iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การจัดการด้าน Demand และ Supply ของระบบธุรกิจสมัยใหม่

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน...ดร.นันทิ สุทธิการนฤนัย

ศิวณัส  อรรฐาเมศร์

บทคัดย่อ: บทความนี้นำเสนอถึงวิธีการจัดการ Capacity หรือ Demand/Supply สมัยใหม่ ที่องค์กรต่างๆ ในปัจจุบันนำไปใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ วิธีการจัดการที่นิยมใช้ในปัจจุบันที่กล่าวถึงไว้ในบทความนี้ ได้แก่ การใช้ข้อมูลแบบ Real Time เพื่อช่วยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และวิธีการใช้ระบบการสั่งซื้อล่วงหน้า โดยการใช้กลไกราคาเป็นตัวสร้างแรงจูงใจ นอกจากวิธีการทั้งสองแล้ว ผู้เขียนยังได้ยกตัวอย่างการจัดการ Capacity หรือ Demand/Supply ที่ผู้เขียนได้ประสบกับตนเองโดยตรงไว้ในบทความนี้ด้วย ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวเป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่ผู้ที่สนใจจะสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตนได้

ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่แตกต่างจากระบบเศรษฐกิจในอดีตกาลอย่างมาก การแข่งขันในด้านการผลิตและการขายให้กับผู้บริโภคเป็นไปด้วยความรุนแรง มีการเปิดเสรีการค้าขายและการผลิตในสินค้าหลายประเภท ผู้บริโภคในปัจจุบันก็มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด มีผู้ผลิตหน้าใหม่เข้ามาในตลาดทุกวัน และในขณะเดียวกันก็มีผู้ผลิตที่ตายหายไปจากตลาดทุกวันเหมือนกัน การคาดเดาปริมาณความต้องการของลูกค้าเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น รวมไปถึงความยากลำบากในการกำหนดว่าควรจะผลิตอะไรให้เสร็จเวลาไหน และควรจะนำเสนอหรือตอบสนองลูกค้ากลุ่มไหน ถึงแม้จะมีวิธีการพยากรณ์แบบต่างๆ มากมายและมีการใช้วิธีการทางสถิติเข้ามาช่วย แต่ก็มีหลายครั้งที่ค่าพยากรณ์ความต้องการที่ได้รับแตกต่างจากความจริงที่เกิดขึ้นมาก ทำให้อุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมใช้วิธีปรับโครงสร้างทางธุรกิจของตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้

การใช้ข้อมูลแบบ Real Time มาช่วยในการวิเคราะห์หาความต้องการของลูกค้าจะให้ผลลัพธ์ คือได้ค่าการพยากรณ์ที่มีความแม่นยำขึ้น และจะสามารถวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัท Wal-Mart ที่มีการนำระบบ Point of Sale มาใช้ โดยการติด Barcode กับสินค้าทุกประเภท และติดตั้งเครื่อง Scanner สำหรับอ่าน Barcode ไว้ที่ทางออกคิดเงินลูกค้า เมื่อลูกค้าทำการซื้อสินค้า ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งตรงไปให้กับ Vendors ที่ส่งสินค้าให้กับ Wal-Mart จุดประสงค์ก็เพื่อที่ว่า Vendor จะได้นำข้อมูล Real Time นี้ไปพยากรณ์ความต้องการลูกค้าได้อย่างแม่นยำและนำไปวางแผนการผลิตได้ตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้มากขึ้น ในสมัยก่อนนั้นการส่งถ่ายข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่มีการนำข้อมูล Real Time จากการซื้อจริงๆ ของลูกค้ามาใช้ เมื่อไหร่ก็ตามที่สินค้าใกล้หมด ทาง Retailer จะค่อยทำการสั่งซื้อสินค้าไปที่ Wholesaler จากนั้นทาง Wholesaler ก็จะทำการสั่งสินค้าไปที่ผู้ผลิตอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการสั่งซื้อที่ส่งต่อกันมาเป็นทอดๆ นี้ก็เกิดจากการประมาณยอดขายของ Retailer ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดการคลาดเคลื่อนในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นทาง Wholesaler ก็จะพยากรณ์ปริมาณความต้องการของ Retailer และนำค่าพยากรณ์ที่ได้นี้ไปสั่งซื้อของจากทางผู้ผลิต สุดท้ายทางผู้ผลิตก็จะทำการพยากรณ์ปริมาณความต้องการของ Wholesaler จากรายการสั่งซื้อเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตในโรงงานของตน จะเห็นได้ว่าการส่งผ่านข้อมูลแบบเดิมนอกจากการส่งผ่านข้อมูลจะเป็นไปด้วยความล่าช้าแล้ว ยังมีผลเสียและความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากความผิดพลาดจากการพยากรณ์ที่ไม่แม่นยำของทั้งสามส่วนด้วย นั่นก็คือ จาก Retailer จาก Wholesaler และจากผู้ผลิต ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Bull Whip Effect ผลเสียจากปรากฏการณ์นี้คือการมีสินค้าคงคลังในระบบทั้งหมดที่มากเกินความจำเป็น หรือในบางครั้งก็อาจเกิดการขาดแคลนสินค้าคงคลังได้

