็ต้องมีการนำเอาหลักการของโลจิสติกส์ข้างต้นมาประยุกต์ใช้ดังเช่นตัวอย่างของ Wall-Mart ซึ่งกิจกรรมที่จะต้องพิจารณาหลัก ๆ คือ มีการประมาณการความต้องการที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพในการจัดหาจัดซื้อ มีความแน่นอน ส่งสินค้าได้ตรงตามเวลา ซึ่งหากต้องการะจะประยุกต์ใช้ระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นจะต้องมีการระบบในองค์กรขึ้น ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาดังนี้[3]
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบ IT การใช้ระบบ IT Logistics Management information System (LMIS) ที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพจะช่วยในการเก็บข้อมูลการรายงานความต้องการของลูกค้าที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง จะทำให้ประมาณการความต้องการสินค้าในโซ่อุปทานจะเป็นผลทำลดการศูนย์เสีย และต้นทุนในกระบวนการได้ ระบบ LMIS ที่มีประสิทธิภาพจะต้องประกอบด้วย
- พัฒนาระบบการพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนการจัดหาจัดซื้อ
- พัฒนาระบบการกระจายสินค้าสร้างระบบการจัดการขนส่ง และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
- พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ซึ่งต้องให้บุคลากร ขององค์กรเข้าใจภาพรวมและความสำคัญของระบบโซ่อุปทาน รวมถึงระบบโลจิสติกส์จะสามารถแก้ไขปัญหาในระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไร
สรุป
ผู้ประกอบการในปัจจุบันพยายามที่จะหาวิธีการต่าง ๆ ในการลดต้นทุน ปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต มุ่งสร้างพันธมิตร เพื่อสร้างผลกำไรให้กับอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามจากการพัฒนาของระบบ IT ที่ทำให้ระบบการสื่อสารการทราบถึงความต้องการซื้อที่ฉับไวมากขึ้นและทราบในระดับ Real Time ซึ่งทำให้นำไประยุกต์กับระบบการจัดซื้อ ระบบการผลิต ระบบการขนส่งสินค้า ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงช่วยให้สามารถลดต้นทุนในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารได้ ดังตัวอย่างของ Wall-Mart
[1] Matopoulos, A., Vlachopoulou, A., Manthou, V., and Manos, V., (2007) A concept framework for supply chain collaboration: empirical evidence from the agri-food industry, Supply Chain Management: An International Journal, Vol. 12(3), PP. 177 – 186
[2] Kinsley, J. (2000), “A faster, leaner, supply chain: new uses of information technologies”, American Journal of Agricultural Economics, Vol. 14, No. 2
[3] Aghazadeh, S.M., (2004), Improving logistics operations across the food industry supply chain, International Journal of Contemporary Hospitality Management, Volume 16, No.4, PP. 263 – 268
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่