ระบบการสั่งซื้อล่วงหน้าโดยการใช้กลไกราคาเป็นตัวสร้างแรงจูงใจ เป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนำเข้ามาช่วยในการบริหาร Capacity ของผู้ผลิตหรือบริษัทต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งการบริหารการสั่งซื้อลักษณะนี้เป็นที่นิยมกันมากในอุตสาหกรรมการบริการ ตัวอย่างเช่น สายการบิน เนื่องจากว่าสินค้าบริการลักษณะนี้ ไม่สามารถที่จะผลิตเพื่อเก็บไว้ก่อน และนำมาใช้บริการในภายภาคหน้าได้เหมือนสินค้าอุตสาหกรรมอื่นได้ หรือหากจะอธิบายให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น จำนวนที่นั่งว่างในเที่ยวบินต่างๆ เมื่อเครื่องบินได้เริ่มทำการบินแล้ว ที่นั่งว่างบนเครื่องไม่สามารถที่จะเก็บเอาไว้และนำไปขายต่อทีหลังได้ ที่นั่งที่ว่างบนเที่ยวบินแต่ละเที่ยวถือเป็น Capacity และรายได้ที่เสียไปทันทีของสายการบิน  ดังนั้น มีหลายสายการบินที่ใช้วิธีการบริหารความต้องการของลูกค้า โดยการเปิดให้มีการสั่งจองซื้อตั๋วล่วงหน้าโดยใช้กลไกราคาในการสร้างแรงจูงใจ ยิ่งลูกค้าสามารถซื้อตั๋วได้ล่วงหน้ายาวนานเพียงใด ก็จะสามารถได้รับราคาที่ถูกลงตามมาเท่านั้น การสั่งซื้อตั๋วล่วงหน้านี้จะช่วยให้สายการบินสามารถบริหาร Capacity ของเที่ยวบินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เที่ยวบินไหนก็ตามที่ใกล้ถึงวันเดินทางแต่ยังมีพื้นที่ว่างอยู่ก็สามารถที่จะลดราคาหรือปรับระดับราคาลงมาเพื่อเติมเต็มที่นั่งว่างนั้นได้ ในขณะที่เที่ยวบินที่เหลือพื้นที่ว่างไม่กี่ที่นั่งและมีแนวโน้มที่คนจะเต็ม ก็สามารถคงราคาตั๋วที่สูงไว้ได้ เพื่อได้กำไรต่อหน่วยที่มากขึ้น

การบริหาร Demand และ Supply อีกแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้พบเห็นจากประสบการณ์โดยตรง ก็คือ บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ในสมัยก่อน ชาวต่างชาติที่จะมาท่องเที่ยวเมืองไทยจะเดินทางไปตามจังหวัดต่างๆ และท่องเที่ยวด้วยตัวเอง โดยต้องทำการศึกษาเส้นทาง สถานที่ท่องเที่ยวและวางแผนการท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ  แต่ในสมัยนี้มีบริการจากบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงกรุงเทพ สามารถที่จะซื้อเป็นแพคเกจทัวร์จากบริษัทได้โดยตรง โดยอาจจะเป็นทัวร์แบบสองอาทิตย์ หรือทัวร์แบบสี่อาทิตย์ จากนั้นบริษัททัวร์จะทำหน้าที่เป็น Facilitator หรือ Orchestrator โดยทำการติดต่อจองทัวร์กับบริษัทท่องเที่ยงในท้องถิ่นตามจังหวัดต่างๆ รวมถึงการจองตั๋วเครื่องบินและรถไฟล่วงหน้าไว้ให้ หลังจากนักท่องเที่ยวทำการซื้อทัวร์เสร็จ ก็จะมีตารางการท่องเที่ยวให้เสร็จสรรพ นักท่องเที่ยวไม่ต้องทำการซื้อตั๋วหรือทัวร์อะไรอีก แค่เดินทางตามตารางที่กำหนดไว้ พอไปถึงที่จังหวัดต่างๆ ก็จะมีบริษัททัวร์นำเที่ยวไปตามสถานที่ตามกำหนดการ เมื่อเที่ยวจังหวัดหนึ่งเสร็จก็จะเดินทางโดยรถไฟหรือเครื่องบินไปสถานที่ต่อไปเรื่อยๆ ถือว่าเป็นบริการที่สร้างประโยชน์ให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายในการไม่ต้องเสียเวลาวางแผน ซื้อตั๋วเดินทาง ติดต่อต่างๆ ในขณะที่ผู้ผลิตซึ่งเป็นบริษัททัวร์ท้องถิ่นและสายการบินและสายรถไฟก็สามารถที่จะวางแผน Capacity ไว้รองรับลูกค้าได้อย่างง่ายดาย เพราะสามารถรู้ Demand ได้ล่วงหน้า

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การจัดการทางด้าน Supply ของแรงงานเชี่ยวชาญพิเศษที่ใช้ในการผลิตและการบริการ ในยุคปัจจุบันมีงานหลายประเภทที่เน้นการทำงานเป็นโปรเจค หลังจากโปรเจคหนึ่งจบก็จะรองานใหม่เพื่อไปทำโปรเจคอื่นต่อไป ซึ่งแต่ละโปรเจคก็จะกระจัดกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ  เช่น การติดตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมัน การติดตั้งเครื่องจักรประจำโรงงาน การติดตั้ง Simulation ควบคุมการบินตามสนามบินต่างๆ งานลักษณะนี้มักเป็นงานที่ต้องการบุคลากรที่มีความชำนาญพิเศษ แต่ไม่ได้มีความต้องการแรงงานตลอดเวลา  ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จะทำการจัดหาคนมาจากหลายประเทศ เมื่อมีงานเข้ามาเมื่อไหร่ก็จะทำการเรียกพนักงานมารวมตัวกันเป็นทีม Ad Hoc เพื่อทำโปรเจคนั้นๆ หลังจากงานจบก็จะแยกย้ายกันกลับประเทศใครประเทศมัน การจัดจ้างงานลักษณะนี้อาจเป็นการจ้างแบบพนักงานประจำ หรือเป็นการจ้างแบบเป็น Contract แล้วแต่นโยบายของแต่ละบริษัท ข้อดีของการจัดจ้างลักษณะนี้คือทำให้บริษัทมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในเรื่อง Supply ของแรงงาน และได้แรงงานที่มีความหลากหลายและชำนาญเฉพาะทาง อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าดูแลรักษาในเรื่องของการจัดการ Office

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